เหตุการณ์เบื้องหลังลูกไฟปรากฏทั่วโลก
เมื่อคืนวันที่ 4 มีนาคม 67 เวลาประมาณ 9.00 น. ประชาชนในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออกบางส่วน พบเห็นลูกไฟสีเขียวขนาดใหญ่พุ่งจากฟ้าเป็นแนวยาวในลักษณะเดียวกับอุกกบาต เบื้องต้น ทางสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ คาดการณ์ว่า เป็นดาวตกชนิดลูกไฟ
ต่อในในคืนวันที่ 8 มีนาคม 2567 ในช่วงหัวค่ำ มีผู้พบเห็นลูกไฟสีเขียวขนาดใหญ่บนท้องฟ้าอีกครั้งในลักษณะเดียวกัน คราวนี้มีรายงานการพบเห็นทั้งในภาคกลางภาคตะวันออก ไปจนถึงจังหวัดภาคใต้บางแห่ง สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ สันนิษฐานว่าเป็นดาวตกที่มีขนาดใหญ่ และอธิบายว่าแสงสีเขียวเกิดจากส่วนประกอบของดาวตกซึ่งมีธาตุนิกเกิล
อย่างไรก็ตาม มีรายงานการพบลูกไฟบนท้องฟ้าบ่อยครั้งตั้งแต่ปีที่แล้วจนถึงปีนี้ หลายกรณีพบเป็นลูกไฟสีเขียว โดยเหตุการณ์ไม่นานมานี้ คือ ลูกไฟลูกใหญ่ที่มีหางยาวพาดผ่านท้องฟ้า เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 ที่พบเห็นในช่วงหัวค่ำของวันที่ โดยพบในหลายสิบรัฐทางภาคตะวันออกของสหรัฐฯ และในบางมณฑลของแคนาดา
ย้อนกลับไป 1 เดือนเต็ม มีผู้พบลูกไฟสีเขียวเหนือท้องฟ้าของเยอรมนีเมื่อวันที่ 21 มกราคม โดยมีการถ่ายคลิปเอาไว้ได้ ปรากฏว่าเป็บนชิ้นส่วนดาวเคราะห์น้อย และถูกเก็บกู้มาในอีก 5 วันต่อมา พบว่าเป็นชิ้นส่วนอุกกาบาตจากดาวเคราะห์น้อย 2024 BX1 ซึ่งมันถูกค้นพบไม่ถึงสามชั่วโมงโดยนักดาราศาสตร์ชาวฮังการี ก่อนการพุ่งเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลก
มันจะเป็นอย่างอื่นนอกจากดาวได้ไหม?
นอกจากดาวตก, อุุกกาบาต, ผีพุ่งไต้ และเศษดาวเคราะห์น้อย มันยังมีสิ่งที่เรียกว่า "ลูกไฟสีเขียว" (Green fireballs) เป็นวัตถุบินไม่ปรากฏชื่อ หรือ Unidentified flying object (UFO) ประเภทหนึ่งที่มีการรายงานมาตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1950
การพบเห็นในช่วงแรกส่วนใหญ่เกิดขึ้นทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะในรัฐนิวเม็กซิโก เช่น มีรายงานการพบเห็นในช่วงปลายปี พ.ศ. 2491 ที่รัฐนิวเม็กซิโก และจากรายงานของลูกเรือเครื่องบิน 2 นาย พลเรือน 1 คนและทหารอีก 1 นาย ในคืนวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2491 บุคคลเหล่านี้บรรยายว่าลูกไฟที่สังเกตได้นั้นเป็น "ลูกไฟสีเขียวที่สว่างสดใส" " และ "เหมือนดาวตกสีเขียวขนาดใหญ่"
เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2491 นักบินสองคนรายงานการสังเกตการณ์ลูกไฟสีเขียวทางอากาศอีกครั้ง ในจดหมายถึงกองทัพอากาศสหรัฐฯ ลงวันที่ 20 ธันวาคม ลินคอล์น ลาปาซ นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยนิวเม็กซิโก เขียน ว่าวัตถุที่สังเกตพบนั้นมีลักษณะผิดปกติไปจากกอุกกาบาตทั่วไป
เมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2492 ผู้อำนวยการหน่วยข่าวกรองกองทัพบกจากกองบัญชาการกองทัพที่ 4 ในรัฐเท็กซัส ระบุว่าลูกไฟสีเขียว "[อาจเป็น] ผลจากการทดลองสงครามรังสีโดยมหาอำนาจต่างชาติ" และพวกมัน "มีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ พวกมันปรากฏตัวในบริเวณใกล้เคียงกับสถานที่ปฏิบัติงที่มีความละเอียดอ่อน" ซึ่งอาจหมายถึงพวกมันมัพปรากฏตัวในแถบฐานทัพหรือหน่วยงานด้านความมั่นคง
ในการประชุมในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492 ที่ศูนย์วิจัยแห่งชาติลอสอลามอส มีสมาชิกของ Project Sign นักวิทยาศาสตร์ต่างๆ รวมทั้งโจเซฟ แคปแลน นักฟิสิกส์ชั้นนำ และเอ็ดเวิร์ด เทลเลอร์ นักฟิสิกส์เจ้าสของฉายา "บิดาแห่งระเบิดไฮโดรเจน" และเจ้าหน้าที่ทหารต่างก็ไม่สามารถระบุที่มาของลูกไฟสีเขียวได้
ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2492 มีการก่อตั้งโครงการ Project Twinkle ซึ่งเป็นเครือข่ายหน่วยสังเกตการณ์และถ่ายภาพลูกไฟสีเขียว แต่ไม่ได้มีการปฏิบัติงานโครงการอย่างเต็มที่ ถูกยกเลิกในอีกสองปีต่อมา โดยมีข้อสรุปอย่างเป็นทางการว่าปรากฏการณ์นี้น่าจะมีต้นกำเนิดตามธรรมชาติ
อย่างไรก็ตาม นักดาราศาสตร์ฟิสิกส์เชิงทฤษฎีและผู้ไม่เชื่อในเรื่องยูเอฟโอ คือ โดนัลด์ เมนเซล อ้างว่าได้สังเกตเห็นลูกไฟสีเขียวใกล้เมืองอาลาโมกอร์โดในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2492 ซึ่งต่อมาเขาระบุว่าพวกมันเป็นดาวตกธรรมดา แต่นักยูเอฟโอวิทยาบางคนถือว่าลูกไฟสีเขียวมีต้นกำเนิดมาจากนอกโลก และอาจเป็นเครื่องบินที่เกี่ยวข้องกับโครงการลับทางทหาร
ลูกไฟสีเขียวกลับมาอีกครั้งในทศวรรษนี้
หลังจากที่ความสนใจเรื่องลูกไฟสีเขียวหายไปหลายทศวรรษ พวกมันก็ปรากฏตัวอีกครั้งแบบถี่ๆ ในช่วงทศวรรษที่ 2020 โดยมีการพบลูกไฟสีเขียวในญี่ปุ่นในปี 2559 โดยทำให้บรรดานักสืบเรื่อง UFO สนใจกันขึ้นมา ต่อมาพบมันที่ออสเตรเลีย เมื่อปี 2563 เบื้องต้นในเวลานั้นนักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถอธิบายได้ว่ามันคืออะไร และต่อมามีการพบที่เวสต์เวอร์จิเนีย และเทนเนสซี เมื่อปี 2566 จากนั้นในปี 2567 ก็พบที่เยอรมนี แล้วตามด้วยการพบที่สหรัฐฯ และแคนาดา และการพบที่ไทยถึงถึงสอง
ในเวลานี้ยังไม่มีใครที่พยายามอธิบายปรากฏการณ์นี้ในแนวทาของยูเอฟโอวิทยาหรือตามปรากฏการณ์ลูกไฟสีเขียว แต่มักอธิบายว่าพวกมันคือ "โบไลด์" (Bolide) หรือ ดาวตกที่สว่างเป็นพิเศษ ในทางดาราศาสตร์ หมายถึงลูกไฟที่สว่างพอๆ กับพระจันทร์เต็มดวง
Photo - Navicore under Creative Commons Attribution 3.0 Unported