Tesla โกยรายได้ฟันกำไรรายไตรมาสและกำไรต่อหุ้น ดีสุดเป็นประวัติการณ์

Tesla โกยรายได้ฟันกำไรรายไตรมาสและกำไรต่อหุ้น ดีสุดเป็นประวัติการณ์
เทสล่าโกยผลประกอบการ Q4 สูงสุดประวัติการณ์ กำไรต่อหุ้น 2.52 เหรียญสหรัฐ ทั้งฟันกำไรต่อคันสูงถึง 15,000 เหรียญสหรัฐ

เมื่อ 25 ม.ค. เทสลา อิงค์ (Tesla Inc.) แถลงผลประกอบการไตรมาส 4 ของปี 2022 โดยระบุว่าบริษัทมีผลประกอบการในหลายส่วนดีกว่าที่คาดการณ์ ในการแถลงของเทสล่าระบุว่า บริษัทมีรายได้จากการขายรถยนต์ไตรมาสสี่อยู่ที่ 2.13 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ เติบโต 33% เมื่อเทียบเป็นรายปี  ส่วนรายได้ของบริษัทอยู่ที่ 2.43 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับ 2.416 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐที่เคยคาดไว้ก่อนหน้านี้  

บริษัทมีกำไรต่อหุ้นในไตรมาส 4/2022 ที่ระดับ 1.19 เหรียญสหรัฐ สูงกว่าที่นักวิเคราะห์ของรอยเตอร์เคยคาด คาดไว้ที่ 1.13 ดอลลาร์ และรายได้โดยรวมอยู่ที่ 2.432 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 2.416 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ

ส่วนรายได้จากธุรกิจยานยนต์ในไตรมาส 4 อยู่ที่ 2.13 หมื่นล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 33% เมื่อเทียบเป็นรายปี

ขณะเดียวกันเทสล่ายังได้รับเงินอุดหนุนจากเครดิตการกำกับดูแลรถยนต์อีวีของหรัฐบาลสหรัฐ อยู่ที่ 467 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นสัดส่วน 2% ของรายได้ทั้งหมดที่เทสล่าได้รับตลอดปี 2022 ภายใต้หลักเกณฑ์การปล่อยมลพิษของรัฐบาลกลาง (regulartory credits) ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนหลักในการทำกำไรของบริษัท เนื่องจากเทสลาสามารถเก็บยอดขายได้เกือบทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าในช่วงเวลาเดียวกันเกือบ 50%

ผลประกอบการที่ดีขึ้นทำให้ อีลอน มัสก์ ยืนยันในที่ประชุมผู้ถือหุ้นทางโทรศัพท์ ว่า 2022 ถือเป็นปีที่ดีที่สุดของเราในทุกระดับ ก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตามในปี 2023 นี้ บริษัทยังคงเผชิญความท้าทายหลายประการ จากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจมหภาคที่ยังคงไม่แน่นอนจากหลายปัจจัยโดยเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นของธนาคารกลางสหรัฐฯ

เทสล่า Tesla รถยนต์ไฟฟ้า รถอีวี

ขณะเดียวกัน รอยเตอร์รายงานว่า เทสล่าได้สร้างความเป็นผู้นำเหนือคู่แข่งจากการทำกำไรต่อการขายรถยนต์ 1 คัน โดยการวิจัยข้อมูลจากอุตสาหกรรมยานยนต์ของรอยเตอร์ ชี้ให้เห็นว่า เทสล่ามีกำไรขั้นต้น  (Gross Profit) ของเทสลาต่อคันในไตรมาส 3 ปี 2022 อยู่ที่ 15,653 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมีกำไรต่อคันมากกว่า 2 เท่าที่เมื่อเทียบกับ Volkswagen AG มากกว่า Toyota Motor  ถึง 4 เท่า และมากกว่า Ford Motor Co ถึง 5 เท่า ท่ามกลางภาวะสงครามตัดราคา


เพื่อที่จะควบคุมต้นทุนการผลิตให้ต่ำกว่าคู่แข่งทั่วโลก เทสล่าได้ลงทุนอย่างหนักในเทคโนโลยีการผลิต เช่นการใช้แม่แบบขนาดใหญ่แทนที่ชิ้นส่วนโลหะขนาดเล็ก การซื้อโรงงานผลิตแบตเตอรี่ และชิ้นส่วนอื่นๆ ในห่วงโซ่อุปทานที่ผลิตในบริษัท และการออกแบบยานพาหนะที่เป็นมาตรฐานเพื่อพัฒนาด้านการประหยัดต่อขนาด (Economy of Scale) เพื่อสร้างห่วงโซ่อุปทานรถยนต์อีวีอย่างครอบคลุมท่ามกลางปัญหาเซมิคอนดักเตอร์และชิ้นส่วนยานยนต์ที่ชะลอตัว

Photo:  JOSH EDELSON / AFP

TAGS: #Tesla #เทสล่า #รถยนต์อีวี #รถยนต์ไฟฟ้า