สถานการณ์ล่าสุด ณ วันที่ 21 พฤษภาคม ผู้แบ่งแยกดินแดนนิวแคลิโดเนียยังไม่ยมแพ้ พวกเขาต่อต้านความพยายามของฝรั่งเศสที่ส่งกองกำลังความมั่นคงเข้ามา ส่วนชาวต่างชาติเริ่มอพยพหนีออกไป เกิดอะไรขึ้นกันแน่กับดินแดนแห่งนี้
1. นิวแคลิโดเนีย (New Caledonia หรือในภาษาฝรั่งเศส คือ Nouvelle-Calédonie) เป็นดินแดนโพ้นทะเลของฝรั่งเศส หรือ Overseas France ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงใต้ ห่างจากแผ่นดินใหญ่ของฝรั่งเศส หรือ Metropolitan France ในยุโรปถึง 17,000 กม.
2. ปัจจุบัน ดินแดนโพ้นทะเลของฝรั่งเศส หรือ Overseas France ประกอบด้วยดินแดนฝรั่งเศส 13 แห่งนอกยุโรปซึ่งมีต้นกำเนิดในจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศส ที่มีสถานะเป็นจังหวัด (Departments) ต่างประเทศของฝรั่งเศสแต่เป็นส่วนหนึ่งของสหภาพยุโรป
3. นิวแคลิโดเนีย มีชนพื้นเมืองคานัก (Kanak) เป็นคนพื้นเมืองท้องถิ่น เป็นกลุ่มคนเมลานีเซีย และเเป็นเจ้าของดินแดนเดิม แต่ก็ยังมีชนกลุ่มน้อนชาวยุโรปจำนวนมากจากแผ่นดินใหญ่ของฝรั่งเศส และยังมีชาวดโพลีนีเซียจากหมู่เกาะอื่นๆ มาตั้งถิ่นฐานด้วย
4. แต่ประชากรชาวยุโรปและโพลินีเซียนค่อยๆ เพิ่มขึ้นในช่วงหลายปีที่เพราะมีการทำเหมืองนิกเกิลจนรุ่งเรืองในปี พ.ศ. 2512-2515 ทำให้คนชนพื้นเมืองคานักก็กลายเป็นชนกลุ่มน้อย แม้ว่าพวกเขาจะยังคงเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดก็ตาม
5. ระหว่าง พ.ศ. 2519 ถึง พ.ศ. 2531 เกิดความขัดแย้งขึ้นระหว่างชาวคานักและคนต่างถิ่น หรือกรณี Les Événements เป็นความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลฝรั่งเศสกับขบวนการเอกราชชาวคานัก ทำให้เกิดความรุนแรงและความไม่เป็นระเบียบอย่างรุนแรง
6. จนในปีพ.ศ. 2526 ก็มีการผ่านกฎหมาย "ขยายเอกราช" สำหรับดินแดนแห่งนี้ โดนเสนอให้มีการเปลี่ยนผ่านเป็นเวลา 5 ปี และมีการลงประชามติในปี พ.ศ. 2532 แต่ก็มียังมีความขัดแย้งและกรเข่นฆ่ากันรุนแรงต่อเนื่อง จนต่อมามีข้อตกลงข้อตกลงนูเมอา (Nouméa Accord) ซึ่งลงนามเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ได้วางรากฐานสำหรับการเปลี่ยนแปลงการปกครองระยะเวลา 20 ปีที่ค่อยๆ ถ่ายโอนอำนาจการปกครองไปยังรัฐบาลท้องถิ่น
7. แต่ฝรั่งเศสกลบไม่ยอมละอำนาจการปกครองง่ายๆ และได้มีการบังคับใช้กฎใหม่ที่จะให้สิทธิในการลงคะแนนเสียงแก่ผู้อยู่อาศัยที่ไม่ใช่ชนพื้นเมืองหลายหมื่นคน โดยรัฐบาลฝรั่งเศสต้องการให้ผู้ที่อาศัยอยู่ในดินแดนนี้มานานกว่า 10 ปีสามารถลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้งท้องถิ่นได้ การปฏิรูปที่อนุญาตให้ผู้คนเชื้อสายยุโรปและโพลินีเซียนลงคะแนนเสียงได้มากขึ้นถูกประณามว่าเป็นการลดทอนเสียงทางการเมืองของชาวคานัก จนนำไปสู้่การก่อจลาจลทั่วดินแดน
จากรายงาน ณ วันที่ 20 พฤษภาคม โดยสำนักข่าว AFP ฝรั่งเศสได้ส่งกองกำลังความมั่นคง 1,000 นายไปยังดินแดนโพ้นทะเล ที่ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงนาน 7 คืน ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 6 ราย หนึ่งในผู้เสียชีวิตยังมีตำรวจ 2 คน และได้รับบาดเจ็บหลายร้อยคน
ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง เตรียมที่จะเป็นประธานการประชุมสภากลาโหมและความมั่นคงครั้งใหม่ในวันที่ 20 พฤษภาคม เพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
แต่กลุ่มแบ่งแยกดินแดนในนิวแคลิโดเนียที่ยังไม่ยอมความพยายาม พวกไม่ยอมถอยแม้ว่าจะเผชิญกับการวางสิ่งของกีดขวางบนถนนโดยเจ้าหน้าที่ปราบจลาจล ซึ่งทำให้หมู่เกาะแปซิฟิกแห่งนี้กลายเป็นอัมพาตเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ การไม่ยอมแพ้ของคนท้องถิ่นนับเป็นการท้าทายปฏิบัติด้านความมั่นคงครั้งใหญ่ของกองกำลังฝรั่งเศส เพื่อควบคุมดินแดนเกาะแห่งนี้
ความไม่สงบครั้งล่าสุดในดินแดนมหาสมุทรแปซิฟิกที่มีประชากร 270,000 คน ปะทุขึ้นจากแผนการของฝรั่งเศสที่จะบังคับใช้กฎใหม่ที่จะให้สิทธิในการลงคะแนนเสียงแก่ผู้อยู่อาศัยที่ไม่ใช่ชนพื้นเมืองหลายหมื่นคน
มีเสียงวิจารณ์จากคนท้องถิ่น หรือชาวคานัก (Kanak) ซึ่งเป็นชาวเกาะที่เป้นชนชาติดั้งเดิมว่าการทำเช่นนั้นของรัฐบาลฝรั่งเศส จะเป็นการนำเอาคนภายนอกเข้ามาแทนที่คนท้องถิ่น จนทำให้คนภายนอกมีสิทธิ์และเสียงในการตัดสินใจมากกว่าคนท้องถิ่น
คนภายนอกที่ถูกตั้งข้อสงสัยคือ ชาวฝรั่งเศสจากแผ่นดินใหญ่ในยุโรปที่อาจอพยพเข้ามาจนมีจำนวนมากกว่า จากนั้นก็สามารถกลับเสียงเรียกร้องของคนพื้นเมืองที่จะเรียกร้องอำนาจปกครองตนเอง ไปจนถึงการทำประชามติแยกตัวเป็นเอกราชจากฝรั่งเศส
นี่คือสาเหตุที่ทำให้เกิดความรุนแรงขึ้น จนเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารกึ่งทหารฝรั่งเศสติดอาวุธหนักราว 600 นาย ต้อง "วางกำลัง" บล็อคถนน 76 แห่งบนเส้นทางระยะทาง 60 กิโลเมตรระหว่างเมืองหลวงนูเมียและสนามบินนานาชาติลา ตอนตูตา เจ้าหน้าที่กล่าว
แต่นักเคลื่อนไหวชาวพื้นเมืองคานัก ซึ่งส่วนใหญ่สนับสนุนเอกราช สาบานว่าพวกเขาจะไม่ยอมแพ้ นักข่าวของสำนักข่าว AFP กล่าวว่า คนท้องถิ่นที่ต่อต้านอำนาจส่วนกลสางของฝรั่งเศสได้ทำการปิดถนนบางส่วน ต่อมากองกำลังรักษาความมั่นคงได้พังทลายการปิดกั้นไปแล้ว แต่มันกลับกำลังถูกสร้างขึ้นใหม่ให้ใหญ่ขึ้นอีกโดยกองกำลังที่สนับสนุนเอกราช
สถานการณ์เริ่มจลาจลนองเลือดเข้าไปทุกที จากการรายงานของผู้สื่อข่าว AFP เขาเห็นรถกระบะคันหนึ่งขับผ่านชานเมืองแห่งหนึ่งในนูเมีย โดยมีชายสวมหน้ากากและสวมหน้ากากประมาณ 10 คนถือมีดพร้า
นอกจากนี้ยังได้ยินเสียงลูกระเบิดต่อต้านการจลาจลซึ่งมักใช้เพื่อยิงแก๊สน้ำตาหรือสเปรย์พริกไทย ในย่านชานเมืองแห่งหนึ่งของนูเมีย ไฟไหม้อาคารของบริษัทก่อสร้างแห่งหนึ่งกลายเป็นเถ้าถ่าน
“มันให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ในซีรีส์ The Walking Dead” ผู้อำนวยการที่ทำการไปรษณีย์ท้องถิ่น โตมา เดออเดกเลอร์ กล่าวถึงซีรีส์โทรทัศน์เรื่องซอมบี้หลังวันสิ้นโลก
“เราไม่สามารถมองเห็นได้ว่าเราจะมีการรักษาความปลอดภัยอีกครั้งเมื่อใด” เขากล่าวกับ AFP
- สนามบินยังคงปิดให้บริการ -
สนามบินนูเมียจะยังคงปิดให้บริการเที่ยวบินเชิงพาณิชย์จนถึงวันพฤหัสบดี แม้ว่าออสเตรเลียและนิวซีแลนด์จะร้องขอให้อพยพพลเมืองของตนก็ตาม ผู้จัดการสนามบินกล่าว
เครื่องบินทหารที่บรรทุกศพของทหารฝรั่งเศส 2 นายที่เสียชีวิตในนิวแคลิโดเนีย ลงจอดในฝรั่งเศสเมื่อช่วงเช้าวันจันทร์
หน่วยงานรัฐบาลฝรั่งเศสในนิวแคลิโดเนียยกย่องปฏิบัติการวันอาทิตย์ว่าเป็น "ความสำเร็จ" ระบุว่า กองกำลังจะเคลื่อนย้ายยานพาหนะที่ถูกไฟไหม้ซึ่งทิ้งเกลื่อนกลาดในเส้นทางสนามบินหลักเพื่อจัดหาอาหารและวัสดุที่จำเป็น
แต่ "หน่วยประสานงานภาคพื้นดิน" หรือ CCAT ซึ่งเป็นกลุ่มประสานงานการประท้วง ระบุว่า พวกเขากำลัง "คอยดูแล" เครื่องกีดขวางให้อยู่กับที่ไม่ให้ถูกเคลทาอนย้าย แต่แกนนำ CCAT บางคนถูกกักบริเวณในบ้านเนื่องจากต้องสงสัยจัดการปัญหา
CCAT ระบุในแถลงการณ์ว่า สิ่งกีดขวางบนถนนจะถูกปิดไว้เพื่อสกัดยานพาหนะทุกคันในช่วงเคอร์ฟิวตอนกลางคืน ยกเว้นในกรณีฉุกเฉินด้านสุขภาพและนักดับเพลิง
ชนพื้นเมืองคานักต้องทนทุกข์ทรมานจากการเลือกปฏิบัติมานานเกินไป กลุ่มนี้ยืนยันว่าตนพยายามหาทางแก้ไขโดยสันติ แต่วิพากษ์วิจารณ์แผนการ "รัฐอาณานิคม" ของฝรั่งเศสที่จะขยายสิทธิในการลงคะแนนเสียง
- 'เกาะต่างๆ ลุกเป็นไฟ' -
“แน่นอนว่าหมู่เกาะต่างๆ กำลังลุกเป็นไฟ แต่เราต้องจำไว้ว่าพวกเขาพยายามให้เสียงพวกเขาได้ยิน (ไปถึงทางการฝรั่งเศส) มาเป็นเวลานาน แต่ก็ไม่ได้ผล” ลาลูอา ซาเวอา ชาวบ้านคนหนึ่งกล่าว
“มันต้องทำให้พังพินาศเพื่อให้รัฐเห็นเรา และนักการเมืองต้องเห็นเรา” เธอกล่าว
เจ้าหน้าที่กล่าวว่ามีผู้ถูกควบคุมตัวแล้วประมาณ 230 คน ขณะที่อีกประมาณ 3,200 คนติดอยู่ในนิวแคลิโดเนียหรือไม่สามารถกลับไปยังหมู่เกาะนี้ ซึ่งอยู่ห่างจากออสเตรเลียไปทางตะวันออกมากกว่า 1,000 กิโลเมตร (800 ไมล์)
นายกรัฐมนตรี กาเบรียล แอตทาล กำลังพิจารณาที่จะขยายเวลาภาวะฉุกเฉินออกไป ซึ่งอยู่ภายใต้เคอร์ฟิวและมีการแบนการใช้งานแอป TikTok การประกาศแบบนี้หากใช้เวลาเกินกว่า 12 วันแรก จะต้องได้รับอนุมัติจากทั้งสองสภาในรัฐสภาฝรั่งเศส
เมื่อวันจันทร์ หอการค้าและอุตสาหกรรมนิวแคลิโดเนีย (CCI) กล่าวว่าปัญหาดังกล่าวก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ "หายนะ" โดยระบุว่าธุรกิจ 150 แห่งถูก "ปล้นและจุดไฟเผา"
- แบ่งแยกการปฏิรูปการเลือกตั้ง -
นิวแคลิโดเนียเป็นดินแดนของฝรั่งเศสมาตั้งแต่กลางทศวรรษปี 1800
เกือบสองศตวรรษต่อมา การเมืองของประเทศยังคงถูกครอบงำด้วยการถกเถียงว่าหมู่เกาะเหล่านี้ควรเป็นส่วนหนึ่งของฝรั่งเศส ควรปกครองตนเองใต้ฝรั่งเศสหรือเป็นอิสระไปเลย โดยมีความคิดเห็นที่แตกแยกไปตามเชื้อชาติ
ชนเผ่าพื้นเมืองคานัก ถึงแว่าจะมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 40 ของประชากร แต่มีแนวโน้มที่จะยากจนกว่ากลุ่มอื่นๆ ชาวคานักกล่าวว่ากฎระเบียบการลงคะแนนเสียงล่าสุดจะทำให้การลงคะแนนเสียงของชนพื้นเมืองลดลง
ไม่ใช่แค่ไหนในนิวแคลิโดเนียเท่านั้นที่ต่อต้านกฎหมายของรัฐบาลสาวนกลางฝรั่งเศส แต่รัฐบาลต่างๆ ในดินแดนโพ้นทะเลของฝรั่งเศสอีก 4 แห่ง ได้แก่ ลาเรอูนียงในมหาสมุทรอินเดีย กวาเดอลูป และมาร์ตินีกในทะเลแคริบเบียน และเฟรนช์เกียนาในอเมริกาใต้ เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ต่างก็เรียกร้องให้ถอนการปฏิรูปการลงคะแนนเสียง
กลุ่มเสรีภาพพลเมืองได้ท้าทายการแบน TikTok โดยมีกำหนดการพิจารณาคดีที่ศาลปกครองสูงสุดของฝรั่งเศสในกรุงปารีสในวันอังคาร ว่ากรแบนดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
Text by Agence France-Presse and The Better (Photo by AFP)