ผู้แทนไต้หวันประจำไทย ชูโรลโมเดลสร้างสาธารณสุขเท่าเทียมและยั่งยืนหลังยุคโควิด ลั่นพร้อมร่วมเป็นสมาชิกอนามัยโลก
ดร.จวง ซั่ว ฮั่น ผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป กล่าวถึงความพร้อมของไต้หวันในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การอนามัยโลก (WHO) ต่อทีม The Better ว่า ปัจจุบันสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 (COVID-19) กำลังเข้าสู่ปีที่ 4 สถานการณ์การแพร่ระบาดทั่วโลกได้ชะลอตัวลง หลายประเทศทั่วโลก ทยอยเปิดพรมแดน และเป้าหมายหลักของสาธารณสุขทั่วโลกได้เปลี่ยนจากการต่อสู้กับโรคระบาดหันไปสู่การฟื้นฟูภายหลังโรคระบาด เพื่อเร่งบรรลุ “เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” (Sustainable Development Goals หรือ SDGs) ของสหประชาชาติ (UN) ทำให้มนุษย์ทุกคนสุขภาพดีและมีความเป็นอยู่ที่ดี (Health and well-being) หลายประเทศทั่วโลกได้เร่งผลักดันเป้าหมายการพัฒนาด้านสุขภาพที่ยั่งยืนที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาด
ไต้หวันสนับสนุนเป้าหมาย “1 พันล้าน 3 กลุ่มเป้าหมาย” (Triple-billion targets) และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การอนามัยโลก (WHO) สร้างห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ด้านบริการสาธารณสุขที่มีความยืดหยุ่นและเท่าเทียมมากขึ้น สร้างระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ครอบคลุมและเท่าเทียมกัน เริ่มตั้งแต่ระบบรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิ ให้บริการประชาชนด้านการป้องกัน จัดการและดูแลไต้หวันสามารถแบ่งปันประสบการณ์การสร้างความร่วมมือแบบข้ามภาคส่วน การบูรณาการ นวัตกรรมและงานสาธารณสุขทั่วโลกที่มีสุขภาพของมนุษยชาติเป็นหัวใจสำคัญ ช่วยให้ประชาคมระหว่างประเทศบรรลุเป้าหมายสุขสวัสดิ์การพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยเร็ว
ในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 ครั้งนี้ เนื่องจากไต้หวันมีระบบสาธารณสุขที่สมบูรณ์เจ้าหน้าที่ป้องกันโรคระบาดที่ผ่านการฝึกอบรมมาอย่างดี มีระบบเฝ้าระวัง ตรวจสอบและวิเคราะห์ทางระบาดวิทยา ฯลฯ ซึ่งสามารถช่วยชะลอการติดเชื้อและแพร่ระบาดของโรค ไต้หวันสามารถวางแผนล่วงหน้าและการตอบสนองอย่างรวดเร็ว สร้างรูปแบบการรับมือกับโรคระบาดที่สมบูรณ์ เช่น นโยบายควบคุมชายแดนอย่างเข้มงวด การตรวจสอบคัดกรองโรคที่แม่นยำ การจัดสรรทรัพยากรทางการแพทย์ ระบบเคลื่อนย้ายผู้ป่วย และการจัดหาวัสดุอุปกรณ์สำหรับป้องกันโรค ฯลฯ เพื่อรอวัคซีนและยาต้านไวรัสจัดจำหน่าย นอกจากนี้ ชาวไต้หวันยังให้ความร่วมมือสวมหน้ากากอนามัย รักษาระยะห่างทางสังคม หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด ทำตามแนวทางปฏิบัติกักตัวและฉีดวัคซีนเป็นต้น เมื่อเทียบกับ 38 ประเทศในกลุ่มประเทศสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) และสิงคโปร์แล้ว อัตราการติดเชื้อและอัตราการเสียชีวิตสะสมจากโรคโควิด-19 ต่อประชากร 1 ล้านคน ไต้หวันอยู่ในอันดับที่ 6 ส่วนอัตราการวัคซีนโควิด-19 อย่างน้อยหนึ่งโดส ไต้หวันอยู่ในอันดับที่ 4 และส่วนอัตราการฉีดวัคซีนเข็มบูสเตอร์ (booster) ต่อประชากร 1 ล้านคน ไต้หวันสูงอยู่ในอันดับที่ 3
การส่งเสริมสุขภาพและสุขภาพดีถ้วนหน้า (Health For All)
5พี (5P) ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ผลักดันให้มีความสำคัญเป็นอันดับแรกนั้น คือ การส่งเสริมสุขภาพ (Promoting) การแบ่งปันผลลัพธ์ด้านสุขภาพ (Providing) ความปลอดภัยอนามัย (Protecting) การเพิ่มขีดความสามารถ (Powering) การสร้างเสริมการดำเนินงานขององค์การอนามัยโลก (Performing) ทั้งนี้ การส่งเสริมสุขภาพเป็นภารกิจสำคัญสุด และใน “กรอบมนุษย์ทุกคนสุขภาพดีและมีความเป็นอยู่ที่ดี” ขององค์การอนามัยโลก ได้ชี้ให้เห็นความแน่วแน่ในการผลักดันส่งเสริมสุขภาพขององค์การอนามัยโลก(WHO)
ตั้งแต่ปี 1995 ไต้หวันได้ผลักดันระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ (National Health Insurance หรือ NIH) เดินหน้าสร้างเสริมสุขภาพ (Promotion) และป้องกันโรค(Prevention) อย่างต่อเนื่องให้ชาวไต้หวันในแต่ละช่วงวัย ทำให้ชาวไต้หวันได้รับสิทธิประโยชน์ที่พึงมี สำหรับการดูแลสตรีมีครรภ์และทารกแรกเกิด ไต้หวันให้บริการตรวจสุขภาพก่อนคลอด การคัดกรองเบาหวานขณะตั้งครรภ์ การคัดกรองภาวะโลหิตจางและตรวจอัลตราซาวด์ 3 ครั้ง เพื่อลดความเสี่ยงระหว่างตั้งครรภ์และดูแลสุขภาพของมารดาและทารกในครรภ์ นอกจากนี้ยังช่วยเหลือและสนับสนุนผู้มีบุตรยากและลดภาระทางการเงินของการทำเด็กหลอดแก้ว ไต้หวันได้ขยายโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการรักษาภาวะมีบุตรยากอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการกับการให้นมบุตร รวมถึงให้คำแนะนำการดูแลสุขภาพเด็กเล็กเชิงป้องกันและการให้ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพเด็ก
นอกจากนี้ สำหรับการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ ไต้หวันได้ผลักดันโครงการป้องกันรักษาภาวะเมตาบอลิกซินโดรม (Metabolic syndrome) แทรกแซงการใช้ชีวิตของบุคคลเฉพาะกลุ่ม ให้บริการสร้างเสริมสุขภาพต่าง ๆ เช่นให้คำแนะนำการกินอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การเลิกบุหรี่ การเลิกกินหมาก ช่วยปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตของผู้คน ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังในอนาคต ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และน้ำตาลในเลือดสูง นอกจากนี้ไต้หวันยังสนับสนุนการจัดทำแผนป้องกันรักษาโรคมะเร็งแห่งชาติ เพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์การอนามัยโลก (WHO) ที่ประสงค์ลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งให้ได้ 25% ภายในปี 2025 ไต้หวันอยากจะมีส่วนร่วมในการป้องกันรักษาโรคมะเร็งทั่วโลกมากขึ้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การอนามัยโลก (WHO) ในการกำจัดมะเร็งปากมดลูกให้หมดภายในปี 2030 ไต้หวันจัดทำงบประมาณสนับสนุนการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (HPV) โดยให้การฉีดวัคซีนดังกล่าวเป็นหนึ่งในแผนการฉีดวัคซีนแห่งชาติ ตั้งแต่เดือนธันวาคม ปี 2018 เป็นต้นไปให้นักเรียนหญิงระดับชั้นมัธยมต้น (อายุระหว่าง 12-15 ปี) ฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (HPV) ปี 2022 มีอัตราการฉีดวัคซีนสูงถึงร้อยละ 92.1
นวัตกรรมเทคโนโลยีและระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ระบบประกันสุขภาพแห่งชาติของไต้หวันเป็นตัวอย่างที่ประสบความความสำเร็จตามหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โรคโควิด-19 ทำให้ประชาคมระหว่างประเทศตระหนักถึงความสำคัญของความร่วมมือระดับภูมิภาคและการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้กับการแพทย์มากขึ้น โดยไต้หวันมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมสุขภาพเชิงดิจิทัลและนวัตกรรม เพื่อเพิ่มการเข้าถึงและยกระดับคุณภาพบริการด้านสุขภาพ รวมถึงพัฒนา “โครงการยกระดับระบบข้อมูลการแพทย์รุ่นใหม่ข้ามยุคสมัย” ยกระดับระบบการแพทย์ให้สอดคล้องกับมาตรฐานระดับสากลมากขึ้น ประยุกต์ใช้รูปแบบการรักษาพยาบาลรูปแบบใหม่ ใช้ระบบการแพทย์ทางไกลบริการแบบเรียลไทม์แก่ผู้ป่วยในพื้นที่ห่างไกลและหมู่เกาะรอบเกาะไต้หวัน รวมถึงการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ร่วมกับการเทคโนโลยีอื่น ๆ ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ไต้หวันได้ออกใบอนุญาตให้จำหน่ายยาสมุนไพรจีนสูตรชิงก้วนหมายเลข 1 (NRICM101) จำนวน 13 ฉบับ ช่วยเหลือประเทศอื่นในภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากโรคโควิด-19 นอกจากนี้ รัฐบาลไต้หวันยังได้ออกมาตรการต่างๆ เพื่อเสริมสร้างกำลังการผลิตหรือการจัดหาวัตถุดิบหลักภายในประเทศในช่วงหลังการแพร่ระบาด เพื่อให้มั่นใจว่าจะจัดหาวัตถุดิบหลักได้และป้องกันการขาดแคลนยาในอนาคต
นอกจากนี้ ด้วยความตระหนักถึงความสำคัญของความร่วมมือด้านสุขภาพระดับโลกแล้ว ไต้หวันจะกระชับความร่วมมือและแลกเปลี่ยนกับเครือข่ายระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่อง เพื่อแบ่งปันนวัตกรรมเทคโนโลยี ประสบการณ์ และการปฏิบัติให้บรรลุหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
ไต้หวันช่วยได้และไต้หวันกำลังช่วยอยู่ (Taiwan can help, and Taiwan is helping!)
ตั้งแต่ปี 2017 เป็นต้นไป ไต้หวันไม่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุมสมัชชาอนามัยโลก(WHA) มาหลายปีแล้ว ในขณะที่การระบาดของโรคโควิด-19 ใกล้จะสิ้นสุดลง และขณะที่ทั่วโลกกำลังหารือส่งเสริมระบบสาธารณสุข ไต้หวันช่วยได้และไม่ควรถูกมองข้าม การมีส่วนร่วมของไต้หวันจะทำให้โลกมีสุขภาพที่ดีขึ้น ยั่งยืนกว่าเดิมและมีความเท่าเทียมกันมากขึ้น
ไต้หวันขอเรียกร้องให้องค์การอนามัยโลก (WHO) และทุกฝ่ายร่วมสนับสนุนให้ไต้หวันมีส่วนร่วมกับองค์การอนามัยโลก (WHO) ให้ไต้หวันได้เข้าร่วมอย่างเต็มที่ในการประชุม กลไกและกิจกรรมต่างๆ ขององค์การอนามัยโลก (WHO) เพื่อดำเนินการบรรลุบทบัญญัติตามกฎบัตรขององค์การอนามัยโลก (WHO) “สุขภาพเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน” และเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ “ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” (Leave no one behind)