อาฟเตอร์ช็อก (Aftershock) หรือ 'แผ่นดินไหวตาม' เป็นแผ่นดินไหวขนาดเล็กที่เกิดขึ้นหลังจากแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่มีก่อนหน้า ในพื้นที่เดียวกับพื้นที่ไหวหลัก โดยต้องมีขนาดเล็กกว่าแผ่นดินไหวหลักตั้งแต่ 1.0 ขึ้นไป
มีสมการในการคำนวณอาฟเตอร์ช็อก เรียกว่า กฎของโอโมริ (Omori's law) โดยความถี่ของอาฟเตอร์ช็อกจะลดลงโดยประมาณตามส่วนกลับของเวลาหลังจากเกิดอาฟเตอร์ช็อกหลัก ความสัมพันธ์เชิงประจักษ์นี้ได้รับการอธิบายครั้งแรกโดยฟูซากิจิ โอโมริในปี 1894 และเรียกว่ากฎของโอมอริ
ตามสมการนี้ อัตราของอาฟเตอร์ช็อกจะลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อเวลาผ่านไป อัตราของอาฟเตอร์ช็อกจะแปรผันตามค่าผกผันของเวลาตั้งแต่อาฟเตอร์ช็อกหลัก และสามารถใช้ความสัมพันธ์นี้เพื่อประมาณความน่าจะเป็นของการเกิดอาฟเตอร์ช็อกในอนาคตได้
ดังนั้น ไม่ว่าความน่าจะเป็นของอาฟเตอร์ช็อกในวันแรกจะเป็นอย่างไร วันที่สองจะมีความน่าจะเป็น 1/2 ของวันแรก และวันที่สิบจะมีความน่าจะเป็นประมาณ 1/10 ของวันแรก รูปแบบเหล่านี้อธิบายพฤติกรรมทางสถิติของอาฟเตอร์ช็อกเท่านั้น เวลา จำนวน และตำแหน่งจริงของอาฟเตอร์ช็อกเป็นแบบสุ่ม
หาหคำนวณด้วยกฎของโบธ (Båth's law) ความแตกต่างของขนาดระหว่างอาฟเตอร์ช็อกหลักกับอาฟเตอร์ช็อกที่ใหญ่ที่สุดนั้นแทบจะคงที่ โดยไม่ขึ้นอยู่กับขนาดอาฟเตอร์ช็อกหลัก โดยทั่วไปจะอยู่ที่ 1.1–1.2 บนมาตราขนาดโมเมนต์
กฎของกูเทนเบิร์ก–ริกเตอร์ (Gutenberg–Richter law) จะคำนวณตามความสัมพันธ์ระหว่างขนาดและจำนวนแผ่นดินไหวทั้งหมดในภูมิภาคในช่วงเวลาที่กำหนด แต่โดยสรุปคือมีอาฟเตอร์ช็อกเล็ก ๆ มากขึ้น ในขณะที่อาฟเตอร์ช็อกใหญ่ ๆ น้อยลง
อาฟเตอร์ช็อกเป็นอันตรายเนื่องจากโดยปกติแล้วไม่สามารถคาดเดาได้ อาจมีขนาดใหญ่ และอาจทำให้อาคารที่ได้รับความเสียหายจากอาฟเตอร์ช็อกหลักพังทลายลงมาได้ แผ่นดินไหวขนาดใหญ่จะเกิดอาฟเตอร์ช็อกมากขึ้นและรุนแรงขึ้น และลำดับของอาฟเตอร์ช็อกอาจกินเวลานานหลายปีหรืออาจจะนานกว่านั้น
โดยเฉพาะเมื่อเกิดเหตุการณ์ขนาดใหญ่ในพื้นที่ที่ไม่มีแผ่นดินไหว เช่น ในเขตแผ่นดินไหวนิวมาดริด รัฐมิสซูรี ประเทศสหรัฐ ซึ่งเหตุการณ์ยังคงเป็นไปตามกฎของโอโมริตั้งแต่อาฟเตอร์ช็อกหลักในปี ค.ศ. 1811–1812 ลำดับของอาฟเตอร์ช็อกถือว่าสิ้นสุดลงเมื่ออัตราของแผ่นดินไหวลดลงสู่ระดับพื้นหลัง กล่าวคือ ไม่สามารถตรวจจับการลดลงต่อไปของจำนวนเหตุการณ์เมื่อเวลาผ่านไปได้
รายงานระบุว่าการเคลื่อนตัวของแผ่นดินรอบๆ นิวมาดริดไม่เกิน 0.2 มม. (0.0079 นิ้ว) ต่อปี ซึ่งตรงกันข้ามกับรอยเลื่อนซานแอนเดรียสซึ่งมีค่าเฉลี่ย 37 มม. (1.5 นิ้ว) ต่อปีในแคลิฟอร์เนีย ปัจจุบัน เชื่อกันว่าอาฟเตอร์ช็อกบนซานแอนเดรียสจะเกิดขึ้นสูงสุดเป็นเวลา 10 ปี ในขณะที่แผ่นดินไหวต่างๆ ที่เกิดในนิวมาดริดหลังจากนั้นถือเป็นอาฟเตอร์ช็อกที่กินเวลานานเกือบ 200 ปีหลังจากแผ่นดินไหวในนิวมาดริดในปี 1812
Photo - Sagaing Fault with annotated segments and earthquake rupture lengths. An adaptation of the figure in Wang et. al (2014). Dora the Axe-plorer / CC BY-SA 4.0