ทางการจีนปราบประเพณีจ่ายสินสอดสู่ขอเจ้าสาว หนึ่งในวิธีแก้ปัญหาประชากรเกิดใหม่ลด หลังคนรุ่นใหม่ไม่นิยมแต่งงาน
บลูมเบิร์กรายงาน หน่วยงานท้องถิ่นของจีนกำลังเดินหน้าปราบปรามประเพณีการจ่ายสินสอดสู่ขอเจ้าสาวในราคาที่แพงเกินสมควร ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีการแก้ปัญหาประชาการใหม่ของจีนที่เกิดลดลง และเพื่อช่วยกระตุ้นให้คนรุ่นใหม่แต่งงานสร้างครอบครัวกันมากขึ้น
รายงานระบุว่า "ของหมั้น" หรือ ไค่หลี่ เป็นประเพณีจีนที่ฝ่ายเจ้าบ่าวจะต้องมอบสินสอดของหมั้นให้กับครอบครัวฝ่ายเจ้าสาว เพื่อแสดงความจริงใจและความมั่งคั่ง ในขณะเดียวกันก็ชดเชยให้สำหรับการเลี้ยงดูลูกสาว จากการสำรวผู้อยู่อาศัย 1,846 รายของ Tencent News ในปี 2020 พบว่า คู่รักหนุ่มสาวไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ที่แต่งงานในปีดังกล่าว มีการจ่ายค่าสินสอดให้เจ้าสาวซึ่งครอบครัวเจ้าบ่าวบางรายต้องจ่ายเงินค่าสินสอดสูงหลายหมื่นดอลลาร์ ซึ่งเป็นเงินมากกว่าหลายเท่าของรายได้ต่อปี
หน่ายงานจีนมองว่า ประเพณีดังกล่าวนอกจากไม่สะท้อนต่อทัศนคติของการสร้างความครัวในยุคใหม่แล้ว ในบางครอบครัวฝ่ายเจ้าสาว ได้หวังเอาเงินส่วนนี้เป็นสิ่งสำคัญในการจะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้แต่งงานกับฝ่ายเจ้าบ่าว เนื่องจากปัจจุบันจำนวนผู้หญิงโดยเฉพาะหญิงจีนที่จบการศึกษาสูง ต่างเป็นที่หมายปองของหนุ่มจีนที่ครอบครัวต้องการให้แต่งงานเพื่อสืบทอดทายาท
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ทางการจีนมุ่งเป้าจริงจังต่อเรื่องดังกล่าว แต่ก่อนหน้านี้เคยเกิดกรณีปราบปราบจ่ายค่าสินสอดมาเแล้ว เนื่องจากจีนพยายามแก้ไขการลดลงของจำนวนประชากรอย่างเร่งด่วน หลังจากที่เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ทางการจีนได้ประกาศจำนวนประชากรเกิดใหม่ที่ลดลงต่ำสุดเป็นครั้งแรกในรอบ 60 ปี ทั้งเพื่อกระตุ้นให้คนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ ให้ความสำคัญกับการสร้างครอบครัวมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจจีนกำลังเติบโตแต่คนหนุ่มสาวรุ่นใหม่กลับแต่งงานและมีลูกน้อยลง ที่ส่งผลต่ออัตราแรงงานในอนาคตที่จะกระทบต่อศักยภาพการแข่งขัน
ก่อนหน้านี้ ช่วงเดือนมกราคม ท้องถิ่นมณฑลเหอเป่ย์ ยังได้เดินหน้าปราบปรามประเพณีสินสอดก่อนแต่งดังกล่าวมาแล้ว เช่น้ดียวกับในมณฑลเจียงซีที่ให้หญิงโสดลงนามทำสัญญาต่อรัฐว่าจะไม่เรียกค่าสินสอด ไม่ต่างกับช่วงวันสตรีสากลที่ผ่านมา มีหลายเมืองในจีนจัดพิธีสมรสหมู่โดยมีคำขวัญว่า "เราต้องการความสุขไม่ใช่สินสอดทองหมั้นของเจ้าสาว"
การเปลี่ยนแปลงนโยบายล่าสุดชุดอื่นๆ สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของจีนที่จะเพิ่มอัตราการเกิด นอกเหนือจากที่รัฐจะเพิ่มเงินอุดหนุนสำหรับเด็กแรกเกิด ส่งเสริมการลาแต่งงานสำหรับคนงาน และแม้แต่การผ่อนคลายกฎระเบียบเพื่อให้คู่สมรสที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันสามารถจดทะเบียนรับรองบุตรได้ แต่มาตรการที่ฉาบฉวยเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะเข้าข้างผู้ชาย ท่ามกลางคำปราศรัยของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ที่สนับสนุนให้ผู้หญิงกลับคืนสู่บทบาททางเพศแบบดั้งเดิม ขณะเดียวกันก็กีดกันผู้หญิงไม่ให้มีอำนาจสูงสุดในทางการเมือง
เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นในมณฑลเจียงซียอมรับว่า ในบางชุมชนของเขตชนบทยังสามารถพบการเรียกสินสอดราคาสูงได้ เช่น ในบางหมู่บ้านยอมรับว่าครอบครัวของฝ่ายเจ้าสาว ยังคงเรียกเก็บเงินมากถึง 300,000 หยวน (43,343 ดอลลาร์) สำหรับค่าสินสอด ซึ่งมากกว่า 40 ของเงินเดือนฝ่ายเจ้าบ่าว หากไม่สามารถจ่ายได้ ก็ไม่ยอมยกลูกสาวให้แต่งงานด้วย
Feinian Chen ศาสตราจารย์วิจัยด้านประชากรศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนา Chapel Hill กล่าวว่า "มีความหวังเพียงเล็กน้อยที่จะแก้ไขการเกิดที่ลดลงได้ เว้นแต่ปัญหาที่ฝังรากลึก เช่น ความไม่เท่าเทียมกันทางเพศ ในขณะที่ผู้หญิงยังคงถูกคาดหวังให้เป็นผู้ดูแลหลักของบ้านหลังแต่งงาน
นักวิจัยสหรัฐมองว่า ปัญหาการเรียกค่าสินสอด สามารถสืบย้อนไปถึงนโยบายลูกคนเดียวของจีน ซึ่งนำไปสู่การมีผู้ชายมากเกินไป ความไม่สมดุลทางเพศหมายความว่าครอบครัวของเจ้าสาวสามารถขอราคาที่สูงขึ้นได้ ครอบครัวของเจ้าสาวมักจะจ่ายสินสอดให้กับครอบครัวของเจ้าบ่าว แม้ว่าทางการจะไม่ได้มุ่งเป้าไปที่ประเพณีดังกล่าวก็ตาม