จีนจะเป็นอย่างไรหาก Apple ถอนฐานผลิตสำคัญไปอินเดีย

จีนจะเป็นอย่างไรหาก Apple ถอนฐานผลิตสำคัญไปอินเดีย
จีน vs.อินเดีย ท่ามกลางสมรภูมิเทค ‘ซัพพลายเออร์' Apple ทยอยย้ายฐานทิ้งแดนมังกร

แม้จีนจะเปิดประเทศพร้อมผ่อนคลายนโยบายโควิดซีโร่ ให้ชาวต่างชาติและชาวจีนสามารถเดินทางเข้าออกประเทศได้ แต่ยังยกเว้นวีซ่าท่องเที่ยวทั้งยังไม่อาจเดินทางเข้าจีนได้ แต่ก็ไม่ได้ทำให้แผนการที่บรรดาเอกชนต่างชาติหลายบริษัทค่อย ๆ ถอยห่างจากจีนเปลี่ยนแปลงไป ปัจจัยด้านความตึงเครียดด้านการค้า การเมือง และเทคโนโลยีระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกา ทำให้บรรดาเอกชนอเมริกันและบริษัทจากชาติพันธมิตรสหรัฐฯ ทยอยหาลู่ทางย้ายออกจากจีนเรื่อย เนื่องจากความไม่แน่นอนในหลายปัจจัยทางด้านการทำธุรกิจ 

ย้อนไปช่วงต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ทิม คุก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Apple ไปเยือนสภาคองเกรสสหรัฐ เพื่อพูดคุยตอบข้อซักถามต่อคณะกรรมาธิการของสภา มีช่วงหนึ่งที่ผู้สื่อข่าวถามซีอีโอแอปเปิ้ลว่า เขาคิดอย่างไรกับกรณีคนงานโรงงาน Foxconn ซัพพลายเออร์รายใหญ่ของแอปเปิ้ล ถูกทุบตีและควบคุมตัวจากการประท้วงล็อกดาวโควิดซีโร่ ...และคิดว่ามันจะเป็นปัญหาในการทำธุรกิจกับพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่" 

คลิปวิดีโอนี้บรรดาเคเบิ้ลหลายเจ้าในสหรัฐนำไปตีข่าวกันอย่างแพร่หลาย สื่อบางเจ้าบอกว่านี่หนึ่งในวันที่แย่ของทิม คุก ขณะที่บางสื่อก็บอกว่า "เป็น 45 วินาทีที่แย่ที่สุดของคุก ในฐานะซีอีโอแอปเปิ้ล" 

นี่ถือเป็นหนึ่งในแรงกดดันทางการเมืองที่ Apple กำลังเผชิญอยู่อย่างชัดเจน โดยภายหลังเหตุประท้วง แอปเปิ้ลยอมรับว่ากรณีความไม่สงบจากโควิดซีโร่ของจีน อาจก่อให้เกิดการหยุดชะงักงั้นของห่วงโซ่อุปทานครั้งสำคัญ ช่วงวันหยุดเทศกาลคริสต์มาสต่อเนื่องถึงปีใหม่ แม้แอปเปิ้ลสามารถส่งมอบ iPhone รุ่นใหมได้ราว 78 ล้านเครื่อง แต่ก็ยังมีรายงานว่าบางภูมิภาค iPhone ยังขาดตลาดไม่น้อยกว่า 6 ล้านเครื่อง โดยเฉพาะ iPhone 14 Promax ความเสี่ยงในระยะสั้นนี้ สะท้อนให้แอปเปิ้ลในฐานะแบรนด์ที่มีมูลค่ามากที่สุดข พบว่าตัวเองอยู่กลางวงความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่กำลังรุนแรงมากขึ้นระหว่างสองมหาอำนาจ

ซัพพลายเออร์ทยอยหนี - แบรนด์เจ้าตลาดโต

ถึงแม้จีนจะยอมยกเลิกนโยบายโควิดเป็นศูนย์แบบกะทันหันเมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว ภายหลังจากประชาชนลุกฮือประท้วงต่อต้านการล็อกดาวน์ทั่วประเทศ ก็ดูเหมือนไม่ได้สร้างความมั่นใจให้นักลงทุนเท่าใดนัก ที่ผ่านมาความตึงเครียดทางการค้า การเมือง รวมทั้งนโยบายโควิดเป็นศูนย์ของจีน เป็นปัจจัยใหญ่ที่ผลักดันให้บริษัทอเมริกันและบริษัทของประเทศอื่น ๆ ที่เป็นพันธมิตรของสหรัฐ โดยเฉพาะบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ ทยอยย้ายฐานการผลิตออกจากจีนหรือลดสัดส่วนลง เนื่องจากหลายปัจจัยที่สร้างความไม่แน่นอนให้กับธุรกิจมากขึ้นเรื่อยๆ

ก่อนหน้านี้ บริษัทซัพพลายเออร์รายสำคัญของแอปเปิ้ลสัญชาติไต้หวันประเทศหอกข้างแค่จีนอย่าง Foxconn, Pegatron Corporation  และ Wistron Corporation ต่างก็เริ่มไปตั้งโรงงานในอินเดีย เหตุผลนอกจากเรื่องห่วงโซ่อุปทานและต้นทุนการผลิตแล้ว หลายบริษัทเทคโนโลยีหวั่นเกรงเรื่องการถูกจีนก๊อปปี้เทคโนโลยีไปใช้ในอุตสาหกรรมแบรนด์ของตนเอง

แม้แต่ Samsung ยักษ์ใหญ่อิเล็กทรอนิกส์จากเกาหลีใต้ ก็ยังปิดโรงงานในจีนหลังสัดส่วนแบ่งตลาดมือถือซัมซุงในจีนลดลงน้อยกว่า 1% จากเดิมที่ซัมซุงเคยครองตลาดมือถือในจีนกว่า 20% ในปี 2013 เนื่องจากการเติบโตอย่างพุ่งกระฉูดของแบรนด์ท้องถิ่นอย่าง Huawei, Xiaomi และ Oppo ปัจจุบันโทรศัพท์มือถือมากกว่า 3 ใน 4 ผลิตใน 6 ประเทศทั่วโลก ตั้งแต่อาร์เจนตินา ถึงเวียดนาม และน้อยกว่า 1 ใน 4 ที่ซัมซุงว่าจ้าง OEM ในจีนผลิตส่วนประกอบบางชิ้นที่ไม่ได้มีความสำคัญมากนัก 

กรณีตัวอย่างของซัมซุง ประกอบกับความไม่แน่นอนด้านปัจจัยการเมืองและห่วงโซ่อุปทาน ทำให้ผู้ผลิต iPhone แสดงความชัดเจนในการ 'หันเห' ออกจากจีนมากขึ้นไปยังปลายทางใหม่ที่กำลังถูกจับตามองถือ 'อินเดีย'

ภารตะมาแรง 

มีรายงานข่าวจากบลูมเบิร์กที่น่าสนใจที่ว่า ระหว่างเดือนเมษายน-ธันวาคม 2022 แอปเปิ้ล ส่งออก iPhone ไปตลาดอินเดียมูลค่าถึง 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ มากเป็นเกือบเท่าตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า นั่นสะท้อนสัญญาณสำคัญหลายประการของตลาดอินเดียที่กำลังซื้อเพิ่ม อุปสงค์ในหลายตลาดกำลังโต อินเดียกำลังอยู่ในช่วงเวลาปัจจัยหลายประการเอื้อต่อการทำธุรกิจอย่างมาก ทั้งในแง่ทักษะแรงงาน ค่าแรงขั้นต่ำ ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์การเมืองที่เป็นประชาธิปไตย และคาดเดาหลายอย่างได้มากกว่ารัฐบาลจีนคอมมิวนิสต์ 

Apple เริ่มผลิตมือถือในอินเดียเมื่อ 2017 ในรุ่น iPhone SE รุ่นแรกต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันที่เป็นรุ่นที่ 3 หลังจากนั้นในปี 2020 Apple ส่งสัญญาณเพิ่มไลน์การผลิตในรุ่นสำคัญอื่นในอินเดียมากขึ้น หลังรัฐบาลอินเดียออกโครงการหนุนการลงทุนในประเทศ หรือ Production Linked Incentive Scheme (PLI) สำหรับดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ชาวต่างชาติให้มาตั้งฐานผลิตในอินเดีย 

นักวิเคราะห์หลายฝ่ายมองว่า โครงการนี้นับว่า 'ถูกที่ ถูกเวลา' ซึ่งจะยิ่งช่วยให้อินเดียผงาดขึ้นเป็นแหล่งผลิตและส่งออกโทรศัพท์มือถือระดับโลก โดยอินเดียยังคาดหวังต่อยอดให้เป็นแหล่งผลิตคอมพิวเตอร์แมคบุ๊กและไอแพดในอนาคต

ขณะเดียวกัน เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา มีรายงานข่าวจากสำนักงานสถิติแห่งชาติจีนที่ระบุว่า จำนวนประชากรรวมทั้งประเทศลดลงสูงสุดในรอบ 60 ปี โดยจีนมีประชากรราว 1.4 พันล้านคน แต่มีอัตราเกิดต่ำและอัตราตายสูงสุดตั้งแต่ปี 1976 อัตราการเกิดใหม่ติดลบ 0.6 ต่อประชากร 1,000 คน โดยปี 2022 ที่ผ่านมาอัตราประชากรเกิดใหม่อยู่ที่ราว 9.5 ล้านคน เมื่อเทียบกับ จำนวนการเสียชีวิตของประชากรในปีที่ผ่านมาราว 10 ล้านคน 

ตรงข้ามกับอินเดีย ที่มีรายงานข่าว The Economics เช่นกันว่า อินเดียอาจมีประชากรแซงหน้าจีนภายในปี 2023 ในจำนวนนี้เป็นประชากรอายุน้อยและยังอยู่ในวัยทำงานเกินกว่า 50% หรือมีแรงงานที่อายุน้อยกว่า 30 ปี มากกว่า 900 ล้านคน ทำให้อินเดียได้เปรียบกว่าจีนอย่างมาในแง่จำนวนประชากร และแรงงานที่สามารถขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจในอนาคตได้
 
ห้วงเวลาที่จีนมีอัตราการเกิดของจีนถดถอย จนมีประชากรลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 60 ปี จึงไม่แปลกที่หากแอปเปิ้ลจะให้ความสนใจย้ายฐานการผลิตสำคัญมายังจีน ตามปัจจัยด้านการลงทุน ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างองค์กร ที่สำคัญค่าจ้างขั้นต่ำของแรงงานทักษะสูงในอินเดียโดยเฉลี่ยยังถูกกว่าจีน 

คำถามที่ว่า จีนจะเป็นอย่างไรหาก Apple ย้ายฐานผลิตสำคัญไปยังอินเดีย ในขณะนี้ เชื่อว่าจีนจะใช้จังหวะที่บริษัทเทคโนโลยีใหญ่ยังอยู่ในประเทศ ‘เรียนรู้’ และ ‘แลกเปลี่ยน’ เทคโนโลยีให้ได้มากที่สุด เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมแบรนด์ท้องถิ่นไปพร้อม ๆ กับการสร้างห่วงโซ่อุปทานสีแดง ทั้งนี้ ขณะนี้ผู้เชี่ยวชาญบางคนเชื่อว่าเป็นเรื่องยากมากที่แอปเปิ้ลจะใช้ประเทศอื่นนอกจากจีน ในห่วงโซ่การผลิตหลัก บางทีแอปเปิ้ลอาจไม่มีทางเลือกที่แท้จริงนอกจากต้องรักษาการผลิตส่วนใหญ่ไว้และต้องแบกรับ (หรือบาลานซ์) ความเสี่ยงของต้นทุนทางเศรษฐกิจและการเมืองในจีนต่อไป 

อย่างไรก็ตาม การย้ายออกจากจีนอาจไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะนับตั้งแต่แอปเปิ้ลเริ่มทำตลาดและขยายโรงงานในจีนตั้งแต่ปี 2009 ปัจจุบันการผลิตอุปกรณ์หลากชนิดไม่น้อยกว่า 90% ยังคง Made in China จึงอาจใช้เวลาอีกเกือบ 10 ปีในการโยกย้ายการผลิตไปอินเดียให้ได้สัก 10% แต่ไม่ว่าจะอย่างไร เมื่อเทียบกับบรรดาประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ในกลุ่ม G20 นับว่าอินเดียยังมีโอกาสโตได้อีกหลายทศวรรษ ทั้งยังเป็นประเทศที่เศรษฐกิจเติบโตเร็วที่สุดชาติหนึ่งของโลก
 

TAGS: #แอปเปิ้ล #apple #อินเดีย #จีน #ประชากร