"เรื่องในครอบครัว" สื่อต่างประเทศวิเคราะห์ความสัมพันธ์'บ้านชินวัตร'กับ'ตระกูลฮุน'

เบื้องหลังของเหตุการณ์

  • วันที่ 28  กันยายน 2566 เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เดินทางเยือนกัมพูชา เป็นประเทศแรกในอาเซียนหลังรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 
  • วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2567 ฮุน มาเนต นายกรัฐมนตรีกัมพูชา เดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางการ โดยไทยและกัมพูชาได้มีการลงบันทึกความเข้าใจ 5 ฉบับ (MOU) 
  • วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 ฮุน เซน อดีตนายกรัฐมนตรีกัมพูชา บิดาของ ฮุน มาเนต  เดินทางมาเยี่ยม ทักษิณ ชินวัตร ที่บ้านจันทร์ส่องหล้า หลังจากที่ทักษิณได้รับการพักโทษได้ไม่กี่วัน 
  • วันที่ 18 มีนาคม 2567 แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรคเพื่อไทย พร้อมด้วยคณะกรรมการบริหารพรรค เดินทางเยือนกัมพูชาตามคำเชิญของ ฮุน เซน ระหว่างวันที่ 18-19 มีนาคม 2567

สื่อต่างประเทศมองเห็นอะไร?
เซบาสเตียน สตรานโจ (Sebastian Strangio) นักวิเคราะห์ของสำนักข่าวเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ The Diplomat ตั้งข้อสังเกตว่า แม้ว่าการเยือนกัมพูชาของแพทองธาร ชินวัตร (ในฐานะหัวหน้าพรรคเพื่อไทย) จะเน้นไปที่ความสัมพันธ์ระหว่างพรรครัฐบาลเพื่อไทยกับพรรครัฐบาลประชาชนกัมพูชา "แต่ก็ถือเป็นเรื่องครอบครัวด้วย โดยที่ลูกสาวของอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ของไทยได้พบกับพ่อและลูกชายที่ปกครองกัมพูชาเป็นเวลายาวนานสุดถึง 4 ทศวรรษ" พร้อมกับชี้ให้เห็นว่าการเยือนครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากที่ฮุน เซนเดินทางเยือนประเทศไทยเป็นการส่วนตัวเพื่อพบทักษิณที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนที่แล้ว และการเยือนประเทศไทยของฮุนมาเนตอย่างเป็นทางการเมื่อไม่นานก่อนหน้านั้น

การวิเคราะห์ของ The Diplomat มองว่า การผลัดกันเยือนแต่ละประเทศของสองฝ่ายสะท้อนถึงการรื้อฟื้นความสัมพันธ์ให้คึกคักอีกครั้ง และบอกว่า "เมื่อทั้งสองครอบครัวกลับเข้ามามีอำนาจเป็นครั้งแรกในรอบทศวรรษ ดังนั้นโอกาสนี้จึงเอื้ออำนวยต่อความก้าวหน้าในด้านต่างๆ เมื่อมาเนตและเศรษฐาพบกันที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนที่แล้ว พวกเขาให้คำมั่น ... จะผลักดันด้วยความพยายามที่จะแก้ไขข้อเรียกร้องที่ทับซ้อนกันในอ่าวไทย ซึ่งเชื่อว่ามีแหล่งก๊าซธรรมชาติจำนวนมาก"

จากการรายงานของ The Diplomat ฮุน มาเนต กล่าวหลังการประชุมกับแพทองธารว่า “เราหวังว่าการเจรจาจะให้ผลลัพธ์เร็วๆ นี้ในอนาคตอันใกล้นี้ เพื่อให้ทั้งสองประเทศได้รับประโยชน์ร่วมกันจากเรื่องนี้”

อย่างไรก็ตาม ไม่ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า The Diplomat  กรณีพื้นที่ทับซ้อนของไทยกับกัมพูชาอาจกลายเป็นปัญหาต่อรัฐบาลเพื่อไทยได้ เพราะหากเฝ้ามองอุณหภูมิการเมืองไทยให้ดี สื่อนอกก็อาจจะเห็นว่าตอนนี้กำลังเกิดกระแสจับตา "ครอบครัวชินวัตร" ที่ใกล้ชิดกับ "ครอบครัวฮุน" จะมีอิทธิพลแค่ไหนต่อการเจรจาผลประโยชน์ของชาติครั้งนี้ และอาจเป็นประเด็น "ฟางเส้นสุดท้าย" ที่ทำให้เกิดกระแสต่อต้านรัฐบาลเพื่อไทยขึ้นมา  

ปัญหาดังกล่าวยังเป็นความกังวลเท่านั้น จากการรายงานของสื่อต่างประเทศ กัมพูชาและไทยในยุครัฐบาลที่แสนสนิทนี้ยังจะเน้นความร่วมมือทางเศรษฐกิจเป็นหลัก โดยสองประเทศยังประกาศแผนการเปิดสถานกงสุลไทยและกัมพูชาในเมืองเสียมเรียบและสงขลาตามลำดับ และยังมีประเด็นความร่วมมือด้านเศรษฐกิจอื่นๆ ด้ย  

หยุด "การปะทะกันทางวัฒนธรรม"
นอกจาก The Diplomat สื่อกัมพูชาก็ติดตามการมาเยือนกัมพูชาของแพทองธารเช่นกัน เช่น Phnom Penh Post  รายงานใว่า เจียม เยีบบ ประธานรัฐสภาของกัมพูชาเผยว่า “แพทองธารกล่าวถึงความสัมพันธ์อันยาวนานระหว่างพรรคประชาชนกัมพูชาและเพื่อไทยโดยตั้งสังเกตว่าควรจะทนุถนอมค่อไปสู่อนาคต”  นอกจากนี้ เจียม เยีบบ  ยังกล่าวถึงการสนับสนุนร่วมกันระหว่างพรรคประชาชนกัมพูชาและเพื่อไทยในเวทีต่างๆ 

Phnom Penh Post ยังได้สัมภาษณ์ กิน เพีย ผู้อำนวยการสถาบันความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแห่งราชบัณฑิตยสถานแห่งกัมพูชา ให้ความเห็นว่าทั้งสองฝ่ายจำเป็นต้องกระชับความสัมพันธ์ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ทางการเมืองและความมั่นคง โดยชี้ว่า “เมื่อเผชิญกับการแข่งขันทางภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างมหาอำนาจ ทั้งสอง (ไทยและกัมพูชา) ฝ่ายก็ไม่สามารถยึดอีกฝ่ายเป็นศัตรูได้ เมื่อทั้งสองเผชิญหน้ากันทางทหารในปี 2551 และ 2554 ผลก็คือทั้งสองต้องสูญเสีย” 

กิน เพีย ยังแนะนำว่าผู้นำของทั้งสองประเทศควรประชุมกันบ่อยขึ้นเ พื่อหาทางแก้ไขปัญหาพรมแดนที่ตกลงกันไม่ได้หรือ "การปะทะกันทางวัฒนธรรม" ระหว่างประชาชนของทั้งสอง

สิ่งที่นักวิชาการกัมพูชาเอ่ยถึงคือ "การปะทะกันทางวัฒนธรรม" คือกรณีที่คนไทยชี้ว่าชาวกัมพูชาจำนวนหนึ่งอ้างความเป็นเจ้าเข้าเจ้าของศิลปวัฒนธรรมของไทย โดยกล่าวหาว่าไทยโขมยไปจากกัมพูชา ทั้งๆ ที่สิ่งเหล่านั้นมีต้นดำเนิดที่ไทย และต่อมาได้เผยแพร่ไปให้กัมพูชาด้วยซ้ำ เช่น การแสดงนาฏศิลปรูปแบบต่างๆ แต่ปรากฏซ่าในเวลานี้คนกัมพูชากลับกล่าวหาต้นฉบับว่าเป็นผู้ที่โขมยของพวกเขาไป 

ปัญหนี้ทำให้เกิดกระแสความไม่พอใจต่อคนกัมพูชาอย่างรุนแรง และเริ่มมีความเคลื่อนไหวที่จะแบนการส่งออกทางวัฒนธรรมของไทยไปยังกัมพูชา เพื่อป้องกันไม่ใช่คนกัมพูชากล่างอ้างแบบผิดๆ ในเรื่องนี้ และยังมีเสียร่ำลือในหมู่คนไทยว่า "การแย่งชิงวัฒนธรรมไทย" อาจเป็นฝีมือของผู้มีอิทธิพลทางการเมืองในกัมพูชา 

ประเด็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่าง "ตระกูลชินวัตร" และ "ตระกูลฮุน" ได้ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงในโซเชียลมีเดียของไทยบ่อยครั้ง เมื่อมีประเด็นเรื่อง "การปะทะกันทางวัฒนธรรม" กับชาวเขมร โดยคนไทยจำนวนหนึ่งแสดงความไม่เชื่อมั่นว่ารัฐบาลเพื่อไทยจะสามารถปกป้องวัฒนธรรมไทยได้ เพราะความสัมพันธ์ของหัวหน้าพรรคและบิดาหัหน้าพรรคเพื่อไทยที่สนิทสนมกับผู้ปกครองของกัมพูชา

Photo- Samdech Hun Sen of Cambodia 

TAGS: #ฮุนเซน #ฮุนมาเน #แพทองธาร #ชินวัตร #ทักษิณ #กัมพูชา