โลกจะกระทบไหมและสหรัฐฯ จะพังแค่ไหน? ถ้าทรัมป์ชนะแล้วใช้แผนเศรษฐกิจที่เขาหาเสียง

โลกจะกระทบไหมและสหรัฐฯ จะพังแค่ไหน? ถ้าทรัมป์ชนะแล้วใช้แผนเศรษฐกิจที่เขาหาเสียง

อดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์จากพรรครีพับลิกันเคยขนานนามตัวเองว่าเป็น "คนเก็บภาษี" (Tariff Man) ที่ต้องการเพิ่มเงินในคลังของรัฐบาล

ขณะที่เขาพยายามกลับเข้ามาทำงานทำเนียบขาวอีกครั้งในปี 2567การปรับขึ้นภาษีก็ถูกหยิบยกขึ้นมาพิจารณาในฐานะนโยบายของเขาอยู่อีกครั้ง โดยครั้งนี้มุ่งที่การเก็บภาษีนำเข้าทั้งหมดของสหรัฐฯ 

แต่นักวิเคราะห์ประเมินว่า การจัดเก็บภาษีใหม่อาจทำให้ต้นทุนผู้บริโภคเพิ่มขึ้นประมาณ 500,000 ล้านดอลลาร์ต่อปี ในขณะที่ข้อเสนออื่นๆ เช่น การขยายเวลาลดภาษี อาจทำให้การขาดดุลของประเทศเพิ่มขึ้นอีก

นโยบายเศรษฐกิจที่สำคัญของทรัมป์และผลที่ตามมาคืออะไร?

- ข้อเสนอของเขาคืออะไร? -
ทรัมป์สนับสนุนให้เก็บภาษีนำเข้าอย่างน้อย 10% จากคู่ค้าทุกราย โดยเรียกการทำแบบนี้ว่าเป็น "วงแหวนล้อมรอบประเทศ" (a ring around the country)

แผนการนี้นี้จะทำให้มีต้นทุนภาษีมูลค่าถึง 3,000 ล้านดอลลาร์สำหรับสินค้าที่อยู่ในกลุ่มต้องนำเข้าในปี 2566

สำหรับสินค้าจีน ทรัมป์เพิ่มภาษีขึ้นมาถึง 60% ขึ้นไป โดยเตือนเมื่อเดือนที่แล้วว่า “คุณ (จีน) ทำเราเสียหาย แล้วเราจะทำคุณเสียหายบ้าง”

รายได้จากภาษีจะช่วยชดเชยการขยายเวลาการลดหย่อนภาษีที่ได้รับอนุมัติในปี 2560 ภายใต้กฎหมายการลดหย่อนภาษีและการจ้างงาน (TCJA) ที่ผลักดันรัฐบาลสมัยที่แล้วของเขา โดยข้อกำหนดบางประการจะหมดอายุหลังปี 2568

แม้ว่าการกระทำดังกล่าวจะช่วยลดภาษีเงินได้สำหรับชาวอเมริกันจำนวนมาก แต่แนวทางนี้ยังถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นประโยชน์ต่อคนร่ำรวยมากกว่า

ในการหาเสียงในเดือนนี้ ทรัมป์ให้คำมั่นว่าจะมีการ "ลดภาษีครั้งใหญ่ให้กับชนชั้นกลาง ชนชั้นสูง ชั้นล่าง ชั้นธุรกิจ "

เขาให้คำมั่นว่าจะยกเลิกการอุดหนุนรถยนต์ไฟฟ้าของประธานาธิบดีโจ ไบเดน เช่นกัน นอกเหนือไปจากการเคลื่อนไหวอื่นๆ

- ผลกระทบต่อผู้บริโภคคืออะไร? -
รายงานจากสถาบันปีเตอร์สันเพื่อเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ (PIIE) ในสัปดาห์นี้ระบุว่า การเก็บภาษีศุลกากร 10% และภาษีอื่นๆ ที่เรียกเก็บจากจีนจะทำให้ครัวเรือนอเมริกันโดยเฉลี่ยต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1,700 ดอลลาร์ต่อปี

“ตัวเลขดังกล่าวจะสูงกว่าเกือบ 5 เท่าเทียบกับอัตราการขึ้นภาษีของทรัมป์จนถึงปลายปี  2562 ส่งผลให้ผู้บริโภคต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากช่องทางนี้อย่างน้อยประมาณ 500,000 ล้านดอลลาร์ต่อปี” คำกล่าวระบุ

ต้นทุนผู้บริโภคใหม่เหล่านี้คิดเป็นอย่างน้อย 1.8% ของ GDP จากการประเมินของ PIIE ซึ่งเป็นสถาบันที่ไม่ได้อิงกับการเมืองฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในกรุงวอชิงตัน และยังระบุถึงผลกระทบด้านลบที่อาจเกิดขึ้นจากการตอบโต้จากต่างประเทศและการสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน

- ผลกระทบทางการเงินคืออะไร? -
การขยายการลดหย่อนภาษีของทรัมป์ออกไปในทศวรรษหน้าจะเพิ่มการขาดดุล 4.6 ล้านล้านดอลลาร์ ตามรายงานในเดือนนี้โดยสำนักงานงบประมาณรัฐสภา (CBO) ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐบาลกลางที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด

ประมาณการต้นทุนก่อนหน้านี้ของ CBO สำหรับการขยายเวลาลดหย่อนภาษีอยู่ที่ 3.5 ล้านล้านดอลลาร์จนถึงปี 2576

นั่นหมายความว่าผู้กำหนดนโยบายอาจต้องค้นหาวิธีชดเชยการขาดดุล เช่น การลดการใช้จ่าย

สงครามการค้าที่เกิดขึ้นใหม่จะ "(สร้างผลกระทบ) มากกว่าที่จะช่วยชดเชยผลประโยชน์จากภาษีที่ลดลง" สถาบัน Oxford Economics กล่าวในการวิเคราะห์เมื่อเดือนเมษายน

- กลุ่มต่างๆ ได้รับผลกระทบอย่างไร? -
ข้อเสนอของทรัมป์โยกย้ายภาระทางภาษีนั้นเป็นการ “โยภาระ (ภาษี) จากคนมีฐานะดีและไปสู่สมาชิกที่มีรายได้น้อยของสังคม” คิมเบอร์ลี คลอซิง สมาชิกอาวุโสของ PIIE และแมรี เลิฟลี ผู้เขียนรายงานของ  PIIE กล่าว

PIIE ประมาณการว่า การขยายบทบัญญัติของ TCJA อย่างเต็มรูปแบบจะ "ส่งผลให้ประมาณ 1% ของ GDP หายไปอันเป็นผลจากการลดภาษี แต่จะผลประโยชน์อย่างไม่ยุติธรรมส่วนกับส่วนบนสุดของการกระจายรายได้ (หมายถึงกลุ่มคนมีรายได้สูงจะได้รับลประโยชน์)"

ภาษีศุลกากรยังทำหน้าที่เป็นภาษีการบริโภคด้วย และครัวเรือนที่มีรายได้น้อยก็แบกรับส่วนแบ่ง (ของภาษี) ในรายได้มากขึ้น ในขณะที่ครัวเรือนที่ร่ำรวยกว่าก็สามารถประหยัดเงินได้มากขึ้น

“ตามนโยบายการคลัง วาระการประชุมของทรัมป์ถือเป็นการลดภาษีแบบถดถอย ซึ่งจ่ายเพียงบางส่วนจากการเพิ่มภาษีแบบถดถอย” รายงานของ PIIE กล่าว

ผู้บริโภคอาจประสบกับอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นมากถึง 0.6%  หากพรรครีพับลิกันลดภาษีและภาษีศุลกากรเป็นสองเท่า และยกเลิกบทบัญญัติด้านพลังงานสะอาดของกฎหมายลดเงินเฟ้อที่สำคัญของไบเดน

คณะกรรมาธิการการค้าระหว่างประเทศระบุว่าภาระของภาษีศุลกากรของทรัมป์ก่อนหน้านี้เกือบทั้งหมดตกเป็นภาระของผู้นำเข้าของสหรัฐฯ

- มีความเสี่ยงภายนอกหรือไม่? -
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าการปรับขึ้นภาษีในวงกว้างมีความเสี่ยงที่จะถูกตอบโต้และเกิดความไม่ไว้วางใจจากคู่ค้าของสหรัฐฯ

พันธมิตรเหล่านั้นอาจตอบโต้ด้วยอัตราภาษีศุลกากรที่มีขนาดใกล้เคียงกัน แม้ว่าจีนซึ่งสอดคล้องกับแนวทางในอดีตอาจตอบโต้ด้วย "วิธีที่รุนแรงน้อยกว่า" สถาบัน Oxford Economics กล่าว

เมื่อพิจาณณารวมกันแล้ว เรื่องนี้จะยังคงมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการค้าและ GDP ของสหรัฐอเมริกา

ต้นทุนการนำเข้าที่สูงขึ้นมีแนวโน้มที่จะกระทบต่อรายได้และการบริโภค ในขณะที่ภาษีตอบโต้จากประเทศคู่ค้าจะทำให้อุตสาหกรรมของสหรัฐฯ สามารถแข่งขันได้น้อยลง Oxford Economics กล่าวเสริม

“ในช่วงเวลาที่ความขัดแย้งระหว่างประเทศมีมากมายและปัญหาการดำเนินการร่วมกันระหว่างประเทศมีมากมาย สหรัฐฯ ไม่สาอาจทำให้พันธมิตรและหุ้นส่วนของตนรู้สึกว่ากำลังถูกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมได้” รายงานของ PIIE ระบุ

“กล่าวโดยสรุป นโยบายที่นำเสนอ มาพร้อมกับความเสี่ยงด้านความมั่นคงของชาติอย่างร้ายแรง”

Text by Agence France-Presse
Photo by Curtis Means / POOL / AFP

TAGS: #ทรัมป์ #สหรัฐฯ