ครั้งแรกในรอบ 17 ปี ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นขึ้นอัตราดอกเบี้ย และจะเลิกนโยบาย'ติดลบ'

ครั้งแรกในรอบ 17 ปี ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นขึ้นอัตราดอกเบี้ย และจะเลิกนโยบาย'ติดลบ'

ธนาคารกลางของญี่ปุ่น หรือ BoJ ตัดสินใจยุติอัตราดอกเบี้ยติดลบ และทำการผ่อนลคลายนโนยบายการเงินเงินที่เข้มงวดที่สุดนโยบายหนึ่งของโลกที่ใช้มานานเกือบ 20 ปี 

หลังจากประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งแรกในรอบ 17 ปี ธนาคารกลางญี่ปุ่นกล่าวว่า กำลังปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายระยะสั้นจาก -0.1% เป็นระหว่าง 0 ถึง 0.1%

การตัดสินใจครั้งประวัติศาสตร์นี้ มาจากการที่เจ้าหน้าที่ได้ "ประเมินวงจรระหว่างค่าจ้างและราคาที่มีเคลื่อนไวที่ดี และตัดสินว่าเห็นว่าเป้าหมายเสถียรภาพด้านราคา (หรืออัตราดอกเบี้ย) ที่ 2% จะบรรลุเป้าหมายอย่างยั่งยืนและมั่นคงในช่วงสิ้นสุดระยะเวลาประมาณการของรายงานภาพรวมเดือนมกราคม 2567"  

ธนาคารกลางญี่ปุ่น หรือ BoJ ยังกล่าวอีกว่า จะยุตินโยบายการเงินที่ไม่เหมือนชาวโลกแบบอื่นๆ ที่ญี่ปุ่นใช้มาโดยตลลอดด้วย รวมถึงโครงการควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทนของพันธบัตร และการซื้อสินทรัพย์เสี่ยง เช่น กองทุนซื้อขายแลกเปลี่ยน (ETF) และทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ของญี่ปุ่น

ธนาคารกลางสหรัฐและธนาคารกลางอื่นๆ ขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นหลังจากการรุกรานยูเครนของรัสเซียในปี 2565

แต่เนื่องจาก "ทศวรรษที่หายไป" ของความซบเซาและภาวะเงินฝืดของประเทศ ทำให้ BoJ คงอัตราดอกเบี้ยหลักติดลบมาตั้งแต่ปี 2559 การขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งสุดท้ายคือในปี 2550

การเพิ่มอัตราดอกเบี้ยจะทำให้สินเชื่อมีราคาแพงขึ้นสำหรับผู้บริโภคและธุรกิจ

นอกจากนี้ยังจะเพิ่มภาระการชำระหนี้ของประเทศ ซึ่งสูงถึงประมาณ 260% ของผลผลิตของประเทศถือเป็นอัตราหนี้สาธารณะที่สูงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยติดลบส่งผลให้ธนาคารต่างๆ สูญเสียเงินลงทุนกับ BoJ นโยบายดังกล่าวจึงมุ่งเป้าไปที่การสนับสนุนให้พวกธนาคารปล่อยสินเชื่อให้กับธุรกิจ และด้วยเหตุนี้ จึงเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้ออย่างรวดเร็ว

BoJ ยังใช้เงินจำนวนมหาศาลในการซื้อพันธบัตรและสินทรัพย์อื่น ๆ เพื่อสูบฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบการเงิน

นโยบายดังกล่าวทำให้ค่าเงินเยนอ่อนค่าลงอย่างมากเมื่อเทียบกับดอลลาร์ ซึ่งเป็นข่าวดีสำหรับผู้ส่งออก แต่ไม่ใช่เรื่องดีสำหรับผู้บริโภค เนื่องจากทำให้การนำเข้ามีราคาแพงขึ้น

อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่หรือสูงกว่าเป้าหมายของ BoJ ที่ 2% มาเกือบสองปีแล้ว

แต่ถึงแม้จะมีการปรับเปลี่ยนบางอย่าง เช่น ความยืดหยุ่นมากขึ้นโดยคำนึงถึงช่วงเป้าหมายสำหรับอัตราผลตอบแทนพันธบัตร แต่อัตราดอกเบี้ยหลักยังคงเป็นลบ

เนื่องจาก BoJ ต้องการหลักฐานเพิ่มเติมเกี่ยวกับ "วงจรที่ดี" ของการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างและอัตราเงินเฟ้อซึ่งได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ ไม่ใช่ปัจจัยชั่วคราว

จิ๊กซอว์ชิ้นสุดท้ายดูเหมือนจะเกิดขึ้นในวันศุกร์ เมื่อสหภาพแรงงานที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นได้รับการขึ้นค่าจ้างจากนายจ้าง 5.3% ซึ่งถือเป็นครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2534

“ญี่ปุ่นอยู่ในจุดควบคุมที่จำเป็นเพื่อรักษาอัตราเงินเฟ้อ 2% ภายในประเทศ” Stefan Angrick จาก Moody's Analytics กล่าวเมื่อวันจันทร์

สำนักข่าว Nikkei รายงานด้วยว่า  BoJ ยังกำหนดที่จะยกเลิกมาตรการเงินที่ไม่ปกติอื่น ๆ อีก รวมถึงนโยบายควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรและการซื้อสินทรัพย์เสี่ยง 

รายงานดังกล่าวของ Nikkei อ้างแหล่งข่าวที่ใกล้ชิดกับนายกรัฐมนตรีฟูมิโอะ คิชิดะ ของญี่ปุ่นว่า “เรา (รัฐบาล) เชื่อมั่นใน BoJ”  และการตัดสินใจ "อยู่ในความควบคุมของพวกเขา"

แต่การเคลื่อนไหวด้านดอกเบี้ยที่รวดเร็วและรุนแรงเกินไปอาจทำให้เงินทุนจำนวนมากถูกดึงดูดเข้าสู่สินทรัพย์ของญี่ปุ่น ซึ่งอาจทำให้ตลาดการเงินไม่มั่นคง

Text by Agence France-Presse

Photo by Richard A. Brooks / AFP

TAGS: #ดอกเบี้ย #ญี่ปุ่น #BoJ