ในประวัติศาสตร์การเมืองยุคปัจจุบัน มีหลายกรณีที่มีมีการอดอาหารประท้วงเพื่อแสดงจุดยืนทางการเมืองหรือต่อต้านการจับกุมตัวโดยศัตรูทางการเมือง ผลของการอดอาหารประท้วงเหล่านี้ หลายครั้งนำไปสู่โศกนาฏกรรม นั่นคือความตายของผู้อดอาหารประท้วง บางครั้งความตายของพวกเขานำไปสู่การเปลี่ยนแปลงจุดยืนทางการเมืองของฝ่ายตรงข้ามที่คุมขับพวกเขา บางครั้งก็ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงขึ้นมาเลย นี่คือ กรณีอดอาหารประท้วงครั้งสำคัญของโลก คือ กรณีการเรียกร้องเอกราช ของไอร์แลนด์เหนือจากสหราชอาณาจักร ที่จบลงด้วยความตายของนักโทษการเมือง
เหตุการณ์เบื้องหลัง
- "ไอร์แลนด์เหนือ" เป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร แม้ว่าประชากรส่วนใหญ่จะเป็นชาวไอริชเหมือนใน "ประเทศสาธารรัฐไอร์แลนด์" ที่อยู่ทางใต้ แต่ประชากรไอริชของไอร์แลนด์เหนือส่วนใหญ่เป็นชาวคริสต์โปรเตสแตนท์ ส่วนชาวไอริชในสาธารณรัฐไอร์แลนด์เป็นคาทอลิก รวมถึงความภักดีทางการเมืองที่ต่างกันระหว่างไอริชสงกลุ่ม นี่เป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งที่กินเวลาประมาณ 30 ปีตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1960 ถึง 1998 นำไปสู่การต่อสู้ทั้งผ่านกระบวนการการเมือง (การเลือกตั้ง) และการจับอาวุธขึ้นสู้และการก่อการร้ายโดยขบวนการติดอาวุธ (เช่น ขบวนการ IRA)
- ความขัดแย้งนี้มีเนื้อหาทางการเมืองและชาตินิยมเป็นหลัก โดยมีสาเหตุมาจากเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ยังมีมิติทางชาติพันธุ์หรือนิกายด้วย แม้ว่าจะใช้คำว่าโปรเตสแตนต์และคาทอลิกเพื่ออ้างถึงทั้งสองฝ่าย แต่ก็ไม่ใช่ความขัดแย้งทางศาสนา เพราะประเด็นสำคัญคือสถานะของไอร์แลนด์เหนือ โดยไอริชโปรเตสแตนต์ในไอร์แลนด์เหนือ ต้องการให้ไอร์แลนด์เหนือคงอยู่ภายในสหราชอาณาจักร แต่พวกชาตินิยมและพวกนิยมสาธารณรัฐ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวไอริชคาทอลิก ต้องการให้ไอร์แลนด์เหนือออกจากสหราชอาณาจักรและเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของประเทศไอร์แลนด์
อดอาหารสะเทือนโลก
การอดอาหารประท้วงของชาวไอริชในปี 1981 เป็นการประท้วงของนักโทษจากชาวไอริชในไอร์แลนด์เหนือที่เรียกร้องระบอบสาธารณรัฐและการแยกตัวจากสหราชอาณาจักร นักโทษเหล่านี้เริ่มประท้วงในปี 1976 หลังจากรัฐบาลสหราชอาณาจักรถอนสถานะประเภทพิเศษของนักโทษเหล่านี้ จนกระทั้ง การประท้วงมาถึงจุดสูงสุดในปี 1980 เมื่อนักโทษ 7 คนเข้าร่วมการอดอาหารประท้วงครั้งแรก จนกระทั่งนักโทษคนหนึ่งอยู่ในอาการโคม่าและใกล้จะถึงแก่ความตาย รัฐบาลสหราชอาณาจักรจึงอ่อนข้อลงโดยมีทีท่าจะยอมรับสาระสำคัญของข้อเรียกร้องของนักโทษ นักโทษจึงและยุติการประท้วงหลังจากการอดอาหารไป 53
แต่เมื่อถึงเดือนมกราคม 1981 เมื่อเป็นที่แน่ชัดว่าข้อเรียกร้องของนักโทษไม่ได้รับการยอมรับ เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ นักโทษออกแถลงการณ์ว่ารัฐบาลอังกฤษล้มเหลวในการแก้ไขวิกฤติดังกล่าวและประกาศเจตนารมณ์ที่จะ "ตอบโต้ด้วยการอดอาหารประท้วงอีกครั้ง" การอดอาหารประท้วงครั้งที่สองเริ่มขึ้นในวันที่ 1 มีนาคม การประท้วงยืดเยื้อพร้อมๆ กับการเจรจากับรัฐบาล ซึ่งไม่ได้ผล เพราะรัฐบาลไม่ยอมอ่อนข้อ จนเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม บ็อบบี้ แซนด์ส หนึ่งในนักโทษก็เสียชีวิตในโรงพยาบาลในเรือนจำหลังจากผ่านไปวันที่ 66 ของการประท้วง ส่งผลให้เกิดการจลาจลในพื้นที่ชาตินิยมในไอร์แลนด์เหนือ มีผู้คนมากกว่า 100,000 คนเข้าแถวตามเส้นทางพิธีศพของ บ็อบบี้ แซนด์ส
แต่ มาร์กาเร็ต แธตเชอร์ นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรไม่แสดงความเห็นอกเห็นใจต่อการเสียชีวิตของนักโทษคนนี้ โดยบอกกับรัฐสภาว่า "มิสเตอร์แซนด์สเป็นอาชญากรที่ถูกตัดสินลงโทษ เขาเลือกที่จะปลิดชีพตัวเอง เป็นทางเลือกที่องค์กรของเขา (ขบวนการ IRA) ไม่ยอมให้เหยื่อหลายๆ คนได้มีทางเลือกแบบนั้น (หมายความว่า IRA ใช้วิธีก่อการร้ายจนมีผู้เสียชีวิตแบบไม่ทันตั้งตัวมากมาย)"
ในช่วงสองสัปดาห์หลังการเสียชีวิตของแซนด์ส นักโทษการเมืองที่อดอาหารประท้วงอีก 4 คนก็เสียชีวิต ต่อมาเสียชีวิตอีก 2 คน ส่งผลให้เกิดการจลาจลในพื้นที่ชาตินิยมของไอร์แลนด์เหนือ โดยเฉพาะเมืองเดอร์รีและเบลฟาสต์ อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ แธตเชอร์ยังคงปฏิเสธที่จะเจรจาข้อตกลง แต่ในเวลาเดียว นักโทษที่อดอาหารประท้วงต่างก็ได้รับการเลือกตั้งให้สมาชิกสมาของไอร์แลนด์เหนือคนแล้วคนเล่า รวมถึงคนที่เสียชีวิตไปแล้วอย่าง แซนด์ส ทำให้ข่าวนี้กลายเป็นที่สนใจทั่วโลก เพราะนักโทษที่อดอาหารในคุกกลับกลายเป็นสมาชิกของสภาเป็นจำนวนมาก
การอดหารประท้วงดำเนินต่อมาจนถึงเดือนกรกฎาคม โดยมีผู้เสียชีวิตเรื่อยๆ จนถึงเดือนสิงหาคมรวมแล้ว 10 คน หลังจากเดือนนั้นผู้ประท่วงบางคนเริ่มไม่ไหวและขอรับการรักษาทางการแพทย์เรื่อยๆ จนกระทั่ง การอดอาหารประท้วงก็ถูกยกเลิกเมื่อเวลา 15:15 น. ของวันที่ 3 ตุลาคม 1981 ซึ่งทำให้สื่อในสหราชอณาจักรต่างก็ยกย่อง มาร์กาเร็ต แธตเชอร์ นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร ราวกับเป็นวีรสตรีที่ "เอาชนะ" นักโทษที่กดดันรัฐบาลด้วยการอดอาหารประท้วงได้ในที่สุด
แต่มันก็ไม่ได้ทำให้การเคลื่อนไหวทางการเมืองของขบวนการชาตินิยมไอริช และขบวนการสาธารณรัฐไอริชในไอร์แลนด์เหนือยุติลงแต่อย่างใด
Photo credit - Patrice78500 / CC BY-SA 3.0