เปิดโปร์ไฟล์ผู้ชายไม่ธรรมดา เมื่ออัจฉริยะแห่ง ETH ยังต้องไปดู'หมูเด้ง'

เปิดโปร์ไฟล์ผู้ชายไม่ธรรมดา เมื่ออัจฉริยะแห่ง ETH ยังต้องไปดู'หมูเด้ง'

วันนี้เพจ 'ขาหมู แอนด์เดอะแก๊ง' ซึ่งเป็นเพจทางการของ 'หมูเด้ง' และผองเพื่อน ซึ่งดูแลโดยสวนสัตว์เปิดเขาเขียว ได้โพสต์ภาพชุดหนึ่งเป็นภาพของชายชาวตะวันตกยืนคู่กับ 'พี่เบนซ์' อรรถพล ผู้ที่คอยดูแลหมูเด้งมาโดยตลอด 

หลังจากโพสต์ภาพนี้ลงไปได้สร้างความฮือฮาให้กับคนไทยไม่น้อย เพราะบุคคลในภาพถ่ายนี้คือ 

วิตาลิก บูเตริน (Vitalik Buterin) เป็นโปรแกรมเมอร์คอมพิวเตอร์ชาวแคนาดาและผู้ร่วมก่อตั้ง Ethereum คริปโทเคอร์เรนซี่ที่ทรงอิทธิพลเหรียญหนึ่งของโลก แต่ว่าเขาคนนี้มีอิทธิพลขนาดไหนต่อโลกการเงิน นี่คือโปรไฟล์ของเขา

1. บูเตรินเป็นเด็นอัจฉริยะ เขาเกิดที่ประเทศรัสเซีย ในครอบครัวชาวรัสเซีย พ่อของเขาเป็นนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ จากนั้นพ่อแม่ของเขาจึงอพยพไปยังแคนาดาเพื่อแสวงหาโอกาสการจ้างงานที่ดีกว่า ในขณะที่เรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในแคนาดา บูเตรินถูกจัดให้อยู่ในชั้นเรียนสำหรับเด็กที่มีพรสวรรค์และสนใจคณิตศาสตร์ การเขียนโปรแกรม และเศรษฐศาสตร์ โดยที่ บูเตรินเรียนรู้เกี่ยวกับ Bitcoin จากพ่อของเขาเมื่ออายุ 17 ปี

2. หลังจากจบมัธยมปลายแล้ว บูเตรินเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยวอเทอร์ลู เขาเรียนหลักสูตรขั้นสูงและเป็นผู้ช่วยวิจัยให้กับ เอียน โกลด์เบิร์ก (Ian Goldberg) นักเข้ารหัส ผู้ร่วมสร้าง Off-the-Record Messaging ซึ่งเป็นระบบที่จะเข้ารหัสสำหรับการสนทนาข้อความโต้ตอบแบบทันที  โกลด์เบิร์กยังเป็นอดีตประธานคณะกรรมการบริหารของ Tor Project ซึ่งเป็นระบบปกป้องความเป็นส่วนตัวในอินเตอร์เน็ตในปี 2012 บูเตนรินได้รับรางวัลเหรียญทองแดงในการแข่งขันโอลิมปิกระหว่างประเทศด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ในอิตาลี

3. ในปี 2013 เดินทางไปเยี่ยมนักพัฒนาระบบในประเทศอื่นๆ ที่มีความกระตือรือร้นในการเขียนโค้ดเช่นเดียวกับเขา หลังจากนั้นในปีนั้น เขาได้กลับไปที่โตรอนโตและตีพิมพ์เอกสารสมุดปกขาวเพื่อเผยแพร่ข้อเสนอสร้างคริปโทฯ Ethereum เขาเสนอว่า Ethereum จะสามารถเป็นเงินสกุลใหม่ที่จะใช้การประกันพืชผล การแลกเปลี่ยนแบบกระจายอำนาจ ไปจนถึง DAO ซึ่งเป็นองค์กรที่บริหารจัดการทั้งหมดหรือบางส่วนโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์แบบกระจายอำนาจ โดยมีการลงคะแนนเสียงและการเงินที่จัดการผ่านระบบบล็อคเชน

4. ในตอนนั้นเขายังเรียนอยู่ แต่หลังจากที่ได้รับทุน 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ เขาก็ลาออกจากมหาวิทยาลัยในปี 2014 และได้ทำงานเพื่อพัฒนา Ethereum แบบเต็มเวลา โดยเจ้าของทุนคือ Thiel Fellowship ซึ่งเป็นทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีอายุ 22 ปีหรือต่ำกว่า โดยมอบเงินทุนทั้งหมด 100,000 ดอลลาร์เป็นเวลา 2 ปี พร้อมด้วยคำแนะนำและทรัพยากรอื่นๆ เพื่อให้พวกเขาสามารถออกจากระบบการศึกษาเพื่อทำงานพัฒนาของตัวเอง

5. ระหว่างปี 2015 - 2021 บูเตรินผลักดันการพัฒนา Ethereum จนได้รับความนิยมในวงกว้าง โดยในเดือนมกราคม2018 Ethereum เป็นสกุลเงินดิจิทัลที่ใหญ่เป็นอันดับสองในแง่ของมูลค่าตลาด รองจาก bitcoin และเมื่อถึงปี 2021 Ethereumยังคงรักษาตำแหน่งนั้นไว้ได้ และยังมีการยกระดับขึ้นไปอีก โดยมีการเปลี่ยนจากระบบ Proof-of-Work ไปเป็น Proof-of-Stake ในวันที่ 15 กันยายน 2022 ช่วยลดการใช้พลังงานของ Ethereum ลงได้ 99% ซึ่งลดข้อครหาเรื่องคริปโทเคอร์เรนซี่ผลาญพลังงานอย่างหนักจนมีส่วนต่อภาวะโลกร้อน 

6. แต่บูเตรินไม่ได้สนใจแค่การกระจายอำนาจทางการเงิน ซึ่งเขาทำสำเร็จแล้วส่วนหนึ่งจากการให้กำเนิด Ethereum ในเวลานี้ บูเตรินได้ติดต่อกับนักเศรษฐศาสตร์ เกลน เวย์ล (Glen Weyl) ซึ่งเป็นนักวิพากษ์ระบอบทุนนิยมและความไม่เท่าเทียมเรื่องความมั่งคั่ง โดยที่บูเตรินสนใจแนวคิดนี้มากจนทวีตเกี่ยวกับข้อเสนอของเกลน เวย์ล เรื่องวิธีการเก็บภาษีความมั่งคั่งใหม่เพื่อกระจายรายได้ จากนั้นทั้งสองก็เขียนคำประกาศ Liberation Through Radical Decentralization (การปลดปล่อยผ่านการกระจายอำนาจทางการเงินแบบสุดโต่ง) ซึ่งพวกเขาเน้นย้ำถึงจุดร่วมระหว่างการพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลของบูเตรินและงานของแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ของเวย์ล เพื่อหาทางออกให้กับสังคมผ่านกลไกตลาด 

7. เกลน เวย์ล ยังสนใจที่จะหาแนวทางลงคะแนนเสียงเลือกตั้งอย่างเป็นธรรมด้วย และบูเตรินก็สนใจทำให้พวกเขาร่วมมือกับซูอี้ ฮิตซิก ( Zoe Hitzig) นักศึกษาปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และตีพิมพ์บทความในปี 2019 ชื่อว่า A Flexible Design for Funding Public Goods (การออกแบบที่ยืดหยุ่นสำหรับทรัพย์สินสาธารณะ) บทความดังกล่าวระบุวิธีการจัดหาสินค้าหรือทรัพย์สินสาธารณะที่เหมาะสมที่สุดโดยใช้การลงคะแนนเสียงแบบกำลังสอง (Quadratic voting) ซึ่งยูสเซอร์หือประชาชนทั่วไป จะสามารถ "จ่ายเงิน" เพื่อที่จะโหวตเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนประเด็นที่เขาต้องการมากขึ้น ส่งผลให้ผลลัพธ์ของการลงคะแนนสอดคล้องกับผลลัพธ์ที่ผู้ลงคะแนนเต็มใจจ่ายมากที่สุด แทนที่จะเป็นผลลัพธ์ที่คนส่วนใหญ่ต้องการโดยไม่คำนึงถึงความเข้มข้นของความชอบส่วนบุคคล การชำระเงินสำหรับการโหวตอาจทำได้โดยใช้สกุลเงินคริปโทฯ หรือสกุลเงินจริง

8. ในเดือนสิงหาคม 2022 เงินทุนแบบกำลังสองถูกใช้เพื่อจัดสรรเงินมากกว่า 20 ล้านดอลลาร์ให้กับโครงการซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส โดยส่วนใหญ่ใช้ผ่าน Gitcoin Grants ซึ่งเป็นโครงการระดมทุนรายไตรมาสที่ขับเคลื่อนโดยชุมชนซึ่งมุ่งหวังที่จะผลักดันโครงการสินค้าสาธารณะดิจิทัลที่มีผลกระทบสูงให้ก้าวไปข้างหน้าโดยการจัดสรรเงินทุนในชุมชน Ethereum

โดยทีมข่าวต่างประเทศ The Better

TAGS: #Vitalik_Buterin #Ethereum #หมูเด้ง