นี่คือบันทึกของชาวตะวันตกเกี่ยวกับการขึ้นปีใหม่ของไทยสมัยก่อนและการใช้คำว่า "สงกรานต์" ในฐานะวันขึ่้นปีใหม่หรือวันขึ้นศักราชใหม่ รวมถึงการละเล่นสาดน้ำในหมู่คนไทยที่มีมายาวนาน การใช้คำว่า Songkran โดยชาวตะวันตกเหล่านี้มีมานานนับร้อยกว่าปี และสะท้อนว่าความหมายของคำนี้ไม่ได้หมายถึง Sankranti (สังกรานติ) ที่หมายถึงการเปลี่ยนราศีในเดือนต่างๆ ของปี แต่หมายถึงการขึ้นปีใหม่ของคนไทยหรือคนสยามโดยเฉพาะ
ปี ค.ศ. 1861
ในหนังสือ Bangkok Calendar โดยสมาคมมิชชันนารีอเมริกัน (American Missionary Association) เมื่อปี ค.ศ. 1861 ตรงกับ พ.ศ. 2404 สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รายงานว่า "ปีใหม่ของชาวสยาม (Siamese New Year) ตรงกับวันที่ 12 มีนาคม โดยวันที่ 11, 12 และ 13 เป็นวัดหยุด การถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาที่จัดครั้งแรกทุกครึ่งปี ตรงกับวันที่ 29 มีนาคม คือ สงกรานต์ (Songkran) มักมีขึ้นในสัปดาห์แรกหรือสัปดาห์ที่สองของปีใหม่ของชาวสยาม" จากข้อมูลนี้บอกเราถึงความการเปลี่ยนแปลงวันขึ้นปีใหม่ในยุคก่อน ซึ่งแต่ก่อนเคยขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน แต่วันสงกรานต์กลับอยู่ในปลายเดือนมีนาคม ต่อมาจะมีการเปลี่ยนธรรมเนียมให้ตรงกัน แม้วันปีใหม่และสงกรานต์จะไม่ตรงกัน แต่ถือเป็นช่วงเวลาเปลี่ยนปีและศักราชเช่นเดียวกัน และกัมพูชาก็เคยใช้ธรรมเนียมแบบนี้โดยรับจากไทยไปในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ปี ค.ศ. 1870
ในหนังสือ The Siam Repository โดย Samuel John Smith มิชชันนารีเจ้าของโรงพิมพ์ และผู้พิมพ์หนังสือในประเทศสยาม เขียนไว้ในปี 1870 หรือ พ.ศ. 2413 ตรงกับรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่า "วันที่ 11 ปี 1870 วันนี้อวันแรก (ตามปฏิทิน) ทางดาราศาสตร์ของสยามเรียกโดยประชาชนว่าสงกรานต์ (is called by the people Songkran) เป็นหลักฐานชี้ชัดว่าคำว่าสงรานต์เป็นคำทั่วๆ ไปที่ประชาชนพลเมืองประเทศสยาม หรือคนไทยใช้เรียกวันขึ้นปีใหม่
ปี ค.ศ. 1879
ในหนังสือ A Journey Round the World in the Years 1875-1876-1877 เขียนโดย John Henry Gray อดีตบาทหลวงประจำกงสุลที่ฮ่องกง เขียนไว้ในปี 1879 หรือ พ.ศ. 2422 ตรงกับรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่า "ปีใหม่ของชาวสยาม และสงกรานต์" (the Siamese new year , and Songkran) และกล่าวถึงพฤติกรรมชาวสยามในการเล่นการพนันในวันขึ้นปีใหม่ และผลกรทบของการเล่นพนันต่อครอบครัวและสังคมชาวสยาม ซึ่งดูเหมือนว่า "ธรรมเนียม" นี้ก็ยังไม่สูญหายไปไหน
ปี ค.ศ. 1892
ในหนังสือ The Pearl of Asia Reminiscences of the Court of a Supreme Monarch; Or, Five Years in Siam โดย Jacob T. Child ทูตอเมริกันประจำประเทศสยาม เขียนไว้ในปี 1892 หรือ พ.ศ. 2435 ตรงกับรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่า "เทศกาลสงกรานต์ (Songkran Holidays) นี่คือวันสี่วันติดต่อกันที่โดยปกติจะมีขึ้นนทันทีหลังวันขึ้นปีใหม่ของชาวสยาม แต่บางครั้งก็มีขึ้นก่อนหน้าไม่นาน มันไม่มีการกำหนดแน่นอนว่าเดือนไหนวันไหน เพราะขึ้นอยู่กับดวงอาทิตย์ไม่เกี่ยวกับดวงจันทร์เลย"
ปี ค.ศ. 1910
หนังสือ Siam: An Account of the Country and the People โดย Peter Anthony Thompson เขียนไว้เมื่อปี 1910 หรือ พ.ศ. 2453 ตรงกับรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่า "กลับมาที่การเฉลิมฉลองเทศกาล ตลอดเวลาทั้งวันจะใช้ไปกับการละเล่นสนุกสนาน และถ้าเป็นวันขึ้นปีใหม่ของชาวสยาม (กรุดไทย Kroot T'hai หรือตรุษไทย) ก็คือการเล่นการพนัน เช่นเดียวกับเทศกาลซาร์ตูนาเลียของชาวโรมัน (ในเดือนธันวาคม) กฎหมายการพนันจะได้รับการผ่อนผัน และทุกคนจะตั้งโต๊ะพนันหรือเอาไพ่ออกมาเล่นกัน" และเขียนว่า "ในเทศกาลสงกรานต์ (Songkran) ซึ่งเป็นจุดเริ่มของปฏิทินสุริยคติแบบเก่าของสยาม เป็นธรรมเนียมที่จะนำพระพุทธรูปออกมาสรงน้ำ และทรงน้ำพระสงฆ์กับผู้อาวุโส คนหนุ่มสาวจะใช้โอกาสนี้ในการสาดน้ำใส่กันและกันท่ามกลางความสนุกสนานและเสียงหัวเราะ"
ปี ค.ศ. 1912
หนังสือ A Handbook of Practical, Commercial, and Political Information โดย Walter Armstrong Graham ที่ปรึกษาของรัฐบาลสยามประจำเขตกลันตัน (ในยุคสมัยที่ยังเป็นส่วนหนึ่งของสยาม) ระหว่างปี 1903 - 1909 wfhเขียนไว้ในปี 1912 หรือ พ.ศ. 2455 ตรงกับรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่า "เทศกาลสงกรานต์เป็นการเริ่มต้นของปีใหม่ (The Songkran festival marks the beginning of the new year) ตามการนับมหาศักราช ซึ่งเป็นปีที่เริ่มต้นใน ค.ศ. 78 จัดขึ้นไม่กี่วันบางครั้งสามวัน ซึ่งมักมีขึ้นในช่วงกลางเดือนเมษายน" จากนั้นก็อธิบายที่มาของสงกรานต์ว่าเกี่ยวข้องกับตำนานเทวดาตามศาสนาพราหมณ์อย่างไรบ้าง โดยเรียกว่า เทวดาสงกรานต์ (Songkran Tewada) จากนนั้นเล่าเรื่องการเล่นน้ำว่า "จากนั้นจะมีการไปเยี่ยมเยือนผู้อาวุโสและมีการมอบของให้เช่นเดียวกัน มีการรดน้ำบนร่างกาย จากนั้นผู้อาวุโสจะให้พรผู้มาเยือน จากนั้นทั้งชุมชนจะค่อยๆ เริ่มการต่อสู้กันฉันมิตรด้วยการเล่นสาดน้ำโดยใช้สายฉีด, ขัน, อ่าง และอุปกรณ์ใดก็ได้ตามถนัดมาใช้ (สาดน้ำ) กันจนทุกคนเปียดปอนกันถ้วนหน้า"
รายงานพิเศษโดย ทีมข่าวต่างประเทศ The Better
Photo - Lakon dancers, Siam [Thailand]. Photograph, 1981, from a negative by John Thomson, 1865. / Wellcome Collection