ปารีสอาจได้ชื่อว่าเป็น 'เมืองที่โรแมนติกที่สุดในโลก' แต่ปารีสก็เหมือนเมืองอื่นๆ ที่มีด้านที่ไม่โรแมนติกและเต็มไปด้วยความทุกข์ เพราะปารีสไม่ใช่เมืองเล็กๆ แต่เป็น 'มหานคร' (aire d'attraction de Paris) กินพื้ที่ถึง 18,941 ตร.กม. ที่ประกอบด้วยเขตปกครองแบบเดปากเตอมอง (département) มากถึง 695 เขต และประชากรมากถึง 13 คน ในจำนวนนั้น คือผู้คนและเขตปกครองที่เรียกว่า 'บังลิเยอ' (Banlieue)
'บังลิเยอ' หมายถึงเขตชายของของเมืองใหญ่ ไม่ใช่เฉพาะแค่ในปารีสเท่านั้น แต่ปารีสมีชื่อเสียงเรื่องความใหญ่โตของ 'บังลิเยอ'ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น ส่วนใหญ่มีสาถานะไม่ดีนัก ในกรณีของมหานครปารีส พบว่าประชากรถึง 80% ของเขตมหานครปารีสอาศัยอยู่นอกตัว 'เมืองปารีส' หรือเขตใจกลางเมืองที่สวยงามและหรูหรา
จากหนังสือชื่อ Cœur de banlieue (หัวใจของบังลิเยอ) เขียนโดย ดาวิด เลอปูเตรอะ (David Lepoutre) ศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยปารีสที่ 13 และมหาวิทยาลัยลีลล์ที่ 2 อธิบายไว้ว่า ตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1970 คำว่า 'บังลิเยอ' ไม่ได้หมายถึงชานเมืองเฉยๆ เท่านั้น แต่เริ่มมีความหมายเฉพาะตัว โดยกลายเป็นคำที่นิยมใช้เรียกเขตชานเมืองที่มีสภาพเศรษฐกิจไม่ดี มีโครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย (หรือโครงการเคหะ HLM) ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของผู้อพยพจำนวนมาก ผู้ที่มีเชื้อสายต่างชาติอาศัยอยู่
แม้แต่โครงการเคหะที่จัดหาไว้ให้คนยากจนก็ถูกมองว่าเป็นหนึ่งในตัวปัญหา เพราะทำให้เกิดความรู้สึกไม่ปลอดภัยยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น โครงการบ้านคนจนเหล่านี้ถูกแยกตัวออกจากศูนย์กลางเมือง ขาดสิ่งอำนวยความสะดวกทางวัฒนธรรมและกีฬา และขาดวิถีชีวิตชุมชน
ด้วยสภาพแบบนี้ทำให้ผู้คนใน 'บังลิเยอ' ติดอยู่ใน 'กับดักความยากจน' นั่นคือพวกเขาต้องอยู่กับความยากจนเกือบจะถาวร ไม่สามารถถีบตัวเองออกมาจากความจนได้ เพราะขาดโอกาสที่จะพัฒนาตัวเอง เช่น ขาดการศึกษา หรือไม่ยอมพัฒนาตัวเองเนื่องจากความเชื่อทางศาสนาหรือวัฒนธรรมในหมู่ผู้อพยพจากประเทศด้อยพัฒนาที่เข้ามาอยู่ในปารีส
เนื่องจากเป็นเขตที่ยากจนและขาดปัจจัยในการพัฒนาตัวเอง (ไม่ว่าจะด้วยความตั้งใจของคนที่อยู่เองหรือโดยขาดความเอาใจใส่จากรัฐ) ทำให้ 'บังลิเยอ'ถูกเรียกว่าเป็น 'ย่านอ่อนไหว' (quartiers sensibles) ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายเชิงลบ เพราะบ่งว่าพื้นที่ที่ไม่ปลอดภัย ย่านเหล่านี้บางครั้งได้จึงเรียกว่า 'เขตความปลอดภัยที่มีความสำคัญ' (zone de sécurité prioritaire หรือ ZSP) ซึ่งจากนิยามที่ให้ไว้โดยกระทรวงมหาดไทยฝรั่งเศสหมายถึงเขตที่ "ต้องทนทุกข์ทรมานมากกว่าคนอื่นๆ จากความไม่มั่นคงในแต่ละวันและการกระทำผิด (อาชญากรรม) ที่ฝังรากลึก" และ “ได้ประสบกับภาวะความปลอดภัยที่เสื่อมถอยลงอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา”
อย่างไรก็ตาม ที่ปารีสเขตที่เข้าข่ายเป็น ZSP คือเขต 18 เขต 19 และเขต 20 ซึ่งเป็นเขตของใจกลางเมืองฝรั่งเศสไม่ใช่ชายขอบ นั่นหมายความว่า แม้แต่ใจกลางเมืองปารีสก็ยังเป็น 'ย่านอ่อนไหว' ดังนั้น แม้ว่าคนนอกที่เข้าไปเยือนปารีสจะไม่ได้ไปถึง 'บังลิเยอ' ก็ยังต้องระมัดระวังตัวอย่างมากอยู่ดี
ปัญหาอาชญากรรมใน 'บังลิเยอ' ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการค้ายาเสพติด การค้าอาวุธ แก๊งอาชญากรรม และรวมถึงการใช้อำนาจโดยมิชอบของตำวจ เช่น การวิสามัญฆาตกรรมคนท้องถิ่นทำให้เกิดความไม่พอใจรุนแรงนำไปศุ่การก่อจลาจล อีกส่วนหนึ่งมาจากสภาพเศรษฐกิที่ย่ำแย่โดยมีปัญหาใหญ่มาจากการว่างงานที่สูงมากถึง 50%
สิ่งที่ทำให้ 'บังลิเยอ'มีภาพลักษณ์ที่ไม่ดีในสายตาคนภายนอก ส่วนหนึ่งเพราะคนที่อาศัยที่นั่นมักเป็นผู้อพยพต่างชาติหรือมีผิวสีที่แตกต่างจากชาวยุโรปท้องถิ่น เช่นในเขตหนึ่งของมหานครปารีสมีคนที่ 'ไม่ใช่ฝรั่งเศส' อยู่ถึง 60% ทำให้เกิดกระแสเกลียดกลัวคนต่างชาติที่อาศัยในพื้นที่นั้น เฌราด์ ลาร์กแชร์ (Gérard Larcher) อดีตประธานวุฒิสภา และนักการเมืองฝรั่งเศสสายเสรีนิยม กล่าวไว้ในรายงานของคณะรรมาธิการกิจการเศรษฐกิจของวุฒิสภาว่า “ชุมชนด้อยโอกาสในเมืองของเราซึ่งมีชาวมุสลิมจำนวนมากอาศัยอยู่ พบว่าพวกเขาถูกล้อมรอบไปด้วยกระแสแห่งความระแวง ซึ่งบางครั้งก็รู้สึกถึงกระแสนี้ได้อย่างโหดร้าย”
แม้ว่า 'บังลิเยอ' จะอยู่ชายขอบไม่ใช่ศูนย์กลางท่องเที่ยว แต่เป็นพื้นที่ที่ต้องระวังอยู่ดี และคนที่ต้องระวังอยู่เสมอคือทางการฝรั่งเศส เนื่องจากพื้นที่เหล่านี้มักเป็นจุดเริ่มต้นของการก่อจลาจลหลายครั้งนับตั้งแต่ทศวรรษที่ 70 เป็นต้นมา โดยเฉพาะ 'บังลิเยอ' ของเขตมหานครปารีสนั้นถือเป็นจุดที่เกิดจลาจลบ่อยเป็นพิเศษ
รายงานโดยทีมข่าวต่างประเทศ The Better
ภาพประกอบข่าว - คนเดินเท้าเดินผ่านบริเวณใกล้หอไอเฟล ผ่านกองถุงขยะที่กองพะเนินตั้งแต่ที่คนเก็บขยะหยุดงานประท้วงการปฏิรูปเงินบำนาญของรัฐบาลฝรั่งเศสในกรุงปารีสเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2023 (ภาพโดย LUDOVIC MARIN / AFP)