คลองฟูนันเตโชขุดเพื่อ? มีคำถามมากมายที่กัมพูชายังตอบไม่เคลียร์

คลองฟูนันเตโชขุดเพื่อ? มีคำถามมากมายที่กัมพูชายังตอบไม่เคลียร์

ฝุ่นคลุ้งปกคลุมทุกอย่างในบ้านของลิม ทอง เอ็ง โดยรถขุดที่ทำงานหนักอยู่ข้างๆ เพื่อขยายช่องทางที่รัฐบาลกัมพูชาหวังว่าจะเป็นคลองขนส่งหลักในไม่ช้า

ในเดือนหน้า กัมพูชาจะขุดเจาะคลองฟูนันเตโชอย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นโครงการมูลค่า 1.7 พันล้านดอลลาร์ที่เชื่อมต่อแม่น้ำโขงไปยังท่าเรือของกัมพูชาริมอ่าวไทย ซึ่งจะกลายทางเลือกในการสัญจรทางแม่น้ำออกทะเลที่แต่เดิมต้องผ่านเวียดนามเป็นหลัก

โครงการนี้เป็นหนึ่งในโครงการโครงสร้างพื้นฐานอันที่เป็นผลงานโบแดงของอดีตนายกรัฐมนตรีฮุน ซุน และถูกมองว่าเป็นภารกิจระดับชาติที่กระตุ้นการสนับสนุนให้กับฮุน มาเน็ต บุตรชายของเขา

แต่โครงการนี้มีความไม่แน่นอนเต็มไปหมด ตั้งแต่ความไม่ชักเจนว่าตกลงแล้วเป้าหมายหลักคือการขนส่งหรือการชลประทานกันแน่ ไปจนถึงใครเป็นผู้ให้ทุนสนับสนุน และจะส่งผลต่อการไหลของแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นหนึ่งในแม่น้ำที่ยาวที่สุดในโลกอย่างไร

การขาดความชัดเจนกำลังสร้างความเจ็บปวดให้กับผู้คนที่อยู่ตามเส้นทางที่คาดการณ์ไว้ว่าจะเป็นแนวคลอง ซึ่งเริ่มต้นจากกรุงพนมเปญไปทางตะวันออกเฉียงใต้ประมาณหนึ่งชั่วโมงหากเดินทางโดยรถยนต์

อิง เกษตรกรเกษียณอายุ 74 ปีที่ตอนนี้ใช้รถเข็น จะสูญเสียบ้านและที่ดินให้กับโครงการขุดคลอง แต่ไม่รู้ว่าเขาจะได้รับค่าชดเชยเป็นจำนวนเท่าใด

“เราไม่เพียงรู้สึกประหลาดใจ แต่ยังรู้สึกหวาดกลัวด้วย” เขากล่าวกับสำนักข่าว AFP  ขณะที่คนงานขุดดินส่งเสียงอึกทึกอยู่ใกล้ๆ

“เราไม่รู้ว่ารัฐบาลคิดอะไรอยู่เพราะเราไม่ได้รับแจ้ง”

ฮุน เซน ซึ่งปกครองกัมพูชามานานกว่า 3 ทศวรรษ อธิบายว่าคลองแห่งนี้เป็นเสมือน "จมูกสำหรับหายใจ" ของประเทศ และทางการท้องถิ่นได้รับคำสั่งให้เตรียมจัดงานจุดพลุดอกไม้ไฟในการวางศิลาฤกษ์ในวันที่ 5 ส.ค. ซึ่งเป็นวันเกิดของอดีตผู้นำพอดี

รัฐบาลกล่าวว่าคลองดังกล่าวจะสร้างกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีมูลค่ามากกว่าต้นทุนถึงร้อยละ 21-30 และสร้างงานหลายหมื่นตำแหน่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แม้ว่าจะไม่ได้ให้หลักฐานโดยละเอียดสำหรับการคาดการณ์เหล่านั้นก็ตาม

ยังมีเรื่องที่ไม่รู้มากมาย
อย่างไรก็ตาม ประโยชน์ของคลองอาจขึ้นอยู่กับวิธีการจัดหาเงินทุน

เมื่อปีที่แล้ว บริษัทไชน่าโรดแอนด์บริดจ์ (CRBC) ซึ่งเป็นบริษัทก่อสร้างยักษ์ใหญ่ของจีนที่ให้ทุนสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ในกัมพูชา ตกลงที่จะศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการคลองแห่งนี้

เจ้าหน้าที่กัมพูชาเสนอแนะให้บริษัทของรัฐจีนสามารถจัดหาเงินทุนส่วนหนึ่งมาดำเนินการสร้างคลองดังกล่าวได้ แต่ CRBC ไม่ได้เปิดเผยการศึกษาหรือให้คำมั่นต่อสาธารณะใดๆ

นอกจากนี้ บริษัท CRBC ไม่ตอบสนองต่อการร้องขอความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้จากสำนักข่าว AFP อีกด้วย

และในขณะที่กัมพูชาเป็นพันธมิตรใกล้ชิดกับจีน ฮุน เซนปฏิเสธว่าคลองจะไม่เป็นส่วนหนึ่งของแผนโครงสร้างพื้นฐาน 'หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง' หรือ Belt and Road ของจีน

นักวิเคราะห์ยังตั้งคำถามกับงบประมาณสูงถึง 1.7 พันล้านดอลลาร์

วัณฤทธิ เชียง นักวิเคราะห์การเมืองและประธานอุทยานนวัตกรรมสังคมอังกอร์ (Angkor Social Innovation Park) กล่าวว่า "ยังมีสิ่งที่ไม่ทราบอีกมาก รวมถึงความไม่แน่นอนเกี่ยวกับผลประโยชน์และต้นทุนทางเศรษฐกิจที่แท้จริง"

นอกจากนี้ยังมีความกังวลเกี่ยวกับการไหลของแม่น้ำโขง ซึ่งคิดเป็นแหล่งอาศัยของปลาสัดส่วนถึงหนึ่งในสี่ของปลาน้ำจืดที่จับได้ทั่วโลก และคิดเป็นร้อยละ 50 ของแหล่งน้ำในการผลิตข้าวของเวียดนาม

นักอนุรักษ์เตือนมานานแล้วว่าแม่น้ำกำลังถูกคุกคามจากโครงการโครงสร้างพื้นฐาน มลพิษ การทำเหมืองทราย และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

กัมพูชา ลาว เวียดนาม และไทย เป็นผู้ลงนามในข้อตกลงแม่น้ำโขงปี 2538 ซึ่งควบคุมการกระจายความมั่งคั่งของแม่น้ำโขง

แต่ในขณะที่กัมพูชาได้แจ้งคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) ถึงแผนการสร้างคลองดังกล่าวแล้ว เวียดนามก็ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

รัฐบาลกัมพูชาโต้แย้งว่าโครงการนี้มีผลกระทบต่อแม่น้ำสาขาของแม่น้ำโขงเพียงแห่งเดียวเท่านั้น ดังนั้นจึงดำเนินการแจ้งเตือนตามที่โครงการได้ยื่นไว้แล้วเท่านั้น

ประเด็นนี้ถูกโต้แย้งโดยผู้เชี่ยวชาญบางคน โดยชี้ให้เห็นว่าทางน้ำที่รอกบ้านของชายชราที่ชื่ออิง เชื่อมโยงโดยตรงกับแม่น้ำโขงสายหลัก และเจ้าหน้าที่กัมพูชาก็ยกย่องคุณประโยชน์ของการชลประทานของคลองมากขึ้นเรื่อยๆ

การชลประทานจากแหล่งน้ำหลัก (ของแม่น้ำโขง) ในช่วงฤดูแล้ง "จำเป็นต้องมีข้อตกลงโดยเฉพาะจาก 4 ประเทศสมาชิก (MRC)" ไบรอัน อายเลอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านแม่น้ำโขงจากสถาบันวิจัย Stimson Center กล่าว

มันเป็นแค่ฟางเส้นเดียว
แต่ MRC กล่าวว่ายังไม่ได้รับ “รายงานใดๆ เกี่ยวกับการไหลของน้ำ” และ “กำลังร้องขอและรอข้อมูลเพิ่มเติมจากกัมพูชา”

ซุน จานโทล รองนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ซึ่งเป็นหัวหอกของโครงการนี้ เปรียบเทียบคลองแห่งนี้กเหมือนกับ "ฟาง"

“หลอด (ฟาง) จะดูดน้ำจากแม่น้ำโขงได้มากแค่ไหนกันเชียว?” เขาบอกกับ Straits Times เมื่อเดือนที่แล้ว

การศึกษาผลกระทบพบว่าคลองส่งผลกระทบเพียงร้อยละ 0.06 ของแม่น้ำที่ไหลออกในฤดูแล้ง

อย่างไรก็ตาม การศึกษายังไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณะ

“เป็นไปได้ว่าผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมต่อกัมพูชาและเวียดนามอาจมีเพียงเล็กน้อย” อายเลอร์กล่าว

“แต่ตอนนี้เรายังไม่รู้เกี่ยวกับโครงการมากพอที่จะตัดสินใจได้”

เจ้าหน้าที่กัมพูชายังปฏิเสธว่าเรือรบจีนสามารถใช้คลองดังกล่าวได้ และนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันว่าทางน้ำจะไม่น่าเหมาะสำหรับการใช้ในด้านวัตถุประสงค์ดังกล่าว เมื่อพิจารณาจากทางเลือกทางบกและทางทะเล

วัณฤทธิ กล่าวว่าความสำคัญหลักของโครงการคือคุณค่าทางการเมือง

“นี่เป็นโครงการมรดก (ของ ฮุน เซน) ล้วนๆ โดยพ่วงความสำคัญทางการเมืองและประวัติศาสตร์เข้าไป” เขากล่าว

“รัฐบาลจะทำมันแน่ๆ และจะใช้ทุกวิถีทางเพื่อให้โครงการเสร็จสิ้น โดยยอมต้องเสียค่าใช้จ่ายทุกอย่าง... พวกเขาต้องพิสูจน์อะไรบางอย่าง”

Text Agence France-Presse
Photo by TANG CHHIN Sothy / AFP

 

TAGS: #คลองฟูนันเตโช #ฮุนเซน