ไทยเอาไงดี? จีนปลูก'หมอนทอง'เองได้สำเร็จ เนื้ออวบหวานมากถึง 34% 

ไทยเอาไงดี? จีนปลูก'หมอนทอง'เองได้สำเร็จ เนื้ออวบหวานมากถึง 34% 

สำนักข่าวจี๋มู่ (极目新闻) ของจีนรายงานเมื่อวันที่ 29 กันยายนว่า "เมื่อไม่นานมานี้ มีข่าวดีจากสิบสองปันนา มณฑลยูนนาน ว่าการทดลองปลูกทุเรียนประสบความสำเร็จ" โดยเนื้อหาของข่าวระบุว่าชาวบ้านในพื้นที่ได้ปลูกทุเรียนหมอนทองบนระดับความสูงมากกว่า 970 เมตร เป็นเวลา 5 ปี และทำเรียนที่ปลูกสามารถผ่านพ้นฤดูหนาวและออกผลได้ตามปกติ โดยกระบวนการนี้กินเวลานานเกือบ 10 เดือน นับตั้งแต่ที่ผลทุเรียนออกดอกในเดือนมกราคม 2024 จนกระทั่งผลสุกเมื่อไม่นานนี้ "นอกจากผลจะอวบอ้วนแล้ว เนื้อยังหอมสดชื่น และมีความหวานเกิน 34%"

ปริมาณการปลูกที่สิบสองปันนาตามรายงานนี้ยังมีจำนวนต้นไม่มากนัก แต่ถือว่าเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญของการเพาะพันธุ์ทุเรียนหมอนทองของไทยในประเทศจีน เนื่องจากทุเรียนจะต้องอาศัยสภาพอากาศที่เหมาะสมในการให้ผลผลิต แต่ผลลัพธ์จากการปลูกที่สิบสองปันนา แสดงให้เห็นว่าพื้นที่นี้มีศักยภาพในการปลูกทุเรียนหมอนทองแล้ว

ผู้สื่อข่าวของสำนักข่าวจี๋มู่พบว่าถึงแม้ทุเรียนสามารถปลูกได้ในพื้นที่เขตร้อนของมฑณลไหหลำ (มณฑลหไห่หนาน) กวางตุ้ง (มณฑลหกว่างตง) กวางสี (เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง) ยูนนาน (มณฑลหยุนหนาน) และที่อื่นๆ ในประเทศจีน แต่มีเพียงไหหลำเท่านั้นที่ปลูกได้สำเร็จในปริมาณน้อยในพื้นที่ขนาดใหญ่ 

“หมู่บ้านก้านเจี๋ย ซึ่งเป็นที่ตั้งของบ้านเจ่อต้า (ผู้ปลูกทุเรียน) นั้นอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลมากกว่า 970 เมตร ทุเรียนที่เขาปลูกสามารถอยู่รอดในช่วงฤดูหนาวได้ตามปกติและให้ผลสำเร็จ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสิบสองปันนา ก็สามารถมีทุเรียนที่ 'สุกงอม' ได้เช่นกัน เรื่องนี้ทำให้บรรดานักวิจัยทางวิทยาศาสตร์และผู้ปลูกทุเรียนในสิบสองปันนา ซึ่งกำลังปลูกทุเรียนมีความมั่นใจมากขึ้น” หรงอวี๋หง (荣渝虹) หัวหน้าทีมวิจัยเพื่อการสำรวจและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรพันธุกรรมพืชที่มีเทคโนโลยีสูง หายาก และมีคุณภาพดีเยี่ยมของสถาบันวิทยาศาสตร์พืชเขตร้อนแห่งยูนนาน (云南省热带作物科学研究所) กล่าว

ทั้งนี้ หลังจากทราบข่าวว่าทุเรียนออกผลสำเร็จแล้ว หรงอวี๋หงและสมาชิกในทีมวิจัยจึงเดินทางมาที่บ้านของเจ่อตา โดยเร็วที่สุดเพื่อตรวจสอบการเจริญเติบโตของต้นทุเรียนที่ออกผล

รายงานข่าวระบุว่า หลังจากทดสอบเปรียบเทียบกับทุเรียนไทยแล้ว ทุเรียนที่บ้านเจ่อต้า ปลูกมีผลเต็มลูก เนื้อหอมสดชื่น และมีความหวานมากกว่า 34% ให้ผลดีทั้งในเรื่องความหวานและรสชาติ  

นอกจากนี้ผู้สื่อข่าวได้ทราบว่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ในอำเภอเมืองล้า จังหวัดปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนา และพื้นที่กาตงรอบๆ เมืองจิ่งหง หรือเมืองเชียงรุ่ง เกษตรกรบางส่วนได้เริ่มปลูกทุเรียนด้วยตนเองแล้ว นอกจากนี้ ยังมีเกษตรกรในเขตต่าลั่วของอำเภอเมืองฮายที่พยายามปลูกทุเรียนในปริมาณน้อยในขนาดใหญ่

นอกจากเกษตรกรรายบุคคลที่กำลังศึกษาการเพาะปลูกทุเรียนแล้ว สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์พืชเขตร้อนของยูนนานยังพยายามคัดเลือกและเพาะพันธุ์ทุเรียนทนความหนาวเย็นที่เหมาะสำหรับการปลูกในเขตร้อนของสิบสองปันนา ตลอดจนวิจัยเทคนิคการเพาะปลูกและการจัดการ รวมถึงเทคนิคการเพาะพันธุ์ต้นกล้า ปัจจุบัน มีการนำทุเรียนมากกว่า 70 สายพันธุ์มาปลูก เช่น ทุเรียนหนามดำ (จากมาเลเซีย) ทุเรียนมูซังคิง (จากมาเลเซีย)และทุเรียนหมอนทอง (จากไทย) และร่วมมือกับภาคเอกชนในการก่อสร้างและปลูกฐานทดลองทุเรียนขนาด 10 เอเคอร์ให้แล้วเสร็จ ภายในสิ้นปีนี้ ฐานทดลองจะขยายเป็นมากกว่า 200 เอเคอร์  

นอกจากเหนือจากการเพาะพันธุ์ทุเรียนแล้ว ทีมวิจัยยังกำลังพัฒนาเพาะพันธุ์อินทผลัมสดของไทย โกโก้ เงาะ และผลไม้ชนิดอื่นๆ ที่หายากในตลาดภายในประเทศจีนและมีศักยภาพในการพัฒนาสูง  

รายงานต่อและเรียบเรียงโดย ทีมข่าวต่างประเทศ The Better

Photo - ภาพประกอบการรายงานข่าว ถ่ายเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2567 แสดงให้เห็นภายในทุเรียนที่สวนทุเรียน BB Garden ในจังหวัดจันทบุรี ทางตะวันออกของประเทศไทย (ภาพโดย Lillian SUWANRUMPHA / AFP)
 

TAGS: #ทุเรียน #จีน #หมอนทอง