'เพื่อนบ้านสี่นาฬิกา' ชอบลอกไทย แต่ทำไมเกลียด'หลานม่า'

'เพื่อนบ้านสี่นาฬิกา' ชอบลอกไทย แต่ทำไมเกลียด'หลานม่า'

ผมนั่งอ่านความเห็นของคนเขมรที่เถียงกันเอง ด่ากันเอง เรื่องที่ไปดูภาพยนต์เรื่อง 'หลานม่า' ที่เข้าฉายในกัมพูชาจนเต็มโรง ทำรายขได้ไปไม่น้อยเลย

เขาด่ากันว่าพวกที่ไปดูหนังไทย คือพวกไม่รักชาติ ทำไม่ไม่ร่วมใจกันคว่ำบาตรหนังไทย เพราะไทยคว่ำบาตรหนังของเรา

"หนังของเรา" ที่คนเขมรอ้างนั้น คือเรื่อง "แม่ณุน" ซึ่งคนไทยเขาด่ากันทั้งบ้านทั้งเมือง ว่าลอกหนังเรื่อง "นางนาก" เมื่อปีพ.ศ. 2542 กำกับโดยนนทรีย์ นิมิบุตร มาหลายช็อต 

ลอกหนังไทยยังไม่ว่า ยังมีหน้ามาฉายในไทยอีก แบบนี้เท่ากับคิดว่าคนไทยโง่งั้นหรือ? 

คนเขมรคิดว่าคนไทยต่อต้านหนังเขมรเพราะเกลียดเขมร ไม่ใช่เลย คนไทยไม่ได้เกลียดเขมรและกัมพูชา "แต่เกลียดความดื้อด้านของเขมร" และเกลียดที่เขมร "อ้างวัฒนธรรมไทยเอาไปเป็นของตัว"

คนเขมรบอกว่าเราไม่ทำใครก่อน แต่พวกไทยทำเราก่อน เราเลยต้องตอบโต้ 

ประทานโทษเถอะครับ ไทยนี่คนละระดับกัมพูชาในแง่การพัฒนา ดังนั้นไม่เสียเวลามาเทียบกันหรอก เพราะเป้าของเราอยู่ที่ประเทศพัฒนาแล้ว ในระดับ OECD ดังที่รัฐบาลพยายามจะเป็นสมาชิกอยู่

ถึงจะอยู่คนละระดับ แต่ไทยก็ไม่ได้ดูแคลนแถมยังช่วยเหลือมากมาย ทั้งช่วยด้วยเงินทั้งช่วยชีวิต 

แต่เขมรบางคนนั้นเหมือนงูเห่า ช่วยแล้วก็แว้งกัดเอา เช่น กรณีถอดมวยไทยเอามวยเขมรเข้ามาแข่งในซีเกมส์ที่ตัวเองเป็นเจ้าภาพ ไทยก็พอจะรับได้หรอกครับ แต่พอยอมเข้าหน่อยก็ทำยโสโอหังถึงขั้นบอกว่า "มวยเขมรคือพ่อมวยไทย"

แบบนี้จะให้ไทยใจดีอยู่อีกหรือ? "คนไทยนี้รักสงบ" มันก็ต้อง "รบไม่ขลาด" กันไปข้าง

ผมรู้จักคนไทยดี ไม่ใช่เพราะตัวเองเป็นคนไทย แต่สังเกตนิสัยคนไทยเพื่อบอกให้คนต่างชาติได้รู้และเข้าใจ (ในฐานะที่พบกับคนต่างชาติบ่อย) จึงพบว่าคนไทยนั้นยอมคนง่าย 

แต่ถ้ายอมแล้ว ยังไม่เลิกรา ก็เตรียมตัวเสียเลือดได้เลย เพราะคนไทยโมโหร้าย 

ตอนนี้จึงโมโหมาถึงรัฐบาลด้วยที่ปล่อยให้เขมรลอกวัฒนธรรมของเขาไม่หยุด 

'วัฒนธรรม' ที่ผมพูดถึง ไม่ใช่วัฒนธรรมยุคพ่อขุน แต่หมายถึง Thai Pop Culture หรือ T-POP ที่เป็นของร่วมสมัย

T-POP ไม่ได้หมายถึงวงไอดอลเท่านั้น แต่หมายถึงความบันเทิงที่พัฒนาขึ้นมาจาก 'สุนทรียะแบบไทยร่วมสมัย' อาจจะต่อยอดจากของโบราณแล้วทำให้โมเดิร์น หรืออาจเป็นของใหม่ถอดด้ามแต่มีกลิ่นอายของ 'ความเป็นไทย'

เช่นชุดไทยสมัยใหม่ แม้จะเป็นมรดกจากยุคก่อนๆ แต่มันได้ถูกดีไซน์ใหม่แล้วโดยรสนิยมคนไทยสมัยใหม่ ดังนั้น มันจึงเป็นของใหม่ ไม่ใช่วัฒนธรรมร่วม แถมยังเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของเราด้วย

T-POP คือผลผลิตจากมันสมองของคนไทย เหมือนกับที่เกาหลีใต้ทุ่มทุนมหาศาลเพื่อสร้าง K-POP 

ในขณะที่รัฐบาลต้องการจะโหน Soft power เสียเหลือเกิน แต่กลับทำเป็นทองไม่รู้ร้อนกับพวกที่ขโมย T-POP แล้วอ้างว่า "ข้าคือต้นฉบับ" 

'นางนาก'  คือผู้บุกเบิก T-POP เลยก็ว่าได้ เพราะตอนนั้นทำให้เอเชียตระหนักในความยิ่งใหญ่ของหนังไทย โดยเฉพาะในกลุ่มหนังผี ที่ต่อมาไทยเป็น 'ราชาหนังผี' ของเอเชีย

'หลานม่า' ก็เป็น T-POP อย่างหนึ่ง ซึ่งทำให้มันก้าวไปอีกระดับหนึ่งด้วยการทำลายสถิติเข้าฉายทุกประเทศในกลุ่มอาเซียน

ทุกประเทศไม่มีปัญหา พอเข้าฉายที่ประเทศ 'เพื่อนบ้านสี่นาฬิกา' (คือกัมพูชานั่นเอง) มีปัญหาทันที 

แม้จะทำเงินได้และรอบเต็มตลอด แต่พวกชาตินิยมพิกลพิการในเขมรหาเรื่องในทันที ด่าทั้งไทยและคนเขมรด้วยกันที่ไปดูหนังไทย 

พร้อมบอกว่า "พวกนั้นแบนหนังเราก่อน เราต้องแก้แค้น"

ก็อย่างที่บอกละครับ ไทยเราแบนหนังเขาจริง แต่เขมรควรจะทราบว่าหนังของพวกเขานั้นลอกไทย 

หนังที่ลอก T-POP แล้วเอามาทำแบบชุ่ยๆ แล้วเอามาฉายให้ต้นฉบับดู มันคือการดูถูกอย่างหนึ่ง

นี่ยังไม่นับละครเขมร เพลงเขมร (ที่ลอกเพลงไทยทั้งดุ้น) อีกมาที่ลอกสุนทรียะ T-POP ของไทยแบบเต็มๆ ซึ่งได้เรื่องลอกนี่ผมยังผมให้อภัยได้ อย่างที่บอกว่าคนไทยยอมง่าย 

แต่ที่คนไทยหมดความอดทนก็คือ ลอกไทยไปแล้ว ยังมีมีหน้ามาบอกว่า "ไทยลอกเรา เราคือต้นฉบับที่แท้ทรู" 

มันมีอย่างหรือครับ ประเทศที่พัฒนาสูงในด้านวัฒนธรรม Pop จนโด่งดังไปทั่วโลกแล้ว จะมาลอกด้อยประเทศที่พัฒนาที่สุดในเรื่องวัฒนธรรม Pop

ความบ้าบอแบบนี้เองที่ทำให้คนไทยไม่ปราณีต่อเขมร และด่ากราดไปถึงโคตรเหง้าและด่าไปถึงคุณภาพชีวิตที่ยากจน

การด่าแบบนี้ผมไม่สนับสนุนเลย เป็นทำตัวเราให้ต่ำ และด้อยค่าความเป็นมนุษย์ 

แต่เนื่องจากการใช้เหตุผลกับคนเขมรนั้นเป็นเรื่องยาก ผมจึงแนะนำไปในบทความก่อนๆ ว่า ไม่ควรจะไปใช้ค่า เพราะเสียเวลาทำมาหากินของเรา แต่ทำให้พวกนั้นมี 'แสง' ในเวทีโลกโดยไม่จำเป็น

หากจะตอบโต้พวกนี้ ผมแนะว่าให้ทำสื่อภาษาอังกฤษ เพื่อให้ความรู้พวกนั้นไป แล้วยังช่วยให้คนชาติอื่นเข้าใจด้วยว่าอะไรเป็นอะไร

มาถึงตอนนี้ถึงเวลาที่จะต้องอธิบายแล้วว่า 'พวกนั้น' คือใคร

แม้ว่า 'พวกนั้น' จะเป็นเขมร แต่ในหมู่คนเขมรก็มีทั้งคนที่มีสติปัญญาและเหตุผล มีทั้งคนที่ไม่รู้เรื่องความขัดแย้งอะไรเพราะวันๆ ต้องทำมาหากิน และมีทั้งคนที่เข้าใจหัวใจคนไทยและคนเขมรด้วยกัน

'พวกนั้น' คือจุดต่ำสุดของสิ่งมีชีวิตโซเซียล ซึ่งไม่สามารถใช้เหตุผลในการประมวลผลได้ แม้ว่าคนไทยจะอธิบายดีๆ อย่างไร แต่คนเหล่านี้ "มีความรู้นะครับ"

ผมสังเกตว่าพวกที่มีเวลาเคลมโน่นเคลมนี่ และต่อล้อต่อเถียงกับไทย ส่วนใหญ่เป็นพวกพอจะมีเงินบ้าง มีการศึกษาดี และมักจะเป็นพวกชั้นกลาง 

คนพวกนี้กำลังต้องการสร้างตัวตนของตัวเองและของประเทศตัวเอง แต่ไม่ได้สนใจวิธีการที่สากลโลกเขาใช้กันเลย 

คนพวกนี้จึงมีเวลาในการเล่นเน็ต แต่ไม่มีเวลาค้นหาความรู้เรื่องรากเหง้าตัวเองและประวัติที่แท้จริงของตัวเอง (ที่ไม่ใช่พวก ฮุน เซน มโนขึ้นมาใหม่) และไม่รู้หลักสากลของไม่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา

ผมเรียกสังคมของคนพวกนี้ว่า สังคมที่ไร้อารยะความเป็นพลเมืองโลก หรือไร้  Civility 

ความเป็น Civility นั้นเรียนรู้กันได้ ถ้าคิดจะเรียน ผมจะยกตัวอย่างคนไทย แต่ก่อนคนไทยทิ้งขยะไม่เป็นที่เป็นทาง จนบ้านเมืองแม่น้ำลำคลองเหมือนบ่อขยะ แต่ตอนนี้บ้านเมืองเราสะอาดขึ้นมาก แม้จะไม่ไร้ขยะไปเสียทีเดียว แต่ก็ไม่เหมือนบ่อขยะอีกต่อไป

แต่ก่อนคนไทยเข้าคิวไม่เป็น ลัดคิวกันหน้าตาเฉย แต่ตอนนี้คนไทยมีชื่อเสียงทั่วโลกเรื่องเข้าแถวโดยไม่มีการลัด และยังตำหนิคนที่ละเมิดระเบียบนี้ด้วย เป็นต้น

ในจีนเอง แต่ก่อนลัดคิวเป็นปกติ ห้องน้ำก็สกปรกเหลือเกิน หลายเรื่องไร้มารยาทการปฏิบัติอย่างสากล นั่นเป็นเรื่องเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ตอนนี้นะครับ คนจีนมี Civility กันทั่วไป แม้จะไม่ทุกคน แต่เปลี่ยนแแบบหน้ามือเป็นหลังมือเลย

ดังนั้น ความเป็นอารยชนมันสอนกันได้ ขึ้นอยู่กับคนเขมรจะเรียนรู้ไหม เพราะมัวแต่ลอก T-POP แต่ไม่ลอกความเป็นอารยะสากลจากคนไทย 

น่าเสียดายนะครับ ไม่ใช่น่าเหยียดหยาม 

ทั้งๆ ที่คนชั้นกลางพอจะมีเงินเติมเน็ตนี่แหละที่เรียนเรื่องพวกนี้ได้ดีกว่าคนชั้นอื่น ซึ่งมันเกิดขึ้นในไทยเพราะชนชั้นกลางเหมือนกัน

'พวกนั้น' คิดว่ากำลังรักชาติด้วยการ 'วอร์' กับไทย ซึ่งมันก็ได้แค่ด่ากันในโซเชียลแหละครับ ไม่น่าภูมิใจเลยสักนิด 

เอาจริงๆ คนไทยจำนวนมากเขาไม่เสียเวลามาคลุกคลีเรื่องไม่เป็นเรื่องหรอก เพราะพลังของไทยคือการขับเคลื่อน T-POP ต่อไปเรื่อยๆ ให้เป็นซอฟต์พาวเวอร์ที่มั่นคง

ปรากฏการณ์ 'หลานม่า' ก็ชัดดีอยู่ว่า ในเมืองเขมรนั้นมีทั้งพวกขวางโลก กับพวกที่เชื่อว่าตัวเองกำลังแบกประเทศไว้บนบ่า กับคนเขมรที่จิตใจปกติ ทำตัวเป็นพลเมืองโลกจริงๆ และมองไม่เห็นพรมแดนในวัฒนธรรม Pop

คำถามก็คือ คนไทยควรจะให้ค่าประชากรจำพวกไหนของเพื่อนบ้านสี่นาฬิกากันดี? ระหว่างพวกที่คนว่าตัวเองเป็นเจ้าโลก

กับคนดีๆ ที่รู้จักชื่นชมความงดงามของวัฒนธรรม  Pop โดยไม่คิดเป็นอื่น

บทความทัศนะโดย กรกิจ ดิษฐาน ผู้ช่วยบรรณาธิการ และบรรณาธิการข่าวต่างประเทศ The Better 

Photo - ภาพจากภาพยนต์ 'หลานม่า' โดย GDH

TAGS: #หลานม่า #เขมร