เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2567 มีผู้โดยสารเสียชีวิต 1 รายและได้รับบาดเจ็บหลายสิบคนบนเที่ยวบินของสิงคโปร์แอร์ไลน์ เที่ยวบิน SQ321 จากลอนดอนไปสิงคโปร์ ทำให้เครื่องบินต้องเปลี่ยนเส้นทางไปลงจอดที่สนามบินสุวรรณภูมิ กรุงเทพฯ จากปากคำของผู้โดยสารที่ให้สัมภาษณ์กับ CNNว่า ประมาณ 9 หรือ 10 ชั่วโมงหลังจากที่เที่ยวบินเดินทางมาจากลอนดอนเพื่อมุ่งหน้าไปยังสิงคโปร์ ผู้โดยสารเห็นสัญญาณรัดเข็มขัดนิรภัยสว่างขึ้น เขาจึงคาดเข็มขัดนิรภัยทันที ซึ่งเขาบอกกับ CNN ว่า “ขอบคุณพระเจ้าที่ผมทำแบบนั้น เพราะแค่แป๊บเดียวที่ทำแบบนั้น ความโกลาหลก็เริ่มต้นในทันที”
สิ่งที่ผู้โดยสารของเที่ยวบิน SQ321 เผชิญหลังจากนั้นคือภาวะเครื่องบินตกหลุมอากาศอย่างรุนแรง ทำให้เครื่องบินทิ้งตัวจากระดับ 37,000 ฟุต ลงมาอยู่ที่ระดับลงมาที่ 31,000 ฟุต ภายในระยะเวลา 3 นาที ผู้โดยสารรายนี้บอกกับ CNN ว่าหลังจากเครื่องตกหลุมอากาศ “เครื่องบินรู้สึกเหมือนกำลังตก อาจกินเวลาเพียงไม่กี่วินาที แต่ผมจำได้ว่าเห็นรองเท้า iPad และ iPhone หมอนอิง ผ้าห่ม มีด จาน และถ้วยที่ลอยอยู่ในอากาศและกระแทกไปที่เพดานอย่างชัดเจน”
ผู้โดยสารอีกคนบอกกับ บอกกับ Reuters ว่า “ทันใดนั้น มีการลดลงระดับลง (ของเครื่องบิน) อย่างมาก ดังนั้นทุกคนที่นั่งและไม่คาดเข็มขัดนิรภัยจึงพุ่งขึ้นไปบนเพดานทันที บางคนศีรษะโขกกับตู้เก็บสัมภาระเหนือศีรษะจนทำให้มันบุบ ชนเข้ากับบริเวณแผงแสงไฟและแผงหน้ากากแล้วก็พังทะลุเข้าไปเลย”
สถานการณ์ที่เกิดขึ้นอาจทำให้หลายคนรู้สึกถึงสถานการณ์ที่หมิ่นเหม่ที่สุดในชีวิต แต่โชคดีที่กัปตันสามารถบังคับเครื่องให้รอดพ้นจากวิกฤตการณ์ไปได้ และนำเครื่องลงจอดฉุกเฉินที่สนามบินสวรรณภูมิได้อย่างปลอดภัย
มีเหตุการณ์ไหนบ้างที่คล้ายกัน?
- เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 สายการบินแอโรฟลอต เครื่องโบอิ้ง 777 เที่ยวบิน 270 จากมอสโกไปยังกรุงเทพฯ บินเข้าสู่สภาพอากาศแปรปรวนอย่างหนัก และมีผู้โดยสาร 27 คนที่ไม่รัดเข็มขัดและได้รับบาดเจ็บ
- เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2540 มีผู้เสียชีวิต 1 ราย ที่โดยสารไปกับสายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 826 หลังจากเผชิญกับความรุนแรงจากการตกหลุมอากาศ
- เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2566 ผู้โดยสาร 11 คนที่อยู่บนเที่ยวบินของเดลต้าแอร์ไลน์จากมิลานไปยังแอตแลนต้า ได้รับบาดเจ็บจนต้องถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลหลังจากเครื่อง “ตกหลุมอากาศอย่างรุนแรง”
การตกหลุมอากาศทำให้เครื่องตกได้หรือไม่
แต่กรณีต่างๆ เหล่านี้ยังเทียบไม่ได้กับกรณีที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2509 สายการบิน BOAC เที่ยวบิน 911 จากโตเกียวไปยังฮ่องกง ซึ่งเป็นเครื่องบินโบอิ้ง 707 เผชิญกับการตกหลุมอากาศอย่างรุนแรง CAT หลังจากประสบกับคลื่นลมปั่นป่วนรุนแรงบริเวณใต้ลมภูเขาไฟฟูจิ ประเทศญี่ปุ่น
หนึ่งวันหลังจากเกิดอุบัติเหตุ มีการคาดเดากันว่าลมที่รุนแรงเหนือภูเขาไฟฟูจิเป็นสาเหตุ หนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์รายงานว่า ผู้เชี่ยวชาญด้านการบินก็มีความเห็นว่าสภาพลมรอบกรวยภูเขาไฟอาจทำให้เกิดการพังทลาย บริเวณใกล้กับยอดเขามีชื่อเสียงในเรื่องกระแสลมที่ยากลำบากในการควบคุม ความรุนแรงที่เกิดจากอากาศปั่นป่วนอาจทำให้โครงสร้างของเครื่องยนต์ตัวใดตัวหนึ่งเสียหาย และนำไปสู่เพลิงไหม้ตามมา จากนั้นเครื่องก็เสียการควบคุมและหมุนดิ่งลงพุ่งชนกับพื้นโลกในที่สุด
จากรายงานการสืบสวนสรุปว่าเครื่องบินลำดังกล่าวตกอันเป็นผลมาจากการเผชิญหน้ากับ "หลุมอากาศที่รุนแรงผิดปกติเหนือเมืองโกเท็มบะ (ขณะบินผ่านภูเขาไฟฟูจิ) ซึ่งทำให้เกิดลมกระโชกแรงมากเกินขีดจำกัดการออกแบบ (เครื่องบินจะรับไหว)"
รายงานยังย้ำถึงความเป็นไปได้ที่เครื่องบินจกตกหลุมอากาศเพราะบินผ่านภูเขาไฟฟูจิน โดยชี้ว่า "ไม่ใช่เรื่องที่ไม่สมเหตุสมผลที่จะสรุปได้ว่าในวันที่เกิดอุบัติเหตุ คลื่นลมภูเขาอันทรงพลังได้เกิดขึ้นในบริเวณปล่องภูเขาไฟฟูจิ เช่นเดียวกับในกรณีของคลื่นภูเขาที่เกิดจากสันเขาที่ทอดยาว และกระจายตัวของคลื่นลมทำให้เกิดหลุมอากาศขนาดเล็ก ซึ่งระดับความเข้มข้นของมันอาจรุนแรงหรือเลวร้ายที่สุดในระยะเวลาอันสั้น”
การตกของ BOAC เที่ยวบิน 911 มีเศษซากกระจัดกระจายกินพื้นที่บริเวณกว้างถึง 16 กิโลเมตร จากการวิเคราะห์ตำแหน่งของซากทำให้ผู้ตรวจสอบอุบัติเหตุสามารถระบุได้เครื่องบินสูญเสียการควบคุมจนหมุนเป็นวง จากนั้นจึงดิ่งลงกระแทกับพื้นดิน
แต่ว่าหลุมอากาศคืออะไรกันแน่?
ในทางอุตุนิยมวิทยา หลุมอากาศ หรือ "ความปั่นป่วนในอากาศปลอดโปร่ง" (CAT) คือการเคลื่อนที่อย่างปั่นป่วนของมวลอากาศโดยไม่มีเงื่อนงำที่ทำให้สามารถมองเห็นได้ เช่น ไม่มีเมฆที่เป็นจุดสังเกตได้ แต่เกิดขึ้นโดยมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า และเกิดขึ้นเมื่อวัตถุของอากาศเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่แตกต่างกันอย่างมากมาบรรจบกัน
บริเวณบรรยากาศที่ไวต่อ CAT มากที่สุดคือชั้นโทรโพสเฟียร์สูงที่ระดับความสูงประมาณ 7,000–12,000 เมตร หรือ 23,000–39,000 ฟุต เมื่อบรรจบกับโทรโพสเฟียร์ (ซึ่งเป็นขอบในชั้นบรรยากาศของโลกที่กั้นระหว่างชั้นโทรโพสเฟียร์และสตาร์โตสเฟียร์ มีความสูงจากพื้นโลกประมาณ 7 - 17 กิโลเมตร)
ในทางการบิน ได้ให้คำจำกัดความของหลุมอากาศ หรือ CAT ว่าเป็น "เมื่ออากาศยานสามารถการตรวจจับการกระแทกต่อเครื่องในระดับความสูงสูงโดยเกิดขึ้นเป็นหย่อมๆ โดยไม่มีเมฆมากหรือเกิดพายุฝนฟ้าคะนองในบริเวณใกล้เคียง"
เนื่องจากเป็นไปไม่ได้ที่จะตรวจจับหลุมอากาศด้วยตาเปล่า และตรวจจับได้ยากมากด้วยเรดาร์แบบธรรมดา ส่งผลให้นักบินเครื่องบินตรวจจับและหลีกเลี่ยงได้ยาก อย่างไรก็ตาม สามารถตรวจจับได้จากระยะไกลด้วยเครื่องมือที่สามารถวัดหลุมอากาศด้วยเทคนิคเชิงแสง
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเครื่องบินเคลื่อนที่เร็วมากจึงอาจพบกับการตกหลุมอากาศหรือการกระแทกเข้ากับหลุมอากาศอย่างกะทันหันอย่างกะทันหัน เนื่องจากเครื่องบินบินข้ามหลุมอากาศที่มองไม่เห็นอย่างรวดเร็วซึ่งหลุมอากาศเคลื่อนที่ในแนวตั้งด้วยความเร็วที่แตกต่างกันอย่างมาก แม้ว่ากรณีส่วนใหญ่ของการตกหลุมอากาศจะไม่เป็นอันตราย แต่ในบางกรณีซึ่งเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก ลูกเรือและผู้โดยสารบนเครื่องบินได้รับบาดเจ็บ บางครั้งถึงกับมีผู้เสียชีวิต เพราะถูกแรงเหวี่ยงโยนร่างขึ้นไปกระแทกกับวัตถุต่างๆ ในห้องโดยสาร
Photo - เครื่องบินโบอิ้ง 777-300ER ของสายการบินสิงคโปร์ แอร์ไลน์ ซึ่งเดินทางจากลอนดอนมุ่งหน้าสู่สิงคโปร์ ก่อนลงจอดฉุกเฉินในกรุงเทพฯ เนื่องจากสภาพอากาศแปรปรวนรุนแรง พบเห็นได้บนพื้นลานบินที่สนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ ในกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2567 (Photo by Lillian SUWANRUMPHA / AFP)