จากข้อมูลของ Iran Watch ในปี 2022 พลเอกเคนเนธ แม็คเคนซี แห่งกองบัญชาการกลางของสหรัฐฯ กล่าวว่าอิหร่านมีขีปนาวุธพิสัยไกล “มากกว่า 3,000 ลูก” ซึ่งไม่รวมถึงกองกำลังขีปนาวุธร่อนโจมตีภาคพื้นดิน (LACM) ที่กำลังเพิ่มขึ้น
Iran Watch ระบุว่า ขีปนาวุธของอิหร่านหลายชนิดมีศักยภาพในการติดหัวรบนิวเคลียร์ เรื่องนี้ทำให้ประชาคมโลกกังวลมานาน จนมีมติที่ 2231 ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมีข้อความเรียกร้องให้อิหร่าน "ไม่ดำเนินกิจกรรมใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับขีปนาวุธพิสัยไกลที่ออกแบบมาให้สามารถขนส่งอาวุธนิวเคลียร์ได้" เป็นระยะเวลา 8 ปี
แต่มาตรการจำกัดของสหประชาชาติไม่ให้อิหร่านจัดหาเทคโนโลยีขีปนาวุธอิหร่าน และการคว่ำบาตรที่มุ่งเป้าไปที่องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาขีปนาวุธ หมดอายุลงในเดือนตุลาคม 2023 แต่ถึงกระนั้น แม้จะเผชิญกับมาตาการกีดกัน แต่อิหร่านก็ยังพัฒนาขีปนาวุธแบบต่างๆ ต่อไป
คำถามก็คือ ตอนนี้อิหร่านมีอาวุธนิวเคลียร์แล้วหรือยัง?
จากการประเมินของ The Heritage Foundation องค์กรที่ปรึกษาทางการเมืองของสหรัฐฯ และมีอิทธิพลอย่างมากในการกำหนดนโยบายสาธารณะของสหรัฐฯ ระบุว่า อิหร่านสามารถผลิตอาวุธนิวเคลียร์ได้รวดเร็วกว่าที่คาดไว้มาก ในช่วงปลายเดือนเมษายน 2024 สมาชิกรัฐสภาระดับสูงของอิหร่านกล่าวว่ามี "ช่องว่างเพียงหนึ่งสัปดาห์จากการออกคำสั่งไปจนถึงการทดสอบระเบิดนิวเคลียร์ครั้งแรก"
ต่อมาในเดือนกรกฎาคม แอนโธนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ดูเหมือนจะยืนยันคำกล่าวนี้โดยบางส่วนเมื่อเขาประกาศว่า "แทนที่จะอยู่ห่างจากการพัฒนาศักยภาพในการผลิตวัสดุฟิสไซล์สำหรับอาวุธนิวเคลียร์อย่างน้อยหนึ่งปี ตอนนี้ (อิหร่าน) อาจห่างออกไปเพียงหนึ่งหรือสองสัปดาห์" (Fissile material
หมายถึงวัสดุที่สามารถรักษาปฏิกิริยาลูกโซ่นิวเคลียร์ฟิชชันให้ยั่งยืน เป็ยนส่วนสำคัญของการผลิตพลังงานนิวเคลียร์)
โดยสรุปก็คือ Heritage ประเมินว่า อิหร่านมีความสามารถที่จะผลิตอาวุธนิวคเลียร์ในเวลาไม่นาน โดยสรุปจากข้อมูลแวดล้อมต่างๆ "เรา (สหรัฐฯ) ต้องสันนิษฐานว่าแหล่งยูเรเนียมเสริมสมรรถนะสูงของเตหะรานสามารถเปลี่ยนเป็นเชื้อเพลิงเกรดอาวุธที่เพียงพอต่อการผลิตระเบิดนิวเคลียร์จำนวนหนึ่งได้ภายในไม่กี่วัน"
และการที่อิหร่านจะกลายเป็นภัยคุกคามต่อสหรัฐฯ ได้นั้น "อิหร่านจะต้องติดตั้งหัวรบนิวเคลียร์เหล่านี้ลงบนขีปนาวุธหรือยานพาหนะขนส่งอื่นๆ ดังนั้น จึงมีความสำคัญที่อิหร่านจะต้องทดสอบยานปล่อยอวกาศหลายขั้น (SLV) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่สามารถใช้งานได้สองแบบ" นั่นหมายความว่า ควบคู่ไปกับการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งอิหร่านใกล้จำทำสำเร็จแล้ว ยังเหลือการทดลองขีปนาวุธสำหรับติดตั้งหัวรบไปพร้อมๆ กันด้วย
ปัจจุบัน อิหร่านมีขีปนาวุธที่มีพิสัยไกลและแบกน้ำหนักได้มากหลายประเภท เช่น
- Simorgh มีพิสัย 4,000-5,000 กิโลเมตร แบกน้ำหนักได้ 500-750 กิโลกรัม
- Zuljanah มีพิสัย 4,000-5,000 กิโลเมตร แบกน้ำหนักได้ 1,000 กิโลกรัม
- Ghaem-100 มีพิสัย 3,000-4,000 กิโลเมตร แบกน้ำหนักได้ 1,000 กิโลกรัม
- Khorramshahr-1, -2, และ -4 มีพิสัย 2,000-3,000 กิโลเมตร แบกน้ำหนักได้น้อยกว่า 750 กิโลกรัม
- Qased มีพิสัย 2,200 กิโลเมตร แบกน้ำหนักได้ 1,000 กิโลกรัม
- Sejjil มีพิสัย 2,000 กิโลเมตร แบกน้ำหนักได้น้อยกว่า 750 กิโลกรัม
จะเกิดอะไรขึ้นถ้าอิหร่านกลายเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์? ต่อไปนี้เป็นการประเมินโดย Heritage
1. ผลกระทบทางเศรษฐกิจ
เนื่องจากภูมิภาคตะวันออกกลางเป็นแหล่งน้ำมันหลัๆ ของโลก และเส้นทางสัญจรสำคัญของเรือสินค้า (เช่น คอลสุเอซ) หากอิหร่านมีอาวุธนิวเคลียร์ "จะสร้างความไม่แน่นอนในระดับสูงให้กับตลาดโลก นักลงทุนอาจมองว่าตะวันออกกลางมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นและตัดสินใจถอนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน อุตสาหกรรม และภาคเศรษฐกิจอื่นๆ โดยเฉพาะสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และซาอุดีอาระเบียใช้เวลาหลายปีในการดำเนินการปฏิรูปที่สำคัญในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจของตนเพื่อเพิ่มการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ"
2. ความกังวลด้านความมั่นคง
การมีอาวุธนิวเคลียร์จะทำให้อิหร่านมีความกล้าและความมั่นใจมากขึ้นที่จะโจมตีศัตรู "ในสถานการณ์นี้ ผู้นำอิหร่านจะรู้สึกกล้าที่จะโจมตีผลประโยชน์ของสหรัฐฯ และพันธมิตร (เช่น อิสราเอล) มากขึ้นหรือบ่อยขึ้น ซึ่งรวมถึงการโจมตีด้วยขีปนาวุธต่อเป้าหมายในภูมิภาค การใช้ตัวแทนในภูมิภาคอย่างแพร่หลายมากขึ้น เช่น กลุ่มฮิซบอลเลาะห์และกลุ่มฮูษี และการโจมตีโดยตรงต่อผลประโยชน์ของสหรัฐฯ และพันธมิตรในภูมิภาค อิหร่านอาจทำเช่นนั้นเพราะเชื่อว่าคลังอาวุธนิวเคลียร์ขนาดเล็กจะปกป้องตนเองจากการตอบโต้ได้"
3. อาวุธนิวเคลียร์อาจกระจายตัว
มีเงื่อนไขที่ปรากฏตัวก่อนหน้านี้แล้วว่า หากอิหร่านมีอาวุธนิวเคลียร์ ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคตะวันออกกลางอาจแสวงหาอาวุธนิวเคลียร์ของตนเอ "งเพื่อยับยั้งการกระทำของอิหร่านและสร้างเสถียรภาพให้กับภูมิภาค" ตัวอย่างเช่น มกุฎราชกุมารโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน ซึ่งเป็นผู้นำซาอุดีอาระเบียในทางพฤตินับ เคยกล่าวไว้ว่าหากอิหร่านครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ ซาอุดีอาระเบียก็จะแสวงหานิวเคลีย์มาครองเช่นกัน อีกประเทศที่อาจทำตามคือตุรกี
ทีมข่าวต่างประเทศ The Better
Photo by Zain JAAFAR / AFP