สติ๊กเกอร์ท้ายรถในญี่ปุ่น ไม่ใช่โลโก้ส่วย แต่แปะเพื่อช่วยให้ทุกคนปลอดภัย

สติ๊กเกอร์ท้ายรถในญี่ปุ่น ไม่ใช่โลโก้ส่วย แต่แปะเพื่อช่วยให้ทุกคนปลอดภัย
ถอดโมเดลสติ๊กเกอร์รถยนต์ในญี่ปุ่น ไม่ใช่โลโก้เก็บส่วย แต่คือสัญลักษณ์ความปลอดภัยของผู้ใช้ถนนทุกคน

ปมร้อนค่าผ่านทาง "ส่วยรถบรรทุก" รูปแบบสติ๊กเกอร์ที่กำลังเป็นกระแสในเวลานี้ หลังจากที่วิโรจน์ ลักขณาอดิศร อดีตส.ส.ตัวตึงแห่งพรรคก้าวไกล ออกมาเปิดเผยจนสร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่งวงการตำรวจ จนถึงธุรกิจขนส่ง ที่ทำให้หลายภาคส่วนต้องออกมาตรวจสอบกันยกใหญ่

การติดสติ๊กเกอร์ที่รถยนต์ในไทย แม้อาจมองได้ว่าเป็นสัญลักษณ์เฉพาะกลุ่มที่แสดงถึงเส้นสายระบบส่วย แต่หากใครเดินทางไปญี่ปุ่นอาจสังเกตได้ว่ารถยนต์ในญี่ปุ่นนั้น มีการกำหนดสติ๊กเกอร์ที่บริเวณหน้ารถและท้ายรถเป็นสัญลักษณ์รูปแบบต่างๆ แต่รู้หรือไม่ว่าสติ๊กเกอร์เหล่านี้ไม่ได้ติดไว้เพื่อความสวยงามแต่อย่างใด แต่มันคือเครื่องหมายที่มีส่วนช่วยให้ความปลอดภัยบนท้องถนนมีมาขึ้นใน 4 รูปแบบโดยมีความสำคัญที่แตกต่างกันไปดังนี้ 

 

 

'โชชินฉะ'มือใหม่หัดขับ

ชาวญี่ปุ่นที่เพิ่งได้รับใบขับขี่ หรือเป็นมือใหม่หัดขับ จะต้องติดสัญลักษณ์เครื่องหมายที่เรียกว่า "โชชินฉะ หรืออีกชื่อว่า วากาบะ" ที่บริเวณด้านหน้าและท้ายรถเป็นเวลา 1 ปีนับตั้งแต่ได้ใบขับขี่ เพื่อให้รถผู้ร่วมทางคันอื่นทราบว่า ผู้ขับรถคันนี้เป็นมือใหม่หัดขับ 

โดยคำว่า วาคาบะ (若葉) ในภาษาณี่ปุ่นหมายถึง ใบไม้สีเขียว ตามลักษณะของโลโก้ แต่อีกชื่อส่วนอีกชื่อ โชชินฉะ (初心者) แปลว่าผู้เริ่มต้นในภาษาญี่ปุ่น ตามกฎหมายจราจรญี่ปุ่นระบุว่า แม้คุณจะมีประสบการณ์ขับรถยนต์มานาน แต่หากเพิ่งมีใบขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ก็ยังคงต้องติดสติ๊กเกอร์นี้เช่นกัน

 

'โคเรอิชา' สูงวัยขับรถ

เป็นที่ทราบกันว่าญี่ปุ่นเป็นสังคมผู้สูงวัย มีจำนวนประชากรสูงอายุมากที่สุดในโลก ทำให้ญี่ปุ่นต้องให้ความสำคัญต่อผู้สูงอายุในหลายเรื่อง เช่นเดียวกับความปลอดภัยบนท้องถนน ญี่ปุ่นกำหนดให้ผู้ขับขี่ที่มีอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป ต้องติดสติ๊กเกอร์ โคเรอิชาไว้บนรถ เพื่อบอกให้ผู้ขับขี่รายอื่นๆ เพิ่มความอดทนสักเล็กน้อย หากเจอคนขับขี่ที่เป็นผู้สูงวัย ซึ่งอาจมีการตอบสนองล่าช้าบนท้องถนน 

ขณะเดียวกันสติ๊กเกอร์นี้ยังช่วยให้ผู้ขับขี่ ได้รับสิทธิพิเศษเช่น ที่จอดรถซึ่งสงวนไว้สำหรับผู้สูงวัย
คำว่าโคเรอิชา (Koreisha) ในภาษาญี่ปุ่นหมายถึง "ผู้สูงวัย" สติ๊กเกอร์นี้เริ่มใช้ตั้งแต่ปี 1997 กระทั่งปี 2011 ได้มีการรีดีไซน์สติ๊กเกอร์นี้ใหม่เรียกว่า โยทสึบะ  (四葉) เพื่อให้มีลักษณะแตกต่างจากสติ๊กเกอร์ 'โชชินฉะ'

 

 

'โชกาคุ โชไก' ผู้มีปัญหาทางการได้ยิน

หากคุณเห็นสติ๊กเกอร์รูปคล้ายผีเสื้อสีเหลือง บนพื้นหลังวงกลมสีเขียว มีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษว่า โชกาคุ โชไก  (聴覚障害) หรือผู้บกพร่องทางการได้ยิน ซึ่งสื่อถึงว่า ผู้ขับรถคันนี้เป็นผู้มีปํญหาทางการได้ยิน ซึ่งอาจไม่ได้เป็นผู้พิการหูหนวก 100% แต่อาจมีสมรรถภาพการได้ยินน้อยกว่าคนทั่วไป เตือนให้ผู้ใช้ถนนระมัดระวังเป็นพิเศษ 

 

 

'ชินไต โชไก' ผู้พิการขับรถ

สติ๊กเกอร์รูปแบบสุดท้ายคือ ชินไต โชไก (身体障害) ซึ่งแปลว่าความบกพร่องทางร่างกาย ในญี่ปุ่นก็มีใบอนุญาตขับรถสำหรับผู้พิการเช่นกัน ซึ่งต่างจากประเทศอื่นๆ ที่อาจใช้สัญลักษณ์รูปคนนั่งรถวีลแชร์ เพื่อแสดงถึงคนพิการ แต่ในญี่ปุ่นใช่สติ๊กเกอร์สัญลักษณ์รูปใบโคลเวอร์สีแฉก เป็นสัญลักษณ์แทนผู้พิการ สัญลักษณ์นี้ถูกใช้งานเช่นเดียวกับ 'โคเรอิชา' ซึ่งในที่สาธารณะบางแห่งในญี่ปุ่น อาจใช้สัญลักษณ์ชินไต โชไก แทนรูปคนนั่งรถเข็นเพื่อสื่อถึงคนพิการ
 

TAGS: #ญี่ปุ่น #ส่วย #สติ๊กเกอร์ #จราจร