โครงการ Landbridge ของไทยยังคงเป็นที่สนใจของเพื่อนบ้านและชาวโลกอย่างต่อเนื่อง ทุกครั้งที่สื่อต่างประเทศรายงานเกี่ยวกับโครงการนรี้ จะมีความเห็นของชาวโลกที่แตกต่างกันออกไป ต่ออนาคตของไทยหากจะเดินหน้าสร้างโครงการนี้ แต่ดูเหมือนว่าส่วนใหญ่จะไม่ค่อยเห็นด้วยกับ Landbridge อย่างล่าสุด คือการรายงานของ Nikkei Asia
รานยงานนี้พาดหัวข่าวว่า "ท่าเรือไทยกังวลกับศักยภาพการแข่งขันลดที่ลง ขณะที่เศรษฐาผลักดัน 'Landbridge'" เนื้อหาคร่าวๆ ของรายงานนี้คือ อุตสาหกรรมการขนส่งทางเรือ หรือ ชิปปิ้ง ตั้งคำถามว่าจะมีเรือผ่านเข้าออกโครงการขนาดใหญ่มูลค่า 28,000 ล้านดอลลาร์นี้สักเท่าไรกัน ประเด็นสำคัญก็คือ เมื่อเทียบกับการเดินทางผ่านช่องแคบมะละกาที่ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมแล้ว ค่าธรรมเนียมข้าม Landbridge จะอยู่ที่ 4,640 บาทต่อตู้คอนเทนเนอร์ และยังต้องใช้เวลาในการเดินทางอีกด้วย
ในรายงานนี้ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในอุตสาหกรรมชิปปิ้งในประเทศไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย และเวียดนาม กล่าวกับ Nikkei Asia ว่า ลูกค้าของ Landbridge อาจถูกจำกัดอยู่เพียงเพื่อนบ้านของไทยที่มีพรมแดนร่วมกัน
เช่นเดียวกับโฆษกของ Ocean Network Express บริษัทขนส่งของญี่ปุ่นซึ่งมีสำนักงานใหญ่ในกรุงโตเกียวและสิงคโปร์ กล่าวกับ Nikkei Asia ว่า จะมีการส่งสินค้าผ่านท่าเรือที่อยู่ในพื้นที่เหล่านี้ เพิ่มขึ้น เช่น ไทย เมียนมาร์ ลาว กัมพูชา และเวียดนาม
ผู้ประกอบการกล่าวกับ Nikkei Asia ว่าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถเพิ่มศักยภาพด้านลอจิสติกส์ด้วยการรวมสินค้าเข้าด้วยกัน ปรับระบบพิธีการศุลกากรให้สอดคล้องกัน และปรับปรุงการเชื่อมต่อทางถนนและทางรถไฟระหว่างท่าเรือที่มีอยู่ แทนที่จะแข่งขันเพื่อลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ใหม่
ในเฟซบุ๊คของ Nikkei Asia ที่โพสต์รายงานชิ้นนี้ มีชาวต่างชาติมาแสดงความเห็นเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่ชี้ให้เห็นถึงความไม่คุ้มของโครงการ 'สะพานบก' หรือ Landbridge เช่น บางความเห็นบอกว่า "ประเทศไทยได้เสนอแนวคิดในการสร้าง “คลองกระ” (คอคอดกระ) มาตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1960 ไม่มีใครเอาด้วย"
เจ้าของความเห็นนี้ คือ Richard Mookerdum ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของสหประขาชาติ ดูเหมือนจะกังวลกับจีน จึงเขียนต่อไปว่า "เนื่องจากจีนกำลังมองหาวิธีหลีกเลี่ยงช่องแคบมะละกาอันเป็นจุดยุทธศาสตร์ คลองกระอาจดึงดูดให้จีนขนส่งน้ำมันจากตะวันออกกลางผ่านจุดนี้"
Muzalli Sam ออกความเห็นว่า "เดี๋ยวก่อนนะ ถ้ามีเรือต้องการจะใช้สะพานบกนี้จะต้องใช้เวลาและเงินมากกว่าเดิมเหรอ? แล้วความจำเป็นที่จะมาใช้มันคืออะไร?"
Zahari Awang Kbkllondon ชาวมาเลเซียบอกว่า "นอกจากนี้ยังมีสะพานบกระหว่างกวนตัน (Kuantan) และ พอร์ต กลัง (Port Klang) ในมาเลเซีย (ระบบขนสางทางรถไฟ) ECRL Goods Train ใช้เวลาเดินทางเพียง 2 ชั่วโมง โดยจะเริ่มให้บริการในปี 2027 กวนตันและกลังเป็นเมืองที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่ดีกว่าในประเทศไทย ประเทศจีนก็มีโครงสร้างพื้นฐานด้านท่าเรือของตนเองเพื่อจัดเก็บสินค้าที่ท่าเรือมาเลเซีย เป็นทางเลือกที่ดีกว่าผ่านสิงคโปร์ และผ่านประเทศไทย"
Helmi Ali ชาวมาเลเซีย แสดงความเห็นว่า "ถ้าเป็นคลองคงเป็นได้มากกว่า..ถ้าเป็นสะพานบก อืม... ถ้าผมเป็นกัปตันเรือก็คงจะใช้ช่องแคบมะละกาดีกว่า"
แต่ก็มีชาวมาเลเซียอีกคน คือ Honeyda Arif บอกว่า "เราสนับสนุนการก่อสร้างคลองกระอย่างเต็มที่เพื่อประโยชน์ของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ระดับโลกและการค้าโลก ไม่ต้องรออีกต่อไป Just do it thailand (ทำมันไปเลยประเทศไทย)"
และ David Harding รองศาสตราจารย์วิชาเคมี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี แสดงความเห็นว่า "ไม่มีความสนใจจากประชาคมระหว่างประเทศต่อโครงการนี้ เนื่องจากเป็นไปไม่ได้ในเชิงเศรษฐกิจ การศึกษาทุกรายการที่ผมได้อ่านระบุว่าเวลาที่ต้องใช้ในการขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์ เรือเพิ่มเติมที่ต้องใช้ในการทำงานนี้ และการประหยัดเวลาที่มีข้อจำกัด ล้วนทำให้บริษัทต่างๆ เลิกลงทุนในโครงการนี้ ประเทศไทยมีปัญหาเร่งด่วนมากกว่า เช่น การปรับปรุงการศึกษาและผลิตภาพ สะพานบกเป็นเพียงสิ่งรบกวนอันไม่พึงประสงค์"
ในบรรดาความเห็นของคนต่างชาติเหล่านี้มีความเห็นหนึ่งที่เรียดกไลค์ได้จำนวนมาก คือ Vat Art ที่สรุปสั้นๆ ว่า "เข้ามาดูผู้คนทะเลาะกันในสิ่งที่ไม่ใช่ของพวกเขา"