วิจัยเผยคนทั่วโลกเชื่อถือสื่อทีวีเว็บไซต์น้อยลง หันเสพข่าวบนแพลตฟอร์มคลิปวิดิโอสั้นมากขึ้น พบคนส่วนมากชอบข่าวที่ อัลกอริทึม เลือกให้มากกว่า
สถาบันวิจัยสื่อ Reuters Institute for the Study of Journalism ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจาก Thomson Reuters Foundation องค์กรการกุศลภายใต้ Thomson Reuters ได้เผยแพร่งานวิจัยอัพเดตพฤติกรรมการเสพสื่อของคนทั่วโลก พบว่า จำนวนผู้คนทั่วโลกที่ใช้การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารผ่านเว็บไซต์ ทีวี หรือแอปพลิเคชั่น ลดลงถึง 10% นับตั้งแต่ 2018 ขณะที่กลุ่มคนรุ่นใหม่ชอบที่จะเข้าถึงข่าวสารผ่านโลกโซเชียลในลักษณะคลิปวิดีโอสั้น เช่น TikTok, Reel, Instagram story และ Snapchat มากขึ้น
รอยเตอร์ระบุในรายงานว่า TikTok เป็นโซเชียลเน็ตเวิร์กที่เติบโตเร็วที่สุด โดย 20% ของคนวัย 18-24 ปี มักนิยมใช้สำหรับรับข่าว เพิ่มขึ้น 5% จากปีก่อนหน้า ทั้งยงพบว่าผู้ตอบแบบสำรวจน้อยกว่าครึ่งแสดงความสนใจในข่าวเป็นอย่างมาก ลดลงอย่างมากจาก 6 ใน 10 เมื่อปี 2017
“ไม่มีเหตุผลอันสมควรที่จะคาดหวังให้คนที่เกินหลังยุค 2000 จะชอบเว็บไซต์แบบเก่า นี่ไม่ต้องพูดถึงการออกอากาศทีวีและสื่อสิ่งพิมพ์" ราสมุส นีลเส็น ผู้อำนวยการสถาบันรอยเตอร์กล่าวในรานงาน ซึ่งมาจากการสำรวจออนไลน์สำหรับผู้ใหญ่ประมาณ 94,000 คน ใน 46 ประเทศทั่วโลก
วิจัยยังพอีกว่า ผู้คนโดยทั่วไปชอบที่จะให้ข่าวของพวกเขาเลือกโดย AI หรือ อัลกอริทึม มากกว่าเลือกโดยกองบรรณาธิการหรือนักข่าว
อย่างไรก็ตาม ในทางตรงกันข้ามพบว่า ข่าวที่ถูกเลือกโดยอัลกอริทึ่มมีความน่าเชื่อถือลดลง 2% ในปีที่แล้วตรงกันข้ามกับช่วงที่โลกกำลังเผชิญการระบาดจากโควิด ที่พบว่าผู้คนกว่า 40% มีเชื่อถือข่าวเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่สหรัฐอเมริกาพบว่าความเชื่อถือในข่าวสารเพิ่มขึ้น 6 จุด เป็น 32% แต่ยังคงอยู่ในระดับต่ำสุดในการสำรวจเมื่อเทียบกับหลายชาติ
จากผลการสำรวจทั่วโลก ผู้คน 56% กล่าวว่าพวกเขากังวลเกี่ยวกับการแยกความแตกต่างระหว่างข่าวจริงและข่าวปลอมบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งเพิ่มขึ้น 2% จากปีที่แล้ว ขณะที่การสำรวจพบว่า 48% ของผู้คนกล่าวว่าพวกเขาสนใจข่าวอย่างมากหรืออย่างมาก ลดลงจาก 63% ในปี 2017