"เรากลับไปบ้านเกิดไม่ได้" ชีวิตของผู้ลี้ภัยทหารพม่าที่กำลังต่อสู้ดิ้นรนในไทย

เมื่อรัฐบาลเผด็จการทหารของเมียนมาประกาศกฎหมายเกณฑ์ทหารเพื่อช่วยบดขยี้การลุกฮือเพื่อประชาธิปไตยที่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชน ไขง์รู้ว่ามีทางเดียวเท่านั้นที่จะหลีกหนีจากเงื้อมมือของเผด็จการทหาร และเริ่มวางแผนการหลบหนีของเธอ

หลายสัปดาห์ต่อมา อดีตครูคนนี้ซ่อนอยู่ในรถตู้ของผู้ลักลอบขนของเถื่อนที่กำลังมุ่งหน้าเข้าประเทศไทย พร้อมด้วยเสื้อผ้า เงินสด และบัตรประจำตัวประชาชน โดยไม่รู้ว่าจะได้กลับมาเมื่อใด

ตอนนี้ ไขง์ใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพฯ โดยไม่มีเอกสารเข้าเมืองอย่างถูกกฎหาย เธอกังวลอยู่ตลอดเวลาว่าตำรวจไทยจะพบตัวเธอ และส่งตัวกลับไปสู่เงื้อมมือรัฐบาลเผด็จการทหาร

เธอเป็นหนึ่งในกลุ่มสิทธิคนหนุ่มสาวหลายหมื่นคนที่คาดว่าได้หลบหนีออกจากพม่า นับตั้งแต่รัฐบาลเผด็จการทหารเริ่มเกณฑ์คนหนุ่มสาวมาเป็นทหารเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ เพื่อรักษาระดับกำลังพลที่ลดลง

รัฐบาลทหารกำลังต่อสู้กับการต่อต้านด้วยอาวุธอย่างกว้างขวางต่อการรัฐประหารในปี 2564 และทหารถูกกล่าวหาว่าทำการทำลายบ้างตีอย่างหนักหน่วงและนองเลือด และใช้การโจมตีทางอากาศและปืนใหญ่เพื่อลงโทษชุมชนพลเรือน

รัฐบาลทหารระบุว่าต้องการเกณฑ์กำลังคนจำนวน 5,000 คนที่มีอายุระหว่าง 18-35 ปีต่อเดือน แต่รายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการเลือกคนเข้ามาเกณฑ์ทหาร สถานที่และวิธีการนำตัวไปใช้งานนั้นยังไม่ชัดเจน

มีรายงานของสื่อเกี่ยวกับชายหนุ่มชาวเมียนมาถูกลากออกจากถนนและถูกเกณฑ์เข้ากองทัพ แต่กองทัพปฏิเสธข่าวดังกล่าว แต่เรื่องนี้ยิ่งกระตุ้นความตื่นตระหนกยิ่งขึ้น

“การใช้กฎหมายเกณฑ์ทหารหมายความว่าเราต้องลงมือฆ่ากันเอง” ไว ยาน กล่าว เขาคือชายหนุ่มวัย 26 ปี จากรัฐกะเหรี่ยงตะวันออก ซึ่งข้ามเข้ามาในประเทศไทยเมื่อเดือนพฤษภาคม 

“เราไม่ได้ทำสงครามกับศัตรูต่างชาติ” เขากล่าวจากร้านอาหารในกรุงเทพฯ ที่เขาทำงานโดยไม่มีเอกสารเข้าเมืองอย่างถูกกฎหมายเช่นกัน

"เรากำลังต่อสู้กันเอง"

ค่าลักลอบในราคา 220 ดอลลาร์
ไม่นานหลังจากมีการผ่านกฎหมายเกณฑ์ทหาร รัฐบาลทหารได้เพิ่มข้อกำหนดที่เข้มงวดกับผู้ที่ข้ามพรมแดนทางบกของเมียนมา และระงับการออกใบอนุญาตทำงานต่างประเทศสำหรับชายหนุ่มเป็นการชั่วคราว

งเว ยัน ตูน นักวิจารณ์ภาพยนตร์ในย่างกุ้ง ซึ่งใช้นามแฝง กล่าวว่า เขาไม่มีทางเลือก นอกจากต้องออกไปจากประเทศอย่างผิดกฎหมาย

เขาติดต่อกับ "นายหน้า" ผ่านเพื่อนโดยเพื่อนของเขาบอกว่าเขาจะถูกนำตัวลักลอบข้ามชายแดนเข้ามาในประเทศไทยโดยต้องเสียค่าใช้จ่ายในราคาประมาณ 220 ดอลลาร์

งเว ยัน ตูน ขายทรัพย์สินทั้งหมดของเขา จัดแจงให้เพื่อน ๆ ดูแลสุนัขของเขา และซื้อตั๋วเครื่องบินไปเมืองท่าขี้เหล็ก ตรงชายแดนไทยแม่สอด

ที่สนามบินเขาต้องจ่าย "ค่าน้ำชา" ให้กับเจ้าหน้าที่ที่สนามบินซึ่งสงสัยว่าทำไมเขาถึงเดินทางไปยังเมืองต่างจังหวัดที่ห่างไกล

เขาถูกส่งตัวไปที่เซฟเฮาส์ใกล้ชายแดน ซึ่งมีคนอื่นๆ อีกประมาณ 30 คนรอการนำตัวเข้าประเทศไทย

จากนั้น ไม่นานนัก เขาก็ถูกพาตัวเข้าไปนั่งอัดแน่นอยู่ในรถพร้อมกับคนอื่นๆ อีก 11 คน แล้วพวกเขาก็ออกเดินทาง

“ผมไม่รู้สึกเหมือนตัวเองเป็นมนุษย์ ผมรู้สึกเหมือนเป็นสินค้าในตลาดมืด”งเว ยัน ตูน กล่าวจากจังหวัดเชียงใหม่

นี่ฉันอยู่ที่พม่าหรือเปล่า
ประเทศไทยเป็นที่อยู่อาศัยของชุมชนเมียนมาขนาดใหญ่มายาวนาน โดยมีตลาดที่คึกคักในกรุงเทพฯ และเมืองตามแนวชายแดน

เจ้าหน้าที่จากองค์การแรงงานระหว่างประเทศแห่งหนึ่งกล่าวว่า ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในเมียนมาทำให้ยากต่อการสำรวจหรือตรวจสอบจำนวนคนหนุ่มสาวที่หลบหนีไปต่างประเทศเพื่อหลบหนีการเกณฑ์ทหาร 

แต่องค์กรดังกล่าว ระบุว่า ได้รับการประเมินจากแหล่งข่าวในพื้นที่ที่ชี้ว่า "มีคนหลายแสนคน" หนีออกจากประเทศเพื่อเลี่ยงการถูกเกณฑ์ทหาร 

ไว ยัน บอกว่าเขาแปลกใจที่มีคนพม่าเข้ามาอยู่ในไทยเป็นจำนวนมาก

"ผมยังล้อเล่นกับเพื่อนๆ เลยว่า 'นี่ฉันยังอยู่ที่เมียนมาหรือเปล่า'"

ต้องร้องไห้ทุกวัน
หลังจากมาถึงกรุงเทพฯ ไขง์ ไม่สามารถติดต่อกับพ่อแม่ของเธอได้ เนื่องจากการต่อสู้รอบหมู่บ้านบ้านเกิดของเธอทำให้อินเทอร์เน็ตและเครือข่ายมือถือถูกตัดสัญญาณ

“ฉันกังวลว่าจะถูกตำรวจไทยจับ ฉันเลยไม่กล้าออกไปข้างนอกเมื่อมาถึง” เธอบอกกับสำนักข่าว AFP 

“ฉันร้องไห้ทุกวันในเดือนแรกที่นี่”

เธอไปทำงานพาร์ทไทม์ที่ร้านเพื่อน และกลับมาในตอนเย็นที่ห้องเล็กๆ ของเธอ ซึ่งเธอใช้เป็นสถานที่ขายยาและผลิตภัณฑ์เสริมความงามบน TikTok

บนเตียงของเธอมีตุ๊กตาหมีตัวใหญ่ของอยู่เกือบเต็มพื้นที่ เพื่อนมอบมันให้เธอเพราะรู้ว่าเธอรู้สึกเหงา 

สื่อของรัฐบาลทหารเมียนมารายงานเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า ทหารเกณฑ์กลุ่มแรกเสร็จสิ้นการฝึกแล้ว และในไม่ช้าก็จะถูกส่งไปปฏิบัติหน้าที่  ในขณะที่การต่อสู้ดุเดือดในภาคตะวันตกและทางตอนเหนือของประเทศ

งเว ยัน ตุน รู้สึกโชดีที่เขาอยู่ห่างไกลจากสงคราม แต่ตอนกลางคืนก็ยังนอนไม่หลับและสงสัยกับตัวเองว่าจะทำอย่างไรต่อไปดีกับชีวิต

“ผมคิดว่าควรทำอย่างไรหากไม่ได้งานและไม่มีเอกสารรับรองให้เข้าเมือง” เขาบอก

“ผมกลับเมียนมาไม่ได้ ผมรู้สึกหนักใจและกังวลใจตลอดเวลา”

Text by Agence AFP France-Presse

Photo by Lillian SUWANRUMPHA / AFP - ภาพถ่ายนี้ถ่ายเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2567 "ไขง์" อดีตครูของขบวนการขัดขืนพลเรือน (CDM) กำลังนั่งอยู่ในร้านอาหารที่เธอทำงานหลังจากหนีจากเมียนมามายังประเทศไทยเพื่อหลีกเลี่ยงการเกณฑ์ทหารโดยรัฐบาลเผด็จการทหารเมียนมา กลุ่มสิทธิมนุษยชนกล่าวว่าตอนนี้ คนหนุ่มสาวหลายหมื่นคนหลบหนีออกจากเมียนมานับตั้งแต่รัฐบาลเผด็จการทหารเริ่มเกณฑ์ทหาร 

TAGS: #เมียนมา