ฟัตเม อิบรียาโนวา วัย 36 ปี จะเดินทางจากอังกฤษไปยังตุรกีในเดือนหน้า ไม่ใช่เพื่อวันหยุด แต่เพื่อนัดหมายแพทย์เกี่ยวกับการผ่าตัด หลังจากที่เธอต้องดิ้นรนเพื่อรับบริการสุขภาพของรัฐในสหราชอาณาจักรที่กำลัง "พัง"
บริการสาธารณสุขแห่งชาติ หรือ NHS ก่อตั้งขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อให้การรักษาพยาบาลฟรีแก่ทุกคน ปัจจุบัน เป็นเพียงเงาสะท้อนขององค์กรที่ในอดีตเคยมีประสิทธิภาพ แต่ปัจจุบันมันอ่อนแอลงจากการขาดแคลนเงินทุนเป็นเวลาหลายปีและการแพร่ระบาดของโควิด-19
การนัดพบแพทย์หรือทันตแพทย์มักเป็นอุปสรรค ห้องฉุกเฉินมักจะมีคนล้นหลาม และเวลาในการรอการรักษาในโรงพยาบาลก็พุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์
แต่ NHS ยังคงเป็นที่รักของชาวอังกฤษ และความเลวร้ายที่เกิดขึ้นกับสถาบันแห่งนี้เป็นหนึ่งในข้อกังวลหลักของพวกเขา และจะเป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกตั้งทั่วไปของประเทศในวันที่ 4 กรกฎาคม
อิบรียาโนวา เพิ่งไปพบแพทย์ประจำท้องถิ่นของเธอในเมืองเชล์มสฟอร์ด (Chelmsford) ซึ่งเป็นเมืองทางผ่านที่นะลอนดอน ตั้งอยู่ในแคว้นเอกเซกซ์ ทางตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ เนื่องมาจากการติดเชื้อในหูที่ทำให้เธอเจ็บปวดอย่างรุนแรงมานานหลายเดือน
อาการนี้ทำให้เธอต้องหยุดทำงาน และเธอต้องได้รับการผ่าตัดโดยเร็ว
แต่ทว่า “ฉันอยู่ในรายชื่อผู้รอ ฉันต้องรอสามหรือสี่เดือน นานมาก” เธอบอกกับสำนักข่าว AFP
เธอจึงตัดสินใจไปตุรกี ซึ่งเป็นประเทศบ้านเกิดของเธอ ซึ่งเธอสามารถรับการรักษาได้เร็วกว่านี้
“หากคุณต้องการการผ่าตัด พวกเขาก็แค่ทำแบบนี้” เธอกล่าวพร้อมดีดนิ้ว ซึ่งแปลว่า มันเร็วแค่ลัดนิ้วมือ
'ระบบล่มสลาย'
อิบรียาโนวาไม่ได้เผชิญกับปัญหานี้คนเดียว ผู้คนในอังกฤษมากกว่า 7.5 ล้านคนกำลังรอรับการรักษาในเดือนเมษายน ซึ่งเป็นสถิติสูงสุดใหม่ แม้ว่ารัฐบาลจากพรรคอนุรักษ์นิยมจะลงทุนกับระบบสาธารณสุขเมื่อเร็วๆ นี้ก็ตาม
การสำรวจเมื่อเร็วๆ นี้ชี้ให้เห็นว่าชาวอังกฤษน้อยกว่าหนึ่งในสี่พอใจกับระบบ NHS ซึ่งเป็นระดับที่ไม่เคยมีมาก่อน
“เราต้องรอสามสัปดาห์ในการตรวจเลือด เรามักจะต้องรอคิวเพื่อซื้อยาจนกระทั่งคุณสามารถซื้อยาได้” คริสติน ไนท์ วัย 71 ปี เกษียณอายุอย่างคร่ำครวญ
วิกฤตครั้งนี้รุนแรงเป็นพิเศษในพื้นที่ทางใต้ของเอสเซ็กซ์ โดยมีแพทย์ 1 คนรักษาผู้ป่วยมากกว่า 2,300 คนเมื่อปลายปีที่แล้ว ซึ่งแย่กว่าค่าเฉลี่ยของประเทศมาก จากรายงานของสถาบันวิจัยด้านสุขภาพของ Nuffield Trust
มารี โกลด์แมน ผู้สมัครพรรคลิเบอรัลเดโมแครตในเขตเลือกตั้งซึ่งมีส.ส.สายอนุรักษ์นิยม เปิดเผยว่า คลินิกแพทย์ 2 คนในเมืองเชล์มสฟอร์ดปิดตัวลงในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
“สิ่งที่เหลืออยู่คือช่องโหว่ มันทำให้ผู้คนหงุดหงิดมาก” โกลด์แมนกล่าวเสริม เธอยังกล่าวว่า ผู้ลงคะแนนเลือกตั้งมักถามเธอเกี่ยวกับ NHS อยู่เสมอ
เธอชี้ให้เห็นว่า แม้แต่พิธีเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกลอนดอน 2012 ก็ยังยกย่องการบริการด้านสุขภาพว่าเป็น "ความภาคภูมิใจ" ของสหราชอาณาจักร แต่วันนี้เธอบอกว่ามัน "พังแล้ว"
โรงพยาบาลที่นี่เป็นหนึ่งในโรงพยาบาลที่แย่ที่สุดในประเทศในด้านการรักษาโรคมะเร็ง โดยผู้ป่วยมากกว่าสามในสี่ต้องรอนานกว่าหนึ่งเดือนเพื่อเริ่มการรักษาเมื่อได้รับการวินิจฉัย
หน่วยงานด้านสุขภาพในพื้นที่ปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นเมื่อได้รับการติดต่อจาก AFP
บอบบี้ เจคอบส์ คนงานก่อสร้างวัย 30 ปี เพิ่งได้รับการผ่าตัดมือที่โรงพยาบาลบลูมฟีลด์สในเมือง
เขาสังเกตเห็นการขาดแคลนทรัพยากรในระบบสาธารณสุข ซึ่งทุกวันนี้ก็ต้องอาศัยผู้ช่วยดูแลจากต่างประเทศเป็นอย่างมากอยู่แล้ว
“คุณสามารถเห็นได้จากสีหน้าของพยาบาลทุกคนว่าพวกเขาทำงานหนักและเครียดมากเกินไป พวกเขาทำงานหนักหลายชั่วโมง แต่ไม่เพียงพอ” เขากล่าวกับ AFP
เงินทุนที่จำเป็น
การประท้วงเรื่องค่าจ้างและเงื่อนไขต่างๆ เกิดขึ้นบ่อยครั้งและกินเวลานาน รวมถึงการหยุดงานประท้วงครั้งแรกของพยาบาล ได้สร้างปัญหาให้กับ NHS ในช่วงสองปีที่ผ่านมา
ปัญหาเรื่องขวัญกำลังใจที่ต่ำคือปัจจัยที่ทำให้คนที่ประกอบวิชาชีพนี้ลาออกจากระบบ หรือพยายามลดเวลาทำงาน
“ไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะเห็นผู้ป่วย 45 ถึง 50 คนต่อวัน บางครั้งมากกว่านั้น” เจมส์ บูธ แพทย์ที่ทำงานมานานกว่า 20 ปี ซึ่งลาออกจากที่ทำงานแห่งหนึ่งเพื่อไปทำงานพาร์ทไทม์ที่อื่นกล่าว
เขาอ้างถึงประชากรสูงวัย เวลาอยู่กับคนไข้น้อยลง และการขาดแคลนบุคลากร
“เราเห็นแพทย์ พยาบาล และผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ จำนวนมากที่ต้องออกจากงานเร็วหรือไม่เข้าร่วม NHS เลย” บิลลี่ พาลเมอร์ จาก Nuffield Trust กล่าว
เจมส์ บูธ ตั้งข้อสังเกตว่ามีคลินิกเอกชนสองแห่งได้เปิดในเชล์มสฟอร์ดในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และกำลังไปได้สวย
ทุกฝ่าย รวมถึงพรรคแรงงาน ซึ่งความตั้งใจที่จะจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ ต่างสัญญาว่าจะแก้ไข NHS ด้วยการสรรหาบุคลากรจำนวนมาก นวัตกรรม และการปรับโครงสร้างองค์กร
อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญยังคงไม่มั่นใจ โดยกล่าวว่าสิ่งที่ระบบต้องการจริงๆ คือการอัดฉีดเงินสดจำนวนมหาศาลในขณะนี้ ซึ่งยังไม่มีใครช่วยในเรื่องนี้
Text by Agence France-Presse
Photo by JUSTIN TALLIS / AFP