ดินแดนของ "ชนชาติว้า" และดินแดนของ "รัฐว้า" เป็นดินแดนที่ยากจะเข้าถึงและเต็มไปด้วยอันตราย ความลึกล้บและน่าเกรงขามของดินแดนและผู้คนเจ้าถิน ถูกบรรยาไว้ในหนังสือเรื่อง The United Wa State Army and Burma’s Peace Process ของ Bertil Lintner ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องกองกำลังชนกลุ่มน้อยในเมียนมา สรุปความเป็นไปในดินแดนของคนว้าเอาไว้อย่างกระชับและเห็นภาพประวัติศาสตร์ที่ผ่านได้อย่างเข้าใจง่ายว่า
"ชาวต่างประเทศได้สำรวจเทือกเขาว้า (Wa Hills) เป็นครั้งแรกในปี 1935 และ 1936 เมื่อคณะกรรมาธิการอีเซลิน (Iselin Commission ซึ่งจัดตั้งขึ้นภายใต้สันนิบาตชาติ) เริ่มกำหนดเขตแดนระหว่างเทือกเขาว้าและจีนให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งในที่สุดอังกฤษและจีนก็ตกลงกันในปี 1941 ถึงกระนั้น เทือกเขาว้าก็ไม่เคยถูกสำรวจอย่างเต็มที่ และแม้แต่ตอนนั้นก็ยังอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษและพม่าในเวลาต่อมาเท่านั้น ถนนสายแรกในพื้นที่นี้สร้างขึ้นในปี 1941 โดยวิ่งจากคุนลองใกล้แม่น้ำสาละวินไปยังชายแดนทางตอนเหนือของเทือกเขาว้า ถนนสายนั้นทำให้มิชชันนารีชาวตะวันตกสามารถเข้าไปในพื้นที่ได้ โดยผู้ที่โดดเด่นที่สุดในกลุ่มนี้คือ วินเซนต์ ยัง (Vincent Young) ซึ่งเป็นสาธุคุณศาสนจักรอเมริกันแบ๊บติสต์ และยังเป็นกำลังสำคัญในการกำหนดภาษาว้าด้วยอักษรโรมันด้วย"
วินเซนต์ ยัง เป็นลูกชายของ วิลเลียม มาร์คัส ยัง ( William Marcus Young) ซึ่งเป็นหนึ่งในชาวตะวันตกคนแรกๆ ทีเดินทางไปยังเมือกเขาว้าและพยายามที่จะเปลี่บยนศาสนาชาวว้า แต่ไม่ประสบความสำเร็จ แต่พวกเขากลายเป็นตำนานของคนกลั่มแรกๆ ที่กล้าหาญไปพบกับชาวว้า ซึ่งในเวลานั้นยังขึ้นชื่อในเรื่องความดุร้ายและการล่าหัวมนุษย์
เรื่องการล่าหัวมนุษย์ของชาวว้ามีบันทึกไว้อย่างละเอียดในบทความเรื่อง The Wild Wa - a Head Hunting Race เมื่อปี 1896 เนื้อหาส่วนหนึ่งเล่าไว้ว่า
"ในบรรดาชนเผ่าเหล่านี้ ชนเผ่าที่น่าดึงดูดใจที่สุดจากความป่าเถื่อนอันโดดเด่นของพวกเขาคือเผ่าว้า พวกเขาเป็นนักล่าหัว ชนเผ่าข้างเคียงทุกกลุ่มต่างเชื่ออย่างแน่วแน่ว่าพวกเขาเป็นพวกกินเนื้อคน นอกจากนี้ ยังมีการกล่าวกันในแหล่งเดียวกันว่าคนเหล่านี้มีความไม่หวาดหวั่น ไม่แยแสอะไร และไม่ยอมอ่อนข้อใดๆ"
"พวกเขาตั้งรกรากที่นี่มาระยะหนึ่งแล้ว เกินกว่าความทรงจำของมนุษยชาติจะจดจำได้ และเพื่อนบ้านของพวกเขาไม่มีใครสามารถทำความรู้จักกับพวกเขาได้ หรือแม้แต่จะบุกเข้าไปในดินแดนของพวกเขาตามใจชอบ"
"พม่าส่งกองทัพไปเอาทองคำจากชเวทามินชอง หรือลำธารกวางทอง (ในถิ่นของชาวว้า) แต่ผู้คนทั้งหมดเสียชีวิตและไม่ได้ทองคำไป ชาวจีนส่งคณะสำรวจไปเรียกร้องค่าชดใช้ศีรษะที่ถูกลักลอบตัดไปหลายครั้ง การทำแบบนั้นก็เพียงแต่ช่วยให้พวกว้าได้ศีรษะเพิ่มขึ้นมาประดับถนนในหมู่บ้านว้า กลุ่มชาวอังกฤษกลุ่มหนึ่งได้เดินทางผ่านใจกลางดินแดนดงดิบของว้า และพวกเขาอาจเป็นคนแปลกหน้ากลุ่มเดียวที่เคยทำเช่นนี้ เป็นไปได้ที่การเดินทางแบบนี้จะไม่เกิดขึ้นอีกสักระยะหนึ่ง"
ส่วนสาเหตุที่ชาวว้ามีธรรมเนียมการล่าหัวมนุษย์ มาจากตำนานการก่อเกิดของชนชาตินั่นเอง ในบทความนี้ได้อธิบายได้ว่า
"ชาวว้าอ้างว่าตนเกิดมาจากลูกอ๊อดเป็นบรรพบุรุษแรกเริ่มของพวกเขา ชาวว้าในยุคดึกดำบรรพ์ถูกเรียกว่า "ปู่ทอย" (Pu Htoi) และ ย่าทอย (Ya Htoi) เมื่อยังเป็นลูกอ๊อด พวกเขาใช้ชีวิตช่วงแรกๆ ในหนองเขียว (Nawng HKeo) ทะเลสาบลึกลับบนยอดเขาสูงเจ็ดพันฟุต ในใจกลางดินแดนของชนเผ่ายนักล่าหัวมนุษย์ เมื่อพวกเขากลายเป็นกบ พวกเขาก็อาศัยอยู่บนเนินเขาที่ชื่อว่าน้ำเต้า (Nam Tao) และเมื่อเติบโตขึ้น พวกเขาก็กลายเป็นยักษ์และตั้งรกรากอยู่ในถ้ำแห่งหนึ่งชื่อปากกะเต (Pakkatè) ห่างจากทะเลสาบบนภูเขาไปทางใต้ประมาณสามสิบไมล์ และบนเนินทางตะวันตกของเทือกเขา จากถ้ำแห่งนี้ พวกเขาออกเดินทางไปทุกทิศทุกทางเพื่อหาอาหาร และในตอนแรกก็พอใจกับกวาง หมูป่า แพะและวัว ตราบใดที่อาหารนี้เป็นอาหารเพียงอย่างเดียวของพวกมัน พวกเขาก็ไม่มีลูก แต่สุดท้ายแล้ว ทุกตนก็หันมากินมนุษย์เป็นอาหาร ซึ่งเป็นลักษณะเด่นที่สุดของพวกมัน รองจากตาสีแดงและไม่มีเงา วันหนึ่ง ปู่ทอยและย่าทอยเดินทางไปไกลมากจนมาถึงดินแดนที่มนุษย์อาศัยอยู่ พวกเขาจับมนุาย์คนหนึ่งมากินและนำกะโหลกของเขาไปที่ถ้ำปากกะแต หลังจากนั้น พวกเขาก็มีลูกอสูรยักษ์จำนวนมาก ซึ่งทั้งหมดล้วนมีรูปร่างเหมือนมนุษย์ ดังนั้นพ่อแม่จึงนำกะโหลกมนุษย์ไปวางบนเสาแล้วบูชา มีลูกชายเก้าคนซึ่งตั้งรกรากอยู่ในหุบเขาทั้งเก้าแห่งของชาวว้า ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ทางตะวันตก และขยายพัน ธุ์และสร้างลูกหลานได้อย่างรวดเร็ว ลูกสาวสิบคนตั้งรกรากอยู่บนเนินเขาและมีจำนวนมากยิ่งกว่า ลูกหลานของพวกเขาเป็นผู้ล่าหัวมนุษย์กันทั้งหมด และกะโหลกที่ล่ามาเหล่านี้มักจะเป็นของผู้ชาย ... ปู่ทอย และ ย่าทอย ได้สั่งสอนลูกหลานของตนว่าต้องมีกะโหลกศีรษะมนุษย์ในถิ่นฐานของตนเสมอ หากไม่มีสิ่งนี้ พวกเขาก็จะไม่มีความสงบสุข ความอุดมสมบูรณ์ ความเจริญรุ่งเรือง ความสะดวกสบาย หรือความสุข และเรื่องนี้ก็ได้รับการปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดเสมอมา"
สำหรับศีรษะมุนษย์ที่ล่ามาได้ จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของการปรกอบพิธีกรรมของชาวว้า บทความระบุว่า "เมื่อมีการก่อตั้งหมู่บ้านใหม่ กะโหลกศีรษะจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง หากเกิดภัยแล้งซึ่งคุกคามต่อความล้มเหลวของพืชผล จะไม่มีวิธีการใดที่จะนำมาซึ่งฝนได้ดีเท่ากับการถวายกะโหลกศีรษะ หากโรคระบาดคร่าชีวิตผู้คนไปจำนวนมาก กะโหลกศีรษะเพียงหัวเดียวก็จะช่วยหยุดยั้งโรคระบาดได้"
หัวมนุษย์ที่ได้มาไม่จำเป็นจะต้องมาจากการสังหารผู้คนเสมอไป "ยักษ์ผู้ปกครองที่ดีในอดีตเคยพูดไว้อย่างชัดเจนว่าชาวบ้านไม่จำเป็นต้องฆ่าคนๆ หนึ่งเพื่อจะได้หัวของคนผู้นั้นมา พวกเขาอาจซื้อหรือแลกเปลี่ยนหัวกะโหลกก็ได้"
อย่างไรก็ตาม "เป็นที่สังเกตได้ว่าลูกหลานของเด็กชายเก้าคนแรกในปัจจุบันส่วนใหญ่ซื้อกะโหลกศีรษะของตนเองหรือใช้หัวของผู้ชายที่ถูกประหารชีวิตในข้อหาอาชญากรรม (หมายถึงว้าเชื่อง) ส่วนลูกหลานของลูกกสาวยักษ์สิบคนที่อาศัยอยู่บนเนินเขามักจะออกไปตัดหัวของตัวเอง (หมายถึงว้าป่า) บางทีอาจเป็นเพราะว่าต้องการหัวของผู้ชาย ไม่ใช่ของผู้หญิง"
บทความใน Asia Harvest ซึ่งเป็นองค์กรเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในหมู่ชาวว้าระบุว่า “ชาวว้าเป็นนักล่าหัว มีเพียงปีละครั้งเท่านั้น ในฤดูเพาะปลูก ชาวเผ่าว้าจะรู้สึกว่าวิญญาณกระหายเลือดบังคับให้พวกเขาปลูกหัวมนุษย์ในทุ่งนาพร้อมกับเมล็ดพันธุ์ เพียงเพื่อให้แน่ใจว่าจะได้ผลผลิตดี ชนเผ่าใกล้เคียงมักอยากออกไปเที่ยวพักผ่อนเมื่อชาวว้าปลูกพืชผล แต่โชคไม่ดีที่พวกเขาต้องปลูกพืชผลในตอนนั้นด้วย"
ส่วนคำถามสำคัญก็คือ พวกว้าล่าหัวมนุษย์อย่างเดียว หรือว่ากินเนื้อมนุษย์ด้วย?
"หัวข้อที่ถกเถียงกันมากในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม เป็นที่แน่ชัดว่าชาวว้าไม่ใช่พวกกินเนื้อคนอย่างน้อยก็ไม่ใช่พวกกินเนื้อคนเป็นนิสัย เพื่อนบ้านของพวกเขาทุกคน ไม่ว่าจะเป็นชาวจีน ชาวพม่า ชาวไทใหญ่ ชาวเมืองแลม และชาวลาหู่ต่างก็ยืนกรานว่าเรื่องนี้เป็นความจริง และเป็นที่เชื่อกันอย่างมั่นคงจนดูเหมือนว่าในโอกาสพิเศษ เช่น ในงานเลี้ยงเก็บเกี่ยวประจำปี อาจมีการกินเนื้อมนุษย์เพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนา การระลึกถึงอาหารที่ทำให้บรรพบุรุษชาวว้ารุ่นแรกมีลูกหลานและกำเนิดเผ่าพันธุ์ขึ้นมานั้นถือเป็นการรำลึกถึงความศรัทธา อย่างไรก็ตาม ชาวว้าเอง แม้แต่ชาวว้าป่า ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนกฎและระเบียบข้อบังคับอย่างสุดความสามารถ ก็ยังปฏิเสธเรื่องนี้" แต่ทว่า "คนไทใหญ่ยังคงเชื่อมั่นอย่างแน่วแน่ว่าชาวว้ากินพ่อแม่ของพวกเขา เมื่อพวกเขาแก่และอ่อนแอ"
เหมือนที่กล่าวไว้ข้างต้น หากไม่นับธรรมเนียมเรื่องล่าหัวคนแล้ว ดูเหมือนว้าจะมีระเบียบทางสังคมที่เข้มงวดพอสมควร บทความระบุไว้ว่า
"ส่วนชาวว้าป่านั้นนอกจากจะเก็บหัวคนได้แล้ว พวกเขาไม่ได้เป็นเพื่อนบ้านที่เลวร้ายเลย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกเขาไม่มีนิสัยขโมยวัวและทรัพย์สินจากหมู่บ้านในหุบเขาและที่ราบลุ่มเหมือนชาวเขาอื่นๆ ชีวิตในหุบเขานั้นไม่ค่อยมีคุณค่าอะไรมากนักหากมีการฆ๋ากันฆาตกรก็เพียงแต่จ่ายสินไหมค่าหลั่งเลือดก็พ้นผิดได้ แต่โจร โดยพวกโจรปล้นวัว จะถูกยิงหรือไม่ก็ถูกตรึงขาหย่างประจาน (ให้ตาย) อย่างแน่นนอน"
"ชาวว้าไม่ใช่โจร ทรัพย์สินอะไรก็ตามไม่มีทางยั่วยวนพวกเขา พวกเขาจะโยนถุงทับทิมทิ้งไปหากจะทำให้พวกเขาสามารถพกหัวกะโหลกได้อีกหัว หัวที่พวกเขาได้มานั้นมักจะเป็นของพ่อค้าเร่หรือคนไร้ประโยชน์ที่เร่ร่อน และชาวไทยใหญ่หรือชาวจีนที่มีฐานะมั่งคั่งมองว่าเหตุการณ์เช่นนี้ไม่คุ้มที่จะไปยุ่งวุ่นวาย ไม่ต้องสงสัยเลยว่าการลงโทษหมู่บ้านว้าต้องใช้กำลังพลที่แข็งแกร่งและปืนใหญ่ ทั้งสองอย่างนี้ไม่เกิดขื้นในดินแดนชายแดนกับจีนหรือในรัฐฉาน"
"นอกจากนี้ ว้าป่า (Wild Wa) อย่างน้อยก็อยู่ฝั่งตะวันตกหรือฝั่งอังกฤษ (หมายถึงรัฐฉานของอังกฤษ ฝรั่งตะวันออกคืออินโจีนของฝรั่งเศส) แยกจากกลุ่มคนที่เป็น "ว้าเชื่อง" (Tame Wa) ซึ่งไม่ได้ประกอบอาชีพล่าหัวมนุษย์ พวกเขาใช้หัวของผู้กระทำความผิด (ที่ถูกประหาร) หรือซื้อกะโหลกศีรษะจากพวกในเขตล่าหัวมนุษย์ที่สะสมเอาไว้ เราต้องพยายามเลิกล่าหัวสัตว์เหล่านี้ผ่านกลุ่มคน "ว้าเชื่อง" เหล่านี้ หากจำเป็น ก็ต้องส่งกะโหลกศีรษะประกอบจำนวนมากจากเบอร์มิงแฮมไปให้" (หมายถึงการส่งกะโหลกศีรษะมนุษย์ปลอมที่ผลิตในเมืองเบอร์มิงแฮมไปให้พวกว้า)
ในเรื่องของ "ว้าเชื่อง" และ "ว้าป่า" Bertil Lintner อธิบายเพิ่มเติมว่า
"ก่อนและหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวเขาวาถูกแบ่งออกเป็นพื้นที่ "ว้าเชื่อง" และ "ว้าป่า" ชาวว้าเชื่องคือผู้ที่รับเอาประเพณีของชาวไทใหญ่ เรียนรู้ที่จะพูดภาษาไทใหญ่ และหันมานับถือศาสนาพุทธ พื้นที่ที่พวกเขาอาศัยอยู่เรียกว่าเมืองลุนและครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของเทือกเขาว้าทางตอนใต้ โดยส่วนใหญ่อยู่รอบเมืองปางยาง ที่เมืองลุนมีเจ้าฟ้าหรือเจ้าชาย (ซอบวาในภาษาพม่า) ของตนเอง ซึ่งติดต่อกับราชวงศ์อื่นๆ ของเจ้าฟ้าชาวไทใหญ่2 ในช่วงตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงการประกาศเอกราชในปี 1948 รัฐบาลอังกฤษได้แต่งตั้งฮาโรลด์ ยัง มิชชันนารีชาวอเมริกันและพี่ชายของวินเซนต์ ยัง ให้เป็นผู้ดูแลพื้นที่ว้าเชื่อง แต่แม้แต่ที่นั่น อำนาจของเขาก็ยังจำกัด ชาวว้าป่าที่อาศัยอยู่ในเนินเขาทางตอนเหนือและตะวันออกแทบไม่มีการติดต่อกับโลกภายนอกเลย"
ทุกวันนี้ดินแดนของ "รัฐว้า" ก็ยังเป็นดินแดนอันห่างไกลและยากที่จะเข้าถึงง่าย ซึ่งทำให้มีแต่คนว้าที่ครอบครองดินแดนเหล่านั้น และอาจเป็นสาเหตุให้คนว้ารู้ว่าพวกเขาไม่ต้องพึ่งคนนอก และยังมีสำนึกของการปกครองตนเองสูงมากด้วย ในบทความของ เอ่ยถึงมูลเหตุทางประวัติศาสตร์ของเรื่องนี้ไว้ว่า
"คณะกรรมการสอบสวนพื้นที่ชายแดนซึ่งริเริ่มโดยอังกฤษ ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อสืบหาความคิดเห็นของชนกลุ่มน้อยจำนวนมากในพม่าก่อนได้รับเอกราช รายงานในปี 1947 ... เมื่อถูกถามว่าพวกเขาอยากเข้าร่วมกับรัฐฉานที่เป็นส่วนหนึ่งของสหภาพพม่าที่เสนอขึ้นหรือไม่ คำตอบคือ “เราไม่อยากเข้าร่วมกับใคร เพราะในอดีตเราเป็นอิสระมาก” เมื่อถูกถามว่าพวกเขาต้องการโรงเรียน โรงพยาบาล และถนนในพื้นที่ของตนหรือไม่ พวกเขาตอบว่า “พวกเราเป็นคนป่าเถื่อนมาก และไม่เห็นคุณค่าของสิ่งเหล่านี้”
แม่ว่าเมืองลุนของว้าจะกลายเป็นหนึ่งในรัฐฉานนั้นหลังจากพม่าได้รับเอกราชในปี 2491 แจาหลังจากนั้นไม่กี่สิบปี อาจเป็นเพราะได้ผู็นำที่แข็งแกร่ง อย่าง เป้าโหย่วเสียง หรืออาจเพราะธณรมชาติของความเป็นนักสู้และผู้รักอิสระ ชาวว้าก็สร้างกองทัพและรัฐที่มีโครงสร้างการปกครองที่เป็นระบบ จนสามารถสร้างรัฐที่ปกครองตนเองได้ และแข็งแกร่งยิ่งกว่าชนกลุ่มน้อยกลุ่มใดๆ ในรัฐฉานเสียอีก
บทความโดย กรกิจ ดิษฐาน ผู้ช่วยบรรณาธิการบริหาร และบรรณาธิการข่าวต่างประเทศ The Better
Photo - หน่วยรบพิเศษซุ่มยิงของกองทัพรัฐว้าของสหรัฐ (UWSA) เข้าร่วมขบวนพาเหรดทางทหารเพื่อรำลึกถึงการหยุดยิงที่ลงนามร่วมกับกองทัพเมียนมาร์ในรัฐว้า 30 ปี ที่เมืองปางซาง เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2562 / AFP / Ye Aung THU