'สงครามทุเรียนในจีน' ศึกแห่งศักดิ์ศรีระหว่างหมอนทองของ'ไทย'กับมูซังคิงมาเลเซียใครคือที่หนึ่ง? 

'สงครามทุเรียนในจีน' ศึกแห่งศักดิ์ศรีระหว่างหมอนทองของ'ไทย'กับมูซังคิงมาเลเซียใครคือที่หนึ่ง? 

สำนักข่าว Sina Finance ของจีนมีรายงานเรื่อง  "จับตา มหาสงครามทุเรียนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับจีน" รายงานระบุว่า ก่อนหน้านี้ จีนนำเข้าทุเรียนสดจาก 3 ประเทศ ได้แก่ ไทย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ โดยทุเรียนไทยมีสัดส่วนมากที่สุด ในปี 2566 จีนนำเข้าทุเรียนสดจากไทยประมาณ 920,000 ตัน มูลค่ารวมประมาณ 4,566 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 65.15% ของการนำเข้าทุเรียนสดทั้งหมดของจีน เวียดนามและฟิลิปปินส์อยู่ในอันดับสองและสามตามลำดับ

โดยรวมแล้ว "ธุรกิจทุเรียนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังเฟื่องฟู"

แต่ตลาดจีนต้องการทุเรียนเกรด A อย่างมาก ทุเรียนเกรด A คือทุเรียนที่มีคุณภาพดีอย่างชัดเจน เนื้อผลมากกว่า 30% เปลือกบาง เนื้อเยอะ และมีลักษณะสม่ำเสมอ ทุเรียนแบบนี้บรรดาอินฟลูเอนเซอร์และคนดังทางอินเทอร์เน็ตมักเรียกกันว่า "ทุเรียนตอบแทนบุญคุณ"  (报恩榴莲) ในทางตรงกันข้าม ทุเรียนที่เหี่ยวและไม่มีเนื้อจะถูกว่า "ทุเรียนล้างแค้น" (报仇榴莲)

ผู้บริโภคชาวจีนรับประทานผลไม้เกรด A ซึ่งมีปริมาณการผลิตน้อยกว่า 20% ดังนั้นราคาจึงสูงตามไปด้วย ซึ่งนี่เป็นโอกาส แต่ทุเรียนมาเลเซียหาทุเรียนเกรด A ได้ยาก 

นอกจากนี้จากการรายงานของ Sina Finance  ซึ่งระบุว่า "เมื่อเทียบกับทุเรียนหมอนทองไทยที่ผู้บริโภคชาวจีนคุ้นเคยกันดีแล้ว ราคาจะแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด JD.com ขายทุเรียนหมอนทองสดที่มีน้ำหนักมากกว่า 5 กิโลกรัมในราคา 145.9 หยวน เมื่อเปรียบเทียบกับทุเรียนหมอนทองไทยแล้ว ทุเรียนมูซังคิงจะมีราคาแพงกว่าถึง 3 เท่าเมื่อมีคุณสมบัติใกล้เคียงกัน"

รายงานยังพบว่า ทุเรียนหมอนทองไทยในซูเปอร์มาร์เก็ตเครือหนึ่งในกรุงปักกิ่งมีราคาเพียง 19.9 หยวนต่อกิโลกรัม ในขณะที่ทุเรียนมูซังคิงมีราคาอยู่ที่ประมาณ 100 หยวนต่อกิโลกรัมในประเทศจีน

ข้อมูลที่ควรทราบก็คือ ทุเรียนพันธุ์มูซังคิงต้องใช้เวลาเกือบ 120 วันในการเจริญเติบโตจึงจะสามารถร่วงหล่นจากต้นได้ตามธรรมชาติ ส่วนทุเรียนหมอนทองของไทยจะใช้เวลาประมาณ 120 วันในการเจริญเติบโตตามธรรมชาติ ซึ่งเท่ากับทุเรียนพันธุ์มูซังคิง

ในเรื่องนี้ จางเจี้ยนหาว (张健豪) เลขาธิการสหพันธ์พัฒนาอุตสาหกรรมทุเรียนนานาชาติแห่งมาเลเซีย เปิดเผยกับสำนักข่าวเจี้ยเมี่ยน (界面新闻) ว่าความแตกต่างที่ใหญ่ที่สุดระหว่างทุเรียนไทยและทุเรียนมาเลเซียคือวิธีการเก็บเกี่ยว ทุเรียนไทยเก็บเกี่ยวล่วงหน้า ในขณะที่การเก็บเกี่ยวตามประเพณีเก่าแก่ของมาเลเซียคือการรอให้ทุเรียนสุกและร่วงหล่นตามธรรมชาติ

ทุเรียนไทยเพื่อการส่งออกมักจะเก็บเกี่ยวล่วงหน้าโดยคนงานเมื่อสุกประมาณ 70-80% ซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยลดรอบการปลูกและประหยัดแรงงานและต้นทุนยาฆ่าแมลงเท่านั้น แต่ที่สำคัญกว่านั้น ทุเรียนยังสามารถขนส่งทางบกได้ทันเวลาและไม่ต้องใช้น้ำแข็งแห้งจำนวนมากเพื่อรักษาความสด นี่คือข้อได้เรียบของทุเรียนไทย

ตรงกันข้ามกับ นั่ทุเรียนมาเลเซียที่สุกอยู่บนต้นจะต้องรีบส่งถึงมือผู้บริโภค โดยสำนักข่าวเจี้ยเมี่ยน รายงานว่าหากเก็บทุเรียนจากต้นเกิน 5 วัน จะไม่สามารถรับประกันคุณภาพของทุเรียนได้ ดังนั้น ทุเรียนของมาเลเซียส่วนมากจึงเป็นทุเรียนแช่แข็งไนโตรเจนเหลวที่เก็บไว้ได้นานข้ามปี และมีสต็อกเหลือมาก

ดังนั้นถึงที่สุดแล้ว  Sina Finance จึงชี้ว่า "หมอนทองไทยพิชิตตลาดจีนได้" และระบุว่า ข้อมูลยอดขายของบริษัทผลไม้จีนชื่อดังหลายแห่งแสดงให้เห็นว่าทุเรียนหมอนทองของไทยเป็นผู้ชนะตลาดตัวจริง ส่วนหนึ่งเพราะทุเรียนสดที่ส่งมาจากมาเลเซียไม่ถูกปากคนจีนทั้งยังมีราคาสูง และ "การคาดเดาที่ว่าทุเรียนมาเลเซียระดับไฮเอนด์ไม่เป็นที่นิยมในตลาดนั้นไม่ใช่เรื่องไร้เหตุผล" 

เนื่องจากสำนักข่าวเจี้ยเมี่ยน รายงานว่าก่อนที่ทุเรียนสดจากมาเลเซียจะเข้าสู่ตลาดจีน ทุเรียนแช่แข็งไนโตรเจนเหลวของมาเลเซียก็แสดงสัญญาณของการมีสต็อกมากเกินไป "ตามที่พนักงานคนหนึ่งที่ทำงานด้านการจัดจำหน่ายผลไม้ให้ข้อมูล ทุเรียนไนโตรเจนเหลวของมาเลเซียที่เข้าสู่ตลาดจีนในปี 2023 ยังไม่หมดสต็อก" และ "ในทางกลับกัน ทุเรียนหมอนทองของไทยกลับได้รับความนิยมอย่างมากในตลาดจีน"

บริษัทๆไป่กั่วหยวน (百果园) ซึ่งเป็นบริษัทค้าผลไม้ชั้นนำของจีน บอกกับสำนักข่าวเจี้ยเมี่ยนว่าในช่วงนี้ ผลิตภัณฑ์ขายดีที่สุดของบริษัทคือทุเรียนไทย Baiguoyuan เชื่อว่ามีสามสาเหตุสำหรับเรื่องนี้ 

ประการแรก ผู้บริโภคได้สร้างนิสัยการบริโภคในช่วงหลายปีที่ผ่านมาและมีความตระหนักในทุเรียนหมอนทองสูง 

ประการที่สอง จากมุมมองของพื้นที่การผลิต ทุเรียนไทยมีจำหน่ายตลอดทั้งปี ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการบริโภคของผู้บริโภคชาวจีนตลอดทั้งปี 

ประการที่สาม ในแง่ของสถานการณ์ในปี 2024 ในช่วงครึ่งปีแรก คุณภาพและอุปทานของทุเรียนหมอนทองในพื้นที่การผลิตหลักในภาคตะวันออกของประเทศไทยค่อนข้างคงที่ ดีกว่าทุเรียนจากประเทศอื่นในช่วงเวลาเดียวกัน

รายงานโดยทีมข่าวต่างประเทศ The Better

Photo by BAY ISMOYO / AFP
 

TAGS: #ทุเรียน #จีน