สื่อนอกคาดแรงงานสาย 'ธนาคาร-การแพทย์' อาจเป็นกลุ่มต่อไปที่โดนเลิกจ้าง

สื่อนอกคาดแรงงานสาย 'ธนาคาร-การแพทย์' อาจเป็นกลุ่มต่อไปที่โดนเลิกจ้าง
สื่อสหรัฐคาด 'การเงิน-การแพทย์' จะเป็นแรงงานอเมริกันกลุ่มต่อไปที่ได้รับผลกระทบจากการถูกเลย์ออฟต่อจากสายเทคโนโลยี

สำนักข่าวบลูมเบิร์กเปิดเผยการคาดการณ์ที่น่าสนใจ โดยระบุว่า นับตั้งแต่ช่วงปลายปี 2022 ถึงต้นปี 2023 บรรดาบริษัทสายเทคโนโลยีต่างเลย์ออฟพนักงานเป็นจำนวนมาก ตามรายงานของบริษัทจัดหางาน Challenger, Grey & Christmas Inc. ชี้ว่า แค่เฉพาะเดือนกุมภาพันธ์เพียงเดือนเดียว มีตัวเลขอยู่เลิกจ้างที่ 77,770 คน ซึ่งสูงกว่าการเลิกจ้าง 15,245 ตำแหน่งที่ประกาศเมื่อปีที่แล้วถึง 5 เท่า ถือเป็นตัวเลขสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2009 โดยการเลิกจ้างงานจากบริษัทด้านเทคโนโลยีมีสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนพนักงานทั้งหมดที่ถูกเลิกจ้างกว่า 180,000 ตำแหน่ง

บลูมเบิร์กระบุว่า ตัวเลขผลประกอบการของบริษัทร่วมถึงมูลค่าของหุ้นของบรรดาบริษัทเทคโนโลยีที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง มีนัยยะสำคัญต่อการปลดพนักงานในช่วงที่ผ่านมา และจากการเก็บข้อมูลดัชนีหุ้น S&P ในช่วงที่ผ่าน สื่อสหรัฐชี้ว่าบรรดาบริษัทภาคการเงินและสายสุขภาพ อาจเดินตามรอยการเลิกจ้างของบรรดาบริษัทสายเทคโนโลยี

จากการเก็บข้อมูลหุ้น S&P 500 ของบลูมเบิร์ก ชี้ว่า มีบริษัท 105 แห่งที่มีรายได้ของบริษั ต่อพนักงานหนึ่งคน ลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับช่วงที่โควิดยังระบุว่า นั่นเป็นมาตรวัดที่ดีทีเดียวสำหรับประสิทธิภาพของบริษัท หมายความว่ายอดขายลดลงหรือฝ่ายบริหารจ้างพนักงานใหม่เร็วกว่าที่จะขยายธุรกิจได้ การเติบโตของจำนวนพนักงานเกินการเติบโตของยอดขาย

ในบรรดาหุ้น 105 ตัวนั้น มี 60 ตัวที่ทำผลงานได้ดีกว่าตลาดในวงกว้างในปีที่ผ่านมา นั่นอาจสะท้อนได้ถึงฝีมือการบริหารของผู้บริหาร แต่นั่นก็ไม่ได้เป็นคำตอบเสมอไป เพราะแม้ว่าหุ้นของ Meta ยังอัตราการซื้อขายในตลาด S&P 500 ที่อยู่ในระดับดี แต่ช่วงที่ผ่านมา Meta ก็ปลดพนักงานไปแล้วร่วมนับหมื่นคน โดยเมตามีรายได้เฉลี่่ยต่อพนักงานต่อหนึ่งคนลดงลงถึง 14% ในช่วงปี 2022 ซึ่งนับเป็นการลดลงอย่างมากของบริษัทในดัชนี S&P 500

บลูมเบิร์กชี้ว่า หากเทียบหุ้นดัชนี S&P 500 พบว่ามีหุ้นดังจำนวน 45 ตัวที่มีประสิทธิภาพต่ำกว่าตลาด ทั้งยังมีรายงานยอดขายที่ลดลง ซึ่งเป็นสัญญาณแรกของการที่บริษัทเหล่านี้อาจพิจารณาลดพนักงานลงในเวลาต่อมา ในจำนวนนี้เป็นบริษัทด้านสถาบันการเงินถึง 12 แห่ง อาทิ Bank of America และ Citigroup อีกอุตสาหกรรมคือบริษัทสายสุขภาพ เช่นบริษัท  Medtronic หนึ่งในผู้ผลิตอุปกรณ์การแพทย์รายใหญ่ของสหรัฐฯ

อย่างไรก็ตาม บลูมเบิร์กทิ้งท้ายว่า บริษัทหลายแห่งมีกลไกอื่นๆ ในการกระตุ้นขอดขาย รักษาผลกำไรและผลประกอบการของบริษัท ซึ่งการเลย์ออฟพนักงานดูเหมือนเป็นทางเลือกสุดท้ายในการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ แต่อย่างไรก็ตาม นักลงทุนหุ้นจำนวนไม่น้อยที่มองว่า หลายบริษัทอาจมี "พนักงานที่ล้นมือ" หลังสถานการณ์ระบาดสิ้นสุด ประกอบกับการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยดำเนินงานได้มากขึ้น ซึ่งนั่นสะท้อนว่าข่าวร้ายของแรงงานในสหรัฐอาจเกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง

TAGS: #เลย์ออฟ #ปลดพนักงาน #ตลาดหุ้นสหรัฐ #แรงงาน #การเงิน #ธนาคาร #การแพทย์