เปิดกฎหมายปราบทุจริตสิงคโปร์ โทษแรงแค่ไหนหากตำรวจรีดไถเงิน

เปิดกฎหมายปราบทุจริตสิงคโปร์ โทษแรงแค่ไหนหากตำรวจรีดไถเงิน
บัญญัติ PCA เครื่องมือปราบทุจริตและประพฤติมิชอบในเจ้าหน้าที่รัฐสิงคโปร์ หนึ่งในกฎหมายที่ทำสิงคโปร์เป็นชาติปลอดคอร์รัปชัน

กรณีอินฟลูเอนเซอร์สาวชาวไต้หวัน "อันยู๋ชิง" ที่กล่าวอ้างว่าถูกตำรวจไทยรีดไถเงิน พร้อมกับที่ในเวลาต่อมา ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ได้เปิดแถลงข่าวพร้อมนำ "สกาย" พยานชาวสิงคโปร์หนึ่งในเพื่อนดาราสาวไต้หวันที่อยู่ในเหตุการณ์ดังกล่าวด้วย โดยตอนหนึ่งที่สกายระบุในการแถลงข่าวบอกว่า ที่สิงคโปร์ไม่มีการทุจริตรับสินบนของเจ้าหน้าที่รัฐ เพราะหากเกิดกรณีดังกล่าวถือเป็นเรื่องใหญ่มาก 

จากการจัดอันดับดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชัน (Corruption Perceptions Index) ประจำปี 2022 "สาธารรัฐสิงคโปร์" อยู่ในอันดับที่ 5 ของชาติที่ปลอดคอร์รัปชั่นที่สุดในโลกด้วยคะแนน 83 คะแนน โดยมีเดนมาร์กในอันดับหนึ่ง ตามด้วย ฟินแลนด์ นิวซีแลนด์ นอร์เวย์ และสิงคโปร์ ทั้งยังถือเป็นชาติอันดับ 1 ของเอเชียที่จัดว่าเป็นชาติปลอดคอร์รัปชั่นด้วย  จากการตรวจสอบของทีม The Better พบว่า สิงคโปร์มีการบังคับใช้กฎหมายปราบทุจริตคอร์รัปชั่นที่รุนแรงในหลายบัญญัติ

ในสิงคโปร์ หากพบกรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจที่รับสินบน อาจถูกลงโทษขั้นรุนแรง ไล่ตั้งแต่ปรับ จำคุก ปรับ จนถึงเลิกจ้าง การรับสินบนในสิงคโปร์ถือว่ามีโทษความผิดตามบัญญัติป้องกันการทุจริต The Prevention of Corruption Act (PCA) ซึ่งเป็นกฎหมายที่สิงคโปร์บังคับใช้มานานตั้งแต่ปี 1960 ทีม The Better จะพาไปรู้จักกฎหมายฉบับนี้ให้มากขึ้น ซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ทำให้สิงคโปร์กลายเป็นชาติปลอดคอร์รัปชั่นมากที่สุดของโลก

 ข้อมูลจากเว็บไซต์รวมประกาศของรัฐบาลสิงคโปร์ ระบุว่า บัญญัติป้องกันการทุจริตแห่งชาติ The Prevention of Corruption Act (PCA) มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการเมื่อปี 1960 เป็นกฎหมายที่มอบอำนาจให้สำนักงานสอบสวนการทุจริต (CPIB) เพื่อจัดการกับปัญหาทุจริตของสิงคโปร์ในเวลาดังกล่าว กฎหมายนี้ได้รับการเสนอโดย อ่อง แปง บูน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการภายใน ซึ่งในเวลานั้น สิงคโปร์มีปัญหาด้านการทุจริตที่แพร่หลายในสิงคโปร์ แม้ว่าในเวลานั้นสิงคโปร์จะมีกฤษฎีกาป้องกันการทุจริตที่ตราขึ้นในปี 1937 แล้วก็ตาม

ในระหว่างการเสนอร่างกฎหมายพิจารณาสู่รัฐสภา อ่อง แปง บูน ให้ข้อสังเกตว่า กฤษฎีกาป้องกันการทุจริตซึ่งรู้จักในชื่อว่า Prevention of Corruption Ordinance (POCO) ที่ตราขึ้นในปี 1937 ไม่ได้มีขอบเขตอำนาจมากเพียงพอที่จะสู้กับปัญหาทุจริต เนื่องจากเป็นกฎหมายล้าสมัยที่ตราขึ้นในยุคที่สิงคโปร์ยังเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธ์รัฐมะละกา และไม่ได้ให้อำนาจแก่ CPIB ซึ่งเป็นองค์กรต่อสู้กับคอรัปชั่นที่เพิ่งก่อตั้งในภายหลัง และเพื่อให้สอดคล้องต่อบรรทัดฐานทางสังคมและกฎหมายที่เปลี่ยนแปลงไป หลังสิงคโปร์แยกตัวเป็นเอกราชจากมาเลเซีย ตลอดจนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกฎหมายในการป้องกันและลงโทษการทุจริต

รัฐสภาสิงคโปร์ผ่านร่างกฎหมาย PCA พร้อมมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการเมื่อ 17 มิ.ย. 1960 โดยฉบับแรก  มุ่งเน้นไปที่การทุจริตในภาครัฐเป็นหลัก โดยมีบทบัญญัติสำหรับการดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่รับสินบนและพฤติกรรมการทุจริตในรูปแบบอื่น ๆ กระทั่งในปีต่อ ๆ มารัฐบาลได้แก้ไขกฎหมายนี้ในหลายวาระ ปัจจุบันขอบเขตของ PCA ได้ขยายครอบคลุมถึงการทุจริตในภาคเอกชนด้วย และได้รับการปรับปรุงให้รวมถึงการทุจริตและการติดสินบนในรูปแบบใหม่ๆ เช่น การฟอกเงิน การซื้อขายหลักทรัพย์โดยใช้ข้อมูลภายใน และความผิดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 

สิงคโปร์ ตำรวจ

Photo: Singapore Police Force 

ปัจจุบันบทลงโทษสำหรับความผิดภายใต้บัญญัติการป้องกันการทุจริต (PCA) มีบทลงโทษเฉพาะสำหรับความผิดคราว ๆ มีดังนี้

การรับสินบน: จำคุกไม่เกินห้าปีและโทษปรับสูงสุด 100,000 เหรียญสิงคโปร์

การให้สินบน: จำคุกไม่เกินห้าปีและโทษปรับสูงสุด 100,000 เหรียญสิงคโปร์

ใช้ตำแหน่งในทางที่ผิดประพฤติมิชอบ: จำคุกไม่เกินเจ็ดปีและโทษปรับสูงสุด 100,000 เหรียญสิงคโปร์

การใช้ตำแหน่งที่ไว้วางใจในทางที่ผิดเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว: จำคุกไม่เกินเจ็ดปีและโทษปรับสูงสุด 100,000 เหรียญสิงคโปร์

การครอบครองทรัพย์สินที่ไม่เสียหาย: จำคุกไม่เกินห้าปีและโทษปรับสูงสุด 100,000 เหรียญสิงคโปร์

สมรู้ร่วมคิดในการทุจริต: จำคุกไม่เกินห้าปีและโทษปรับสูงสุด 100,000 เหรียญสิงคโปร์

อย่างไรก็ตาม บทลงโทษดังกล่าวเป็นเพียงการลงโทษข้างต้นเท่านั้น หากศาลตัดสินว่าเงินทุจริตที่เจ้าหน้าที่รัฐรีดไถ หรือรับสินบนจากเอกชนมีมูลค่าจำนวนมาก 1 แสนเหรียญสิงคโปร์ ศาลอาจสั่งให้ผู้กระทำความผิดถูกปรับเทียบเท่ากับจำนวนเงินที่ได้รับ 

ขณะเดียวความผิดตามกฎหมาย  PCA อาจเผชิญการลงโทษที่เกี่ยวข้องอาทิ ยึดทรัพย์สินที่ได้จากการทุจริต ระงับหรือเลิกจ้าง พร้อมทำทัณฑ์บนบันทึกประวัติความผิด ซึ่งจะถูกจำกัดในการทำธุรกรรมด้านการเงินหรือติดต่อภาครัฐ 

PCA ได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในกฎหมายที่เป็นเครื่องมือในการต่อสู้กับคดีทุจริตในภาครัฐของสิงคโปร์ เ และได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นหนึ่งในกฎหมายต่อต้านการทุจริตที่แข็งแกร่งที่สุดในโลก การดำเนินการนี้ดำเนินการโดยสำนักงานสืบสวนการทุจริต (CPIB) ซึ่งมีอำนาจสอบสวนและดำเนินคดีกับบุคคลในคดีทุจริต มีประวัติที่แข็งแกร่งในการบังคับใช้ PCA อย่างเที่ยงตรง ซึ่งทำรักษาความโปร่งใสในการดำเนินงานของภาครัฐและเอกชนในสิงคโปร์

TAGS: #สิงคโปร์ #ดาราไต้หวัน #ตำรวจ #รีดไถเงิน #ทุจริต #อาเซียน #อันยู๋ชิง