'กรุงอังวะ' เมืองประวัติศาสตร์ สำรวจความเสียหายโบราณสถานที่พินาศเพราะแผ่นดินไหว

'กรุงอังวะ' เมืองประวัติศาสตร์ สำรวจความเสียหายโบราณสถานที่พินาศเพราะแผ่นดินไหว

แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่เมียนมาและไทยครั้งนี้สร้างความเสียหายอย่างหนักต่อเมืองอังวะ ซึ่งเป็นเมืองหลวงเก่าแก่ของเมียนมา และตั้งอยู่ทางใต้ของเมือมัณฑเลย์ โดยทั้งสองเมืองอยู่ในแนวของรอยเลื่อนสะกายพอดี โดยมีเมืองสะกายตั้งยู่คนละฝั่งแม่น้ำอิรวดี

ตามประวัติศาสตร์ เมืองอังวะได้รับการสถาปนาอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1365 โดยพระเจ้าตะโดมินพญา ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรอังวะ อันเป็นช่วงที่เมียนมาแตกเป็นอาณาจักต่างๆ จนกระทั่ง อังวะกลายเป็นเมืองหลวงของพม่าทั้งหมดในช่วงสมัยตองอูและโก้นบอง (ค.ศ. 1599–1613, 1635–1752, 1765–1783, 1821–1842)  

เนื่องจากเป็นเมืองประวัติศาสตร์ของเมียนมา อังวะจึงมีโบราณสถานมากมาย แต่ครั้งนี้โบราณสถานสำคัญเหล่านั้นพังทลายลงมาถึงขั้นยากที่จะซ่อมแซม สร้างความเศร้าสลดใจให้กับผู้ที่ได้พบเห็น โดยเฉพาะพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย เพราะโบราณสถานเหล่านั้นส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา

หนึ่งในโบราณสถานที่พังถล่มลงมาจนพินาศ คือ 

1. อารามเลทัตจีเตาว์ หรือ วัดสี่ชั้นเดิม เป็นอาคารขนาดใหญ่ แรกเริ่มสร้างในสมัยพระเจ้าญองย่าน เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์ตองอูครองราชย์เป็นพระเจ้าอังวะระหว่างปี ค.ศ. 1599–1605 พระองค์ถูกเรียกว่าเป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์ตองอูยุคฟื้นฟู หรือ ราชวงศ์ตองอูยุคหลังหรือราชวงศ์ญองย่าน ซึ่งทรงเป็นพระราชโอรสในพระเจ้าบุเรงนอง ในรัชสมัยพระเจ้าจักกายแมงแห่งราชวงศ์โก้นบองในปี 1827 ได้มีการสร้างพระพุทธรูปศากยมุนีองค์ใหญ่ โดยหล่อด้วยส่วนผสมของทองคำบริสุทธิ์ เงินบริสุทธิ์ ทองแดงบริสุทธิ์ เหล็ก และทองคำ และมีน้ำหนัก 16,110 ปิซา พระเจ้าจักกายแมงทรงบริจาคเจดีย์อิฐขนาดใหญ่เพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปบนที่ตั้งของวัดสี่ชั้นเดิม เรียกว่าวัดสี่ชั้น สร้างเสร็จและได้รับการบริจาคในปี 1835 พระพุทธรูปองค์นี้มีอายุกว่า 180 ปีแล้ว และวัดสี่ชั้นแห่งนี้ก็มีอายุกว่า 180 ปีเช่นกัน แต่ล่าสุด ตัววัดพังทลายลงมาจนแทบจะเรียกดได้ว่าไม่เหลือซาก

Photo - อารามเลทัตจีเตาว์ ภาพโดย  Christophe95  (CC BY-SA 4.0)

2. อารามมะฮาอองมเยโบนซาน สร้างขึ้นโดยพระนางแมนุ พระอัครมเหสี ในปี 1828 อารามได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหวใน 1838 แต่ได้รับการบูรณะใน 1873  โดยพระนางอเลนันดอ พระราชธิดาของพระเจ้ามินดง อารามแห่งนี้เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่ดีที่สุดของสถาปัตยกรรมพม่าสมัยโก้นบอง เป็นสถาปัตยกรรมการจำลองอารามไม้ที่มีหลังคาหลายหลังคา และห้องสวดมนต์ที่มีโครงสร้างส่วนบนเจ็ดชั้น แต่ล่าสุด อารามนี้พังทลายลงมาเกือบหมด เหลือแต่ชั้นฐานอาคาร

Photo - อารามมะฮาอองมเยโบนซาน ภาพโดย  Go-Myanmar (CC BY-SA 3.0)

3. หอคอยนันมยินต์ ตั้งอยู่บริเวณที่ตั้งของพระราชวังอังววะที่รกร้างว่างเปล่าในปัจจุบัน เป็นหอคอยสังเกตการณ์สูง 27 เมตร  ที่สร้างด้วยอิฐ ซึ่งเป็นตัวอย่างของสถาปัตยกรรมพม่าในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 หอคอยนี้เป็นเพียงสิ่งเดียวที่เหลืออยู่ของพระราชวังอันสง่างามที่พระเจ้าจักกายแมงทรงสร้าง ซึ่งทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์โก้นบอง ล่าสุดได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหว แต่ยังไม่ทราบระดับความเสียหาย

Photo - หอคอยนันมยินต์  ภาพโดย  - Hybernator (CC BY-SA 3.0)

4. เจดีย์โลกสรภู สร้างในสมัยพระเจ้าตะนินกันเหว่ โดยทรงเป็นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์ตองอูของพม่าระหว่างปี 1714 - 1733 เป็นพระเจดีย์ที่สร้างอย่างปราณีตด้วยช่างหลวงมีขนาดที่ใหญ่โตระดับกลาง แต่มีการปรดิษฐานพระพุทธรูปแกะสลักจาหิอ่อนอันเป็นธรรมเนียมครั้งแรกที่กษัตริย์ของสร้างพระพุทธรูปหินอ่อนขนาดใหญ่ ล่าสุดได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหว แต่ยังไม่ทราบระดับความเสียหาย

Photo -  เจดีย์โลกสรภู ภาพโดย  - Mayor mt (CC BY-SA 4.0)

5. มิงกลาเจดีย์ สร้างในสมัยพระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรอังวะตั้งแต่ปี ค.ศ. 1400 ถึงปี ค.ศ. 1422 จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1497 พระบรมสารีริกธาตุจึงได้รับการบรรจุไว้ในใจพระเจดีย์ ล่าสุดพระเจดีย์ได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหว แต่ยังไม่ทราบระดับความเสียหาย

รวมภาพความเสียหาย

โดยทีมข่าวต่างประเทศ The Better


 

TAGS: #อังวะ' #แผ่นดินไหวเมียนมา #เมียนมา