ทำไมแม้แต่จีนก็ตัดไฟ'พวกสีเทา'ในเมียนมาได้ยากและยังไม่ได้ผลอีกด้วย

ทำไมแม้แต่จีนก็ตัดไฟ'พวกสีเทา'ในเมียนมาได้ยากและยังไม่ได้ผลอีกด้วย

เมื่อปี 2023 ในขณะที่การกดดันของจีนต่อรัฐบาลทหารเมียนมาและกองกำลังชนกลุ่มน้อยในเมียนมากำลังเข้มข้น เพื่อให้ฝ่ายเหล่านี้กำจัดธุรกิจหลอกลวสงทางอิเล็กทรอนกส์ หรือ "จีนเทา" ได้มีเสียงเรียกร้องจากชาวจีนให้ใช้มาตรการ "ตัดไฟฟ้า" กับนิคมธุรกิจจีนเทาที่อยู่ในเมียนมา 

อย่างไรก็ตาม มีเสียงคัดค้านจากบางความเห็น เช่น จวินอู่จวิน (军武菌) ซึ่งเป็นผู้เขียนบทความภาษาจีนเรื่อง "ทำไมจีนไม่ตัดอินเตอร์เน็ตและไฟฟ้าในพื้นที่ฉ้อโกงทางตอนเหนือของเมียนมาร์ ทำไมจีนไม่แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ?" เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2023 ทางเว็บไซต์ Sohu โดยเขาเขากล่าวว่า "ในปัจจุบัน วิธีการปราบปรามกลุ่มฉ้อโกงในภาคเหนือของเมียนมายังคงจำกัดอยู่ แม้ว่าพวกเขาจะให้ความร่วมมือกับรัฐบาลท้องถิ่นของเมียนมาอย่างแข็งขันเพื่อปราบปรามก็ตาม แต่แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะกำจัดกลุ่มฉ้อโกงต่างชาติให้หมดสิ้นไปในแง่ของความซับซ้อนและความยากลำบากในทางปฏิบัติของการสู้รบข้ามพรมแดน แน่นอว่า ว่าชาวเน็ต "ผู้ชาญฉลาด" ก็ได้เสนอแนะและเสนอแนะว่าวิธีการที่เป็นรูปธรรม เช่น การตัดการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและแหล่งจ่ายไฟ สามารถนำมาใช้ปราบปรามกลุ่มมิจฉาชีพในภาคเหนือของเมียนมาร์ได้หรือไม่? คำตอบคือไม่ควรตัดไฟ"

สาเหตุที่ตัดไฟไม่ได้ (หรือตัดไฟไม่ได้ง่ายๆ) จวินอู่จวิน ได้ให้เหตุผลไว้ดังนี้ 

1. ในเดือนมิถุนายน 2023 หรือไม่นานก่อนที่จะเขียนบทความดังกล่าว ทาการไทยได้ตัดไฟฟ้าที่ส่งไปยัง KK Park ในจังหวัดเมียวดี ประเทศเมียนมา แต่ว่า "การตัดไฟฟ้าในครั้งนี้สะท้อนถึงปัญหาขาดแคลนไฟฟ้าอย่างร้ายแรงที่เมียนมากำลังเผชิญอยู่ ระบบไฟฟ้าของประเทศทั้งประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่ชายแดนห่างไกล ต้องพึ่งพาไฟฟ้าจากต่างประเทศเป็นอย่างมาก" เขาชี้ว่า "แม้แต่เมืองย่างกุ้งซึ่งถือเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของเมียนมาก็ยังประสบปัญหาไฟฟ้าดับเป็นวงกว้างอยู่บ่อยครั้ง" และ "โดยพื้นฐานแล้ว ทุกครัวเรือนจะมีเครื่องปั่นไฟเป็นของตัวเอง และนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ จะมีเครื่องปั่นไฟเป็นของตัวเองเพื่อป้องกันไฟฟ้าดับ"

2. จากปัญหาขาดแคลนไฟฟ้าอยู่แล้วนี้ บทความอธิบายถึงผลที่จะเกดขึ้นจากการตัดไฟว่า "ในบริบทของการขาดแคลนไฟฟ้า เมียนมามักเชื่อมต่อกับโครงข่ายไฟฟ้าข้ามพรมแดนของประเทศเพื่อนบ้าน เช่น จีนและไทย เพื่อให้แน่ใจว่ามีไฟฟ้าใช้ในพื้นที่ห่างไกลเหล่านี้ แหล่งจ่ายไฟในบางพื้นที่ทางตอนเหนือของเมียนมา รวมถึงรัฐว้า ขึ้นอยู่กับการส่งไฟฟ้าข้ามพรมแดนจากยูนนานเป็นหลัก ดังนั้นจึงมีคำกล่าวที่บอกให้ใช้การตัดไฟฟ้าเพื่อปราบปรามกลุ่มฉ้อโกงในภาคเหนือของเมียนมา แต่เห็นได้ชัดว่าวิธีการที่เรียกว่าตัดไฟนั้นไม่สอดคล้องกับสถานการณ์" เพราะจส่งผลกระทบต่อประชาชนโดยรวม แทนที่จะเน้นเฉพาะนิคมธุรกิจสีเทา

3. ยิ่งไปกว่านั้น "นิคมธุรกิจฉ้อโกงของเมียนมาทั้งหมดมีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเป็นของตัวเอง หากเกิดไฟดับชั่วคราว องค์กรฉ้อโกงยังสามารถใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเพื่อจ่ายไฟให้กับอาชญากรรมฉ้อโกงได้ และเป็นไปไม่ได้ที่จะปราบปรามพวกเขาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในความเป็นจริง เรื่องนี้ก็เป็นเช่นนั้นเช่นกัน หลังจากที่การไฟฟ้าแห่งประเทศไทยตัดกระแสไฟฟ้าของนิคมธุรกิจฉ้อโกงง KK ก็ไม่ได้ส่งผลกระทบมากนักต่อการดำเนินงานปกติของนิคมธุรกิจฉ้อโกง KK ไฟในนิคมยังคงสว่างอยู่ และคนที่ได้รับผลกระทบเป็นกลุ่มแรกคือคนรอบข้าง"

ดังนั้น "หากเกิดไฟดับเป็นวงกว้างและยาวนาน ย่อมส่งผลกระทบร้ายแรงต่อชีวิตของคนทั่วไปในเมียนมาร์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และทำลายความไว้วางใจและความร่วมมือระหว่างสองประเทศ (จีนและเมียนมา) ซึ่งเห็นได้ชัดว่าไม่สมควร"

จากรายงานโดย Sohu เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2023 เรื่อง "สถานการณ์หลังไทยตัดกระแสไฟฟ้าเข้านิคมภาคเหนือเมียนมาเป็นอย่างไรบ้าง ประชาชนบางส่วนยังดิ้นรนเอาชีวิตรอด" รายงานอ้างข้อมูลจาก Bangkok Post ของไทยโดยระบุว่าหลังจากการตัดไฟฟ้าโดยฝ่ายไทยในครั้งน้ัน  "นักลงทุนชาวจีนในเมืองเมียวดีซึ่งเป็นเจ้าของโครงการขนาดใหญ่หลายแห่งไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุไฟดับมากนัก เนื่องจากพวกเขาใช้เครื่องปั่นไฟของตนเอง"

"ในทางกลับกัน ครัวเรือนทั่วไปในเมียวดีได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการขาดไฟฟ้า เครือข่ายโทรศัพท์มือถือถูกตัดการเชื่อมต่อ และผู้อยู่อาศัยต้องใช้น้ำแข็งเพื่อเก็บอาหารสดเนื่องจากตู้เย็นไม่ทำงาน ครอบครัวที่มีฐานะดีได้ซื้อเครื่องปั่นไฟของตนเอง ในขณะที่ครอบครัวที่มีทรัพยากรน้อยกว่าได้ร่วมกันซื้อเครื่องปั่นไฟร่วมกัน" Sohu ระบุ

กลับมาที่สถานการณ์ล่าสุด หนังสือพิมพ์ต้ากงเป้าออนไลน์ (大公网) ได้ตั้งคำถามในรายงานเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2025 ว่า "เหตุใดการบังคับใช้กฎหมายในเมืองเมียวดี ประเทศเมียนมาร์จึงยากลำบาก?" สาเหตุส่วนหนึ่งมาจาก "การปราบปรามข้ามพรมแดนมีจำกัด" โดยกองทัพของรัฐบาลเมียนมาร์กำลังเฝ้าดูอยู่" (เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวอยู่นอกเขตอิทธิพลของกองทัพเมียนมาแล้ว) "และรัฐบาลไทยก็อยู่นอกเหนือการควบคุม ทำให้เกิดเขตสุญญากาศในการปราบปรามการฉ้อโกง"

"ต่างจากเขตภาคเหนือของเมียนมาร์ที่ติดกับชายแดนของเรา (จีน) เขตเมียวดีและเขตอื่นๆ ตั้งอยู่บนชายแดนเมียนมา-ไทย ซึ่งอยู่ห่างไกลจากประเทศของเรา และยากต่อการปราบปราม" หนังสือพิมพ์ต้ากงเป้าออนไลน์ ระบุ

ทั้งนี้ ตามรายงานที่กระทรวงไฟฟ้าของเมียนมาเผยแพร่เมื่อเดือนมกราคมปีนี้ เมียนมาสามารถผลิตไฟฟ้าได้เพียง 2,200 เมกะวัตต์ต่อวันเท่านั้น ตามสถิติของสหประชาชาติ ในปี 2024 ประชากรเมียนมาร์เพียง 48% เท่านั้นที่จะเข้าถึงไฟฟ้าได้ ซึ่งถือเป็นสัดส่วนที่ต่ำที่สุดในเอเชีย

จากการรายงานของเหลียนเหอ เจ่าเป้า (联合早报) รายงานว่า "ปัจจุบันชาวเมียนมามีไฟฟ้าใช้เพียงวันละ 4 ชั่วโมงเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้วน้อยกว่านั้นด้วยซ้ำ เนื่องจากไฟฟ้าขาดแคลน หลายครอบครัวจึงไม่สามารถใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าได้อย่างเหมาะสม และแม้แต่แสงสว่างและความต้องการในการทำอาหารขั้นพื้นฐานก็ยังตอบสนองได้ยาก"

โดยทีมข่าวต่างประเทศ The Better

Photo - ภาพถ่ายนี้ถ่ายเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2025 แสดงให้เห็นพ่อค้าแม่ค้ากำลังรอรับลูกค้าที่แผงขายอาหารริมถนนระหว่างที่ไฟฟ้าดับในย่างกุ้ง ไฟฟ้าดับเป็นเรื่องปกติในย่างกุ้ง เนื่องมาจากการที่รัฐบาลทหารกำหนดให้มีไฟฟ้าดับเป็นระยะๆ ในขณะที่กำลังแย่งชิงพื้นที่ที่กลุ่มกบฏยึดครอง (ภาพโดย Sai Aung MAIN / AFP)
 

TAGS: #จีนเทา #เมียวดี #เมียนมา