ลุ่มน้ำโขงเจอภัยแล้งน้ำท่วมหนักเพราะโลกร้อน 6 ประเทศรอไ่ม่ได้เร่งร่วมมือสู้ภัยคุกคามใหม่

ลุ่มน้ำโขงเจอภัยแล้งน้ำท่วมหนักเพราะโลกร้อน 6 ประเทศรอไ่ม่ได้เร่งร่วมมือสู้ภัยคุกคามใหม่
การควบคุมแม่น้ำโขงอย่างมีประสิทธิภาพ จะช่วยรับมือโลกร้อนตัวการแล้งและน้ำท่วมรุนแรง

ในการประชุม Round-table for "2024 Lancang-Mekong Trip" เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2024 ที่เมืองจิ่งหง เขตสิบสองปันนา มณฑลยูนนาน ประเทศจีน ระหว่างผู้แทนของประเทศสมาชิกกรอบความร่วมมือกลุ่มประเทศแม่น้ำหลันชัง-แม่น้ำโขง (LMC) ซึ่งประกอบไปด้วย กัมพูชา จีน ลาว เมียนมา ไทย และเวียดนาม ได้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การบริหารจัดการแหล่งน้ำสายหลัก คือแม่น้ำหลันชัง-แม่น้ำโขง รวมถึงแหล่งน้ำสาขา ตลอดจนถึงการรับมือกับภัยพิบัติที่เกิดขึ้นจากภัยธรรมชาติที่รุนแรงขึ้น จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศโลก

ผู้แทนจากจีนและประเทศสมาชิกและผู้เชี่ยวชาญจากจีน ได้ชี้ให้เห็นว่า การเปลี่ยนของสภาพอากาศรุนแรง หรือ Extreme climate ทำให้เกิดภาวะแล้งจัดและน้ำท่วมที่รุนแรงขึ้น หากปราศจากการบริหารจัดการแม่น้ำสายหลักที่มีประสิทธิภาพ ก็อาจทำให้สถานการณ์ยิ่งรุนแรงกว่าเดิม ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความร่วมมือที่แน่นแฟ้นมากขึ้นของประเทศสมาชิกในการแบ่งปันข้อมูลปริมาณน้ำ 

เลขาธิการของศูนย์ LMC Water Center คือ โจวจื้อเวย (Zhou Zhiwei)  กล่าวว่า ในปี 2016 แอ่งแม่น้ำโขง (Mekong river basin) หรือลุ่มแม่น้ำโข
ประสบกับภัยแล้งที่รุนแรงอย่างมาก ในปี 2019 อ่างแม่น้ำโขงประสบกับภัยแล้วที่รุนแรงที่สุดในช่วงเวลาเกือบ 120 ปี และความแห้งแล้งยืดเยื้อมาจนถึงปี 2020 และในปีนี้ภูมิภาคนี้เผชิญกับใต้ฝุ่นยางิและใต้ฝุ่นอื่นๆ ทำให้เกิดน้ำท่วมรุนแรง LMC จึงเล็งเห็นถึงการที่จะต้องกระชับความร่วมมือให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นเพื่อรับมือกับภัยพิบัติ เช่น การสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ การบรรลุแนวทางร่วมกัน และนโยบายที่เหมาะสม ไปจนถึงการปรับปรุงระบบเตือนภัยน้ำท่วมและภัยแล้งอันเป็นผลมาจากภาวะโลกร้อน

การประชุมครั้งนี้เชิญเจ้าหน้าที่จากไทยและลาวมาบรรยายสรุปสถานการณ์น้ำท่วมรุนแรงโดยเฉพาะเพื่อแบ่งปันประสบการณ์จากการบริหารน้ำ เนื่องจากไต้ฝุ่นทำให้เกิดน้ำท่วมใหญ่ในลาวและไทย 

โดยผู้แทนของฝ่ายไทยคือ ได้ นายฐนโรจน์ วรรัฐประเสริฐ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการน้ำแห่งชาติ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้กล่าวในระหว่างการแบ่งปันประสบการณ์ของไทยในการรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยเฉพาะปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นล่าสุดทางภาคเหนือของไทยว่า ตอนเหนือของไทยประสบน้ำท่วมเป็นน้ำท่วมที่รุนแรงที่สุดใหลายทศวรรษ ซึ่งเป็นภัยพิบัติที่เกิดจากฝนตกหนักและไม่ใช่ผลจากการเอ่อล้นของระดับน้ำในแม่น้ำโขง ซึ่งขอบคุณทุกฝ่ายในจีนที่ที่พยายามลดระดับการปล่อยน้ำจากเขื่อนจิ่งหง ในสิบสองปันนาที่ช่วยลดความรุนแรงจากน้ำท่วมในเมืองไทยได้

ทั้งนี้ น้ำท่วมในภาคเหนือของไทยโดยเฉพาะในจังหวัดเชียงราย และอำเภอแม่สายเกิดจากสายน้ำที่ไหลผ่านในประเทศไทยและในเมียนมาแล้วไปลงที่แม่น้ำโขง ซึ่งหากมีการปล่อยน้ำจากแม่น้ำโขงตอนบนในส่วนของจีน ก็อาจทำให้ระดับน้ำโขงในตอนล่างเอ่อล้นขึ้นมาพร้อมๆ กันได้ซึ่งจะเป็นการซ้ำเตมสถานการณ์ตอนล่างของแม่น้ำให้รุนแรงขึ้น ดังนั้น ทางจีนจึงกักน้ำไว้และลดระดับการปล่อยน้ำให้ต่ำลงมากกว่าปกติแต่ก็ยังเพียงพอต่อการสัญจรทางเรือ

สทนช. จึงชี้ว่าการประชุมครั้งนี้จึงสำคัญมาก เพราะเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่เหมาะสมในอันที่จะเป็นการช่วยช่วยป้องกันภัยในอนาคต โดยการประชุมความร่วมมือกลุ่มประเทศแม่โขงที่ไทยก็มีการพูดถึงปัญหาโลกร้อนเป็นประเด็กหลัก และฝ่ายไทยต้องการเห็นความร่วมมือด้านเทคโนโลยี และเรื่องทุนเพื่อรับมือกับภัยน้ำท่วมในตอนเหนือของไทยและเมียนมาเพื่อที่ทั้งสองประเทศได้ร่วมมือกันป้องกันวิกฤตในอนาคต ซึ่งหากได้รับการช่วยเหลือเรื่องทุน จะช่วยป้องกันปัญหาน้ำท่วมในภาคเหนือของไทยได้ 

ในขณะที่ผู้แทนของประเทศ สปป.ลาว คือ ท่านทองทิพ จันทะละสะเน รองผู้อำนวยการสำนักงานเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงของลาว ได้กล่าวแสดงความกังวลถึงปัญหาเร่งด่วนของท่วมแล้วจากปัญหาโลกร้อนที่กระทบแม่น้ำโขง ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงอาหาร และเศรษฐกิจ ลาวประสบปัญหาโดยตรงจากโลกร้อนคือจากแล้งและน้ำท่วม ภัยพิบัตินี้จำเป็นต้องมีความร่วมมืออย่างเร่งด่วน ดังนั้น เราควรเร่งรัดความร่วมมือข้ามพรมแดน การบริหารแม่น้ำร่วมกัน และรับมือกับความท้าทายอย่างปลอดภัยยิ่งขึ้น และเพื่อชีวิตที่ดีของประชาชนในแม่น้ำโขง ลาวพร้อมที่จะยอมรับข้อเสนอแนะของประเทศสมาชิก เพื่อความร่วมมือที่ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ร่วมกัน

ในเรื่องของภัยโลกร้อนที่กระทบต่อวิถีชีวิตขอผู้คนในประเทศ LMC ผู้แทนของเมียนมาได้กล่าวถึงภาวะแล้งในประเทศรุนแรงจนกระทับต่อการผลิตข้าวซึ่งเป็นอาหรหลัก และยังส่งผลกระทบต่อการขนส่งอาหารและสินค้าเกษตรประสบปัญหา ดังนั้น กลุ่มประเทศแม่น้ำโขงจึงจำเป็นจะต้องร่วมมือกัน เมียนมาจึงขอให้แบ่งปันข้อมูลรูปแบบกระแสน้ำภายใต้สภาพอากาศใหม่ ขอให้แบ่งปันข้อมูลการรับมือแล้งและน้ำท่วม ขอให้ลงทุนการลงทุนสาธารณูปโภคน้ำเพื่อแก้ปัญหาท่วมและแล้ง พัฒนาพืชสู้ภัยแล้งและน้ำท่วม 

ในขณะที่ผู้แทนของกัมพูชากล่าวว่า ทางกัมพูชาขอบคุณที่มีความร่วมมือแม่น้ำโขง เพราะความรุนแรงด้านสภาพอากาศสร้างความเสียหายด้านเศรษฐกิจอย่างมาก  

ความเห็นเหล่านี้สอดคล้องกับผู้เชี่ยวชาญชาวจีนที่นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนที่มีผลกระทบต่อพฤติกรรมของน้ำ เช่น เปาตี้เซี่ยว (Bao Dixiao) วิศวกรอาวุโสของ LMC Water Center กล่าวว่า แม่น้ำโขงได้รับผลกระทบอย่างมากจากภาวะโลกร้อน ดังนั้นความร่วมมือระหว่างประเทศจึงมีความจำเป็นอย่างมาก  และระหว่างนี้อยู่ในการดำเนินการจัดทำรายงานร่วมกันเพื่อศึกษารูปแบบเงื่อนไขของน้ำในอ่างแม่น้ำโขงเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ต่อไป ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2025

ดร. โจวหนิงฟาง (Dr. Zhou Ningfang) หัวหน้าผู้พยากรณ์อากาศของศูนย์อุตุนิยมวิทยาแห่งชาติจีน (NMC) สำนักงานบริหารอุตุนิยมวิทยา (CMA) กล่าวว่า ช่วงฤดูแล้งปีนี้ไทยกับเมียนมาตอนใต้ประสบกับภาวะร้อนรุนแรง ในปีนี้ไต้ฝุ่นเกิดขึ้นบ่อยครั้งมากกว่าปกติและมีความรุนแรงมากกว่าปกติ เวียดนาม ลาว และไทยประสบผลจากไต้หวันฝุ่นมากสุด 

ทั้งนี้ ดร. โจวหนิงฟาง กล่าวว่ามีแบ่งปันการพยากรณ์ในหมู่ประเทศแม่น้ำโขง มีการแบ่งปันเทคโนโลยีการพยากรณ์ และกระบวนการพยากรณ์มีศักยาพที่ดีขึ้น โดยก่อนที่ใต้ฝุ่นยางิจะขึ้นฝั่งที่เวียดนาม ฝ่ายจีนได้มีการแบ่งปันข้อมูลการพยากรณ์กับทางการเวียดนาม มีความร้วมมือกับหลายประเทศในเรื่องการพยากรณ์สภาพอากาศรุนแรงและการป้องกันภัยธรรมชาติ และได้เสนอแนะให้มีการยกระดับนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อรับกับภัยคุกคามนี้

ด้าน ดร. จางเฉิง (Dr. Zhang Cheng) วิศวกรอาวุโสของศูนย์วิจัยว่าด้วยการป้องกันและลดภัยพิบัติน้ำท่วมและภัยแล้ง ของกระทรวงทรัพยบากรน้ำของจีน กล่าวว่า เกิดน้ำท่วมมากขึ้นในระยะหลัง การเตือนภัยเป็นความจำเป็นมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันเทคโนโลยีก็รุดหน้ามากขึ้น ความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศรุนแรงมากขึ้นดังจะเห็นได้จากปีนี้ครึ่งปีเป็นฤดูน้ำท่วมในจีน ดังนั้นความปลอดภัยต่อเขื่อนเป็นสิ่งจำเป็นในการป้องกันน้ำท่วม นี่คือยุทธศาสตร์ในการรมือน้ำท่วมของจีน แม้ว่าจะยังต้องพัฒนาเทคโนโลยีที่มีความแม่นยำมากขึ้นในการพยากรณ์น้ำท่วมกันต่อไป

Photo - โจวจื้อเวย (Zhou Zhiwei) เลขาธิการของศูนย์ LMC Water Center ภาพโดย The Better

TAGS: #LMC #แม่น้ำโขง