เบื้องหลังเหตุการณ์
เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้ลงมติสนับสนุนการเสนอตัวของปาเลสไตน์ในการเป็นสมาชิกสหประชาชาติโดยสมบูรณ์ โดยที่ประชุมมีมติยอมรับข้อเสนอของปาเลสไตน์ด้วยคะแนนเสียง 143 คัดค้าน 9 เสียง และงดออกเสียง 25 เสียง โดยประเทศที่ลงคะแนนไม่เห็นด้วยกับมติดังกล่าว คือสหรัฐฯ อาร์เจนตินา สาธารณรัฐเช็ก ฮังการี อิสราเอล ไมโครนีเซีย นาอูรู ปาเลา และปาปัวนิวกินี
อย่างไรก็ตาม กิลาด เออร์ดาน ทูตอิสราเอลประจำสหประชาชาติกล่าวประณามมติดังกล่าวและประณามผู้สนับสนุนการรับข้อเสนอของปาเลสไตน์เป็นสมาชิกสหประชาชาติ โดยเขาประท้วงในเชิงสัญลักษณ์ด้วยการ นำเอาเครื่องทำลายกระดาษขนาดเล็กออกมา แฃ้วฉีกสำเนาปกกฎบัตรสหประชาชาติ พร้อมกับกับที่ประชุมว่า “คุณกำลังทำลายกฎบัตรสหประชาชาติด้วยมือของคุณเอง นั่นแหละ นั่นแหละนั่นคือสิ่งที่คุณกำลังทำอยู่ ทำลายกฎบัตรสหประชาชาติ หน้าไม่อาย”
กว่าจะมีวันนี้ในยูเอ็นของปาเลสไตน์
1. มติของสหประชาชาตินี้เป็นขั้นตอนล่าสุดในการยอมรับความเป็นรัฐเอกราชของปาเลสตไน์ นับตั้งแต่เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้มีมติที่ 3236 รับรองสิทธิของชาวปาเลสไตน์ในการตัดสินใจด้วยตนเอง ความเป็นอิสระของชาติ และอธิปไตยในปาเลสไตน์ โดยในเวลานั้นสหประชาชาติยอมรับว่า องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ (PLO) เป็นตัวแทนหนึ่งเดียวของปาเลสไตน์ และมีสถานะสังเกตการร์ในสหประชาชาติ
2. ต่อมาองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ (PLO) ได้ประกาศก่อตั้ง 'รัฐปาเลสไตน์' ได้รับการประกาศอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 โดยอ้างอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนปาเลสไตน์ที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ได้แก่ เวสต์แบงก์ ซึ่งรวมถึงเยรูซาเลมตะวันออก และฉนวนกาซา ภายในสิ้นปี พ.ศ. 2531 รัฐปาเลสไตน์ได้รับการยอมรับจาก 78 ประเทศ อย่างไรก็ตาม ในขณะนั้น สหรัฐอเมริกา (ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนรัฐอิสราเอล) ใช้วิธีการกดดันประเทศอื่นๆ และองค์กรระหว่างประเทศไม่ให้ให้การยอมรับรั,ปาเลสไตน์ โดยหากประเทศเหล่านั้นยอมรับปาเลสตไน์ สหรัฐฯ จะยุติความช่วยเหลือทางการเงิน
3. เช่น เมื่อรัฐปาเลสไตน์พยายามที่จะเป็นสมาชิกของหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสหประชาชาติ แต่ความพยายามถูกขัดขวางโดยคำขู่ของสหรัฐฯ ที่จะระงับเงินทุนจากองค์กรใดๆ ที่ยอมรับปาเลสไตน์ ตัวอย่างเช่น ในเดือนเมษายนของ ในปีเดียวกัน PLO ได้สมัครเป็นสมาชิกในฐานะรัฐในองค์การอนามัยโลก (WHO) แต่การสมัครไม่เป็นผลสำเร็จ หลังจากที่สหรัฐฯ แจ้งให้ WHO ทราบว่าจะถอนเงินทุนหากปาเลสไตน์ได้รับการยอมรับเป็นสมาชิก
4. ต่อมา ปาเลสไตน์ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของอนุสัญญาเจนีวา (ซึ่งเกี่ยวข้องกับการกำหนดกฎเกณฑ์การทำสงครามระหว่างรัฐต่อรัฐให้อยู่ภายใต้ความมีมนุษยธรรม) แต่ไม่สามารถเป็นส่วนหนึ่งของอนุสัญญาได้ เพราะยังไม่มีสถานะเป็นรัฐอย่างเต็มที่ ด้วยเหตุนี้ ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2532 สันนิบาตอาหรับจึงได้เสนอมติของสมัชชาใหญ่ให้รับรอง PLO อย่างเป็นทางการว่าเป็นรัฐบาลของรัฐปาเลสไตน์ที่เป็นอิสระ อย่างไรก็ตาม ร่างดังกล่าวถูกยกเลิกเมื่อสหรัฐฯ ขู่อีกครั้งว่าจะตัดการสนับสนุนทางการเงินแก่สหประชาชาติ หากการลงคะแนนเสียงดำเนินต่อไป รัฐอาหรับตกลงที่จะไม่กดดันมติดังกล่าว แต่เรียกร้องให้สหรัฐฯ สัญญาว่าจะไม่ขู่คว่ำบาตรทางการเงินต่อสหประชาชาติอีก
5. อย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อมาปาเลสไตน์ อิสราเอล และสหรัฐฯ ตกลงกันได้ และมีข้อตกลงในชื่อ 'สัญญาออสโล' และมีการลงนามระหว่างอิสราเอลและ PLO ในปี 1993 และ 1995 ที่สหรัฐฯ และอียิปต์ โดยมีนอร์เวย์เป็นคนกลาง สัญญานี้คือการที่ปาเลสไตน์ที่นำโดย PLO จะยอมรับสถานะความเป็นรัฐของอิสราเอล ส่วนอิสราเอลก็จะยอมรับสถานะรัฐบาลของ PLO โดยจัดตั้งหน่วยงานปาเลสไตน์ (PA) ให้เป็นฝ่ายบริหารชั่วคราวที่ปกครองตนเองในฉนวนกาซาและเวสต์แบงก์
6. แต่หลังจากการลอบสังหารยิตซัค ราบิน ผู้นำ PLO และการขึ้นสู่อำนาจของเบนจามิน เนทันยาฮู ผู้นำอิสราเอลที่มีท่าทีแข็งกร้าว ต่อปาเลสไตน์ ทำการเจรจาระหว่างอิสราเอลและ PA ก็หยุดชะงัก ซึ่งทำให้อิสราเอลไม่ยอมรับการที่ปาเลสไตน์ดำเนินการให้นานาชาติยอมรับรัฐปาเลสไตน์ และการเสนอตัวให้รัฐปาเลสไตน์เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ ในเวลาเดียวกัน กลุ่มการเองและกลุ่มติดอาวุธหัวรุนแรงในปาเลสไตน์ก้เริ่มมีอำนาจขึ้นในฉนวนกาซา นั่นคือ กลุ่มฮามาส ซึ่งอยู่นอกเหนือการควบคุมองรัฐบาล PA (หรือ PLO เดิม)
7. ฮามาสจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้อิสราเอลและปาเลสไตน์โดยเฉพาะกับเขตฉนวนกาซาปะทะกนรุนแรงขึ้น แต่ปาเลสไตน์โดยรวมก็ยังขับเคลื่อนเพื่อสถานะความเป็นรัฐต่อไป โดยในปี พ.ศ. 2554 รัฐปาเลสไตน์ได้รับการยอมรับเข้าเป็นสมาชิก UNESCO และในปี พ.ศ. 2555 ปาเลสไตน์พยายามที่จะเข้าเป็นสมาชิกเต็มตัวของสหประชาชาติ แต่ก็กังวลว่าแม้จะถูกวีโต้ (สิทธิจัดค้าน) จากสหรัฐฯ ซึ่งเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เนื่องจากมติใดๆ ที่จะให้การยอมรับสถานะสมาชิกใหม่ แม้จะผ่านการยอมรับจากสมัชชาใหญ่แล้ว แต่สถานะการเป็นสมาชิกเต็มตัวที่มีสิทธิออกเสียงจะต้องนำส่งต่อไปให้คณะมนตรีความามั่นคงพิจารณาต่อไป
8. ดังนั้น ปาเลสไตน์โดยรัฐบาล PA จึงเสนอตัวเป็นรัฐผู้สังเกตการณ์ในงสหประชาชาติ และเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ด้วยคะแนนเสียง 138–9 เสียง (งดออกเสียง 41 เสียง) มติที่ 67/19 ของสมัชชาใหญ่ให้ยกระดับปาเลสไตน์เป็นสถานะ "รัฐผู้สังเกตการณ์ที่ไม่ใช่สมาชิก" ในสหประชาชาติ สถานะใหม่นี้เทียบได้กับสถานะของปาเลสไตน์กับ "รัฐวาติกัน" ซึ่งเท่ากับเป็นการยอมรับโดยพฤตินัยว่ารัฐปาเลสไตน์มีอธิปไตย ทั้งนี้ผู้ลงคะแนนเสียงที่ "ไม่ยอมรับ" ได้แก่ อิสราเอล แคนาดา สาธารณรัฐเช็ก หมู่เกาะมาร์แชล สหพันธรัฐไมโครนีเซีย นาอูรู ปาเลา ปานามา และสหรัฐอเมริกา
9. หลังจากนั้นรัฐบาล PA ก็เริ่มใช้ชื่อ "รัฐปาเลสไตน์" อย่างเป็นทางการ แม้ว่าจะยังไม่ได้เป็นสมาชิกสหประชาชาติก็ตาม เรื่องนี้ถูกทิ้งไว้นานหลายปี จนกระทั่ง เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติมีมติให้สิทธิเพิ่มเติมแก่คณะผู้แทนปาเลสไตน์ที่สหประชาชาติ ซึ่งหมายความว่าให้สถานะยอมรับความเป็ยสมาชิกเข้าไปอีกขั้นหนึ่ง คือมอบสิทธิเพิ่มเติมเกี่ยวกับปาเลสไตน์ทให้สามารถมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในการอภิปราย เสนอวาระการประชุม และได้รับเลือกให้ผู้แทนเป็นคณะกรรมการในสหประชาขาติได้ อย่างไรก็ตาม ปาเลสไตน์ยังคงไม่มีสิทธิลงคะแนนเสียง ซึ่งเป็นสิ่งที่สมัชชาใหญ่ไม่มีอำนาจให้ และจะต้องได้รับการสนับสนุนจากคณะมนตรีความมั่นคง
Photo by Giorgio VIERA / AFP