ความนิยมทุเรียนของคนจีนกำลังถึงจุดที่ร้อนแรงอย่างมาก ทั้งความต้องการที่เพิ่มขึ้น และปริมาณการนำเข้าที่สูงขึ้น ทั้งจากไทยที่เป็นประเทศส่งออกทุเรียนอันดับ 1 มายังจีน และจากชาติอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงผลผลิตในจีนเอง
แม้ว่าความต้องการทุเรียนของคนจีนจะยังไม่มีจุดสิ้นสุด แต่ดูเหมือนว่าผู้ค้าทุเรียนในจีนจะไม่ยอมอยู่เฉย ต่างก็ทำ 'สงครามราคาทุเรียน' เพื่อแย่งชิงความเป็นหนึ่งในตลาด
การทำสงครามราคาก็คือการตัดราคาสินค้าตัวเองให้ต่ำลง เพื่อดึงดูลูกค้า เพื่อที่ลูกค้าจะหันมาสนใจสินค้าของตัวเองเท่านั้นและมองข้ามคู่แข่ง แต่คู่แข่งก็จะทำแบบเดียวกัน ทำให้การตัดราคาลงไปถึงจุดที่ไม่ได้กำไร แถมยัง "เข้าเนื้อ" แต่คนจีนก็ยังทำสงครามราคาอยู่ดี เพราะมองว่ามันคือการชิงความเป็นเจ้าตลาดในระยะยาว และการหั่นราคาจนต่ำกว่าทุน ก็คือ "การลงทุนแบบหนึ่ง"
ตัวอย่างการ 'สงครามราคาทุเรียน' มาจากรายงานของ Sina Finance ที่อ้างจากสำนักข่าวซินอัน หว่านเป้า (新安晚报) รายงานการแข่งกันขายตัดราคาทุเรียนที่เมืองเหอเฝย เมืองหลวงของมณฑลอานฮุย ประเทศจีน โดยร้านขายผลไม้ในเมืองเหอเฝยได้เริ่มสงครามราคา โดยร้านขายผลไม้สองแห่งที่ทางร้านหนึ่งขายในราคา 9.9 หยวนต่อครึ่งกิโลกรัม และ 11.9 หยวนต่อครึ่งกิโลกรัม ตามลำดับ ซึ่งทำให้ผู้บริโภคแห่กันมาซื้อ
จุดเริ่มมาจากการที่ ร้านกั่วกว๋านจ่าง (果馆长) ซึ่งคาดว่าเป็นร้านท้องถิ่นที่เพิ่งเปิดใหม่ได้เสนอราคาพิเศษ 19.9 หยวนต่อครึ่งกิโลกรัมเมื่อวันที่ 19 กันยายน เพื่อขยายตลาด ในขณะนั้น ร้านดังกล่าวยังอยู่ในช่วงทดลองเปิดดำเนินการ และราคาพิเศษดังกล่าวก็ดำเนินต่อไปจนกระทั่งเปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 21 กันยายน ในวันเดียวกัน ร้านไป่กั่วหยวน (百果园) ซึ่งเป็นเชนร้านขายผลไม้ชั้นนำของจีนที่มีร้านทั่วประเทศและใกล้เคียงได้เสนอราคาพิเศษ 15.9 หยวนต่อครึ่งกิโลกรัมของทุเรียน เมื่อวันที่ 22 กันยายน ทั้งสองร้านได้ลดราคาลงอีก โดยร้าน Fruit House ลดราคาเหลือ 9.9 หยวนต่อครึ่งกิโลกรัม ในขณะที่ร้านไป๋กั่วหยวนลดราคาอยู่ที่ 11.9 หยวนต่อกิโลกรัม
การทำสงครามราคาทุเรียนครั้งนี้ ผลก็คือมีคนเข้าคิวยาวหลายร้อยเมตรหน้าร้านผลไม้ทั้งสองแห่ง แต่เพราะความต้องการมีมาก ทำให้ร้านค้าจำกัดการซื้อทุเรียนได้หนึ่งลูก ดังนั้นผู้บริโภคบางส่วนจึงเลือกที่จะเข้าคิวที่ทั้งสองร้าน เนื่องจากมีคนเข้าคิวเป็นจำนวนมาก ร้านผลไม้จึงใช้แจกบัตรคิวเพื่อซื้อทำดรัยนกันเลยทีเดียว
ความต้องการทำดรียนที่เกิดจากการทำสงครามราคาได้ผลอย่างน่าตกใจ ขนาดที่ว่า ผู้บริโภคหลายคนที่ต่อแถวรอซื้อของต่างก็ตอบว่ามีคนต่อแถวรอซื้อของในวันก่อนหน้ามากเกินไป ทำให้พวกเขาไม่มีโอกาสได้ซื้อของ ผู้บริโภคบางคนถึงกับบอกว่าได้ซื้อทุเรียนไปแล้ว 3 ลูกในเวลา 5 วัน นับตั้งแต่ทั้งสองร้านเริ่มทำสงครามราคาทุเรียน
บทวิเคราะห์ผลกระทบต่อทุเรียนไทย
การทำสงครามราคาในแง่นี้ ช่วยให้ผู้บริโภคชาวจีนเข้าถึงรสชาติทุเรียนได้มากขึ้น เพราะมันมีราคาถูกลง และคาดว่าการทำสงครามราคาแบบนี้อาจเกิดขึ้นในพื้นๆ อื่นๆ ด้วย ซึ่ง The Better เคยรายงานไปแล้วว่ามีการทำสงครามราคาทถเรียนในเมืองใหญ่ๆ กว่านี้
เนื่องจากตลาดจีนเป็นตลาดที่ใหญ่โตมโหฬาร ยังมีคนจำนวนมากไม่เคยลิ้มรสชาติทุเรียน เพราะส่วนหนึ่งมากจากราคาที่ก่อนหน้านี้ค่อนข้างแพง และบางคนไม่เคยเข้าถึงผลไม้ชนิดนี้ แต่เมื่อมีการทำสงครามราคา ทำให้หลายๆ คนได้ลองรสชาติทุเรียน และทำให้เกิดความตื่นตัวเมื่อมีการลดราคาอย่างต่อเนื่อง จนมีการต่อคิวซื้อยาวเหยียด
เมื่อความต้องการทุเรียนเพิ่มมากขึ้น การนำเข้าทุเรียนก็จะเพิ่มมากขึ้น ผลก็คือทุเรียนจากไทยจะได้โอกาสเข้าไปสู่มุมใหม่ๆ ของตลาดจีนมากขึ้นตามไปด้วย แต่ต้องจับตาการเพิ่มปริมาณนำเข้าจากประเทศอื่นๆ รวมถึงการที่จีนเริ่มผลิตเองได้ อาจทำให้ทุเรียนส่งออกจากไทยมีราคาลดลง แต่เรื่องนี้จำเป็นต้องศึกษาผลได้ผลเสียของการทำสงครามรารคา และการเพิ่มปริมาณนำเข้าจากแหล่งอื่นๆ กันต่อไปว่าคุ้มหรือไม่
ตัวอย่างเช่น จากข้อมูลของสื่อจีนที่ได้รับข้อมูลจาก จางเพียวอี้ (张飘逸) ผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูลของตลาดค้าส่งผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรโจวกู่ตุย ที่เมืองเหอเฝยว่าราคาตลาดปัจจุบันของทุเรียนเวียดนามอยู่ที่ 23 หยวน/ครึ่งกิโลกรัม และราคาของทุเรียนไทยอยู่ที่ 25 หยวน/ครึ่งกิโลกรัม
ผู้สื่อข่าวได้รับข้อมูลจากร้านขายผลไม้ 2 แห่งที่เหอเฝยขายทุเรียนเวียดนาม
จางเพียวอี้กล่าวว่า “ร้านขายผลไม้น่าจะเสนอส่วนลดกับทุเรียนเวียดนามมากกว่า ราคาของทุเรียนเวียดนามจะต่ำกว่าราคาของทุเรียนไทย หากราคาอยู่ที่ 19.9 หยวน/ครึ่งกิโลกรัม หากพวกเขามีช่องทางการซื้อและมีปริมาณการซื้อมาก พวกเขาอาจเสมอทุนได้ อย่างไรก็ตาม การขายในราคา 9.9 หยวน/ครึ่งกิโลกรัม และ 11.9 หยวน/ครึ่งกิโลกรัม นั้นขาดทุนแน่นอน”
เบื้องต้น การทำสงครามราคาทุเรียนจะส่งผลต่อผู้ค้าปลีกเป็นหลัก ยังไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกทุเรียนอย่างไทย จากกรณีที่เกิดขึ้นที่เมืองเหอเฝย ผู้สื่อข่าวสื่อจีนได้สัมภาษณ์ พนักงานร้ายนไป่กั่วหยวน ซึ่งบอกกับนักข่าวว่าวันก่อนหน้าการสัมภาษณ์พวกเขาขายทุเรียนได้มากกว่า 3 ตัน
อย่างไรก็ตาม พนักงานบอกว่า “เมื่อวานเราขายทุเรียนครึ่งกิโลกรัมในราคา 11.9 หยวน ดังนั้นคุณคงเดาได้ว่าทุเรียน 1 ลูกขาดทุน 70 หยวน” เมื่อนักข่าวถามต่อว่าทางร้านจะรับมือการขาดทุนมหาศาลนี้ได้หรือไม่ พนักงานร้านตอบว่า “ไม่ต้องกังวล เรามีร้านค้าเครือข่ายหลายพันแห่งทั่วประเทศ”
ในแง่นี้จะเห็นว่าผู้ได้เปรียบที่สุดจากการทำสงครามราคาทุเรียนระหว่างผู้ค้าปลีกด้วยกัน ก็คือ ร้านที่มีเชนหรือสาขาทั่วประเทศอย่างเช่นร้านไป่กั่วหยวน ส่วนร้านท้องถิ่น ถ้าหาก "สายป่านไม่ยาว" ก็มีสิทธิที่จะต้องถอนตัวจากการทำสงครามนี้ หรืออาจจะ "เจ๊ง" ได้เลยด้วยซ้ำ
โดยทีมข่าวต่างประเทศ The Better
Photo by Nhac NGUYEN / AFP