นักวิทยาศาสตร์สร้างตัวอ่อนมนุษย์จากสเต็มเซลล์ โดยไม่ใช้การผสมไข่กับสเปิร์มได้สำเร็จเป็นครั้งแรก ท่ามกลางข้อถกเถียงด้านจริยธรรมและกฎหมาย
เดอะการ์เดี้ยนรายงานว่า ทีมนักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งสามารถสร้างตัวอ่อนมนุษย์สังเคราะห์ (synthetic human embryos) จากการใช้สเต็มเซลล์ โดยไม่พึ่งพาไข่หรือสเปิร์มได้สำเร็จเป็นครั้งแรกของโลก
นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า ตัวอ่อนสังเคราะห์นี้มีลักษณะคล้ายกับตัวอ่อนในระยะแรกเมื่อมีการปฏิสนธิในรังไข่ตามธรรมชาติ แต่ตัวอ่อนมนุษย์สังเคราะห์นี้เมื่อพัฒนาขึ้นจะไม่มีสมองและหัวใจ แต่มีเซลล์ที่สามารถเติบโตกลายเป็นรก ถุงไข่แดง และตัวอ่อนได้ในที่สุด การวิจัยดังกล่าวมีขึ้นเพื่อต้องการศึกษาผลกระทบของความผิดปกติทางพันธุกรรมและสาเหตุทางชีววิทยาของการแท้งซ้ำ
อย่างไรก็ตาม งานวิจัยนี้ยังก่อให้เกิดประเด็นด้านจริยธรรมและกฎหมายที่ร้ายแรง เนื่องกระบวนการสังเคราะห์มนุษย์ในห้องแล็บโดยใช้สเต็มเซลล์นั้น อยู่นอกเหนือกฎหมายหลายประเทศ รวมถึงในสหราชอาณาจักรและประเทศอื่นๆ
ศาสตราจารย์แมกดาเลนา เซอร์นิกกา เกิทซ์ (Prof. Magdalena Żernicka-Goetz) จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์และสถาบันเทคโนโลยีแห่งแคลิฟอร์เนีย ได้บรรยายความสำเร็จครั้งสำคัญนี้ ในการประชุมประจำปีของสมาคมระหว่างประเทศเพื่อการวิจัยสเต็มเซลล์ ในเมืองบอสตัน เมื่อ 14 มิถุนายนที่ผ่านมา ทั้งยังระบุว่า ตัวอ่อนมนุษย์ที่สังเคราะห์ขึ้นนี้ จะไม่ถูกมาใช้ในกระบวนการด้านการแพทย์ การใส่ตัวอ่อนดังกล่าวไปในครรภ์ของสตรีถือเป็นเรื่องผิดกฎหมาย และยังไม่ชัดเจนว่าตัวอ่อนเหล่านี้สามารถเจริญเติบโตต่อไปได้ในครรภ์ตามธรรมชาติได้หรือไม่
ในตอนนี้ ตัวอ่อนมนุษย์สังเคราะห์เหล่านี้จะไม่ถูกนำมาใช้ในกระบวนการทางการแพทย์ การใส่ตัวอ่อนดังกล่าวเข้าไปในครรภ์ของผู้หญิงถือเป็นเรื่องผิดกฎหมาย และยังไม่มีความชัดเจนว่าตัวอ่อนเหล่านี้สามารถเจริญเติบโตต่อไปได้นอกเหนือจากระยะแรก ๆ ของการพัฒนาหรือไม่
ความก้าวหน้าครั้งนี้สามารถช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจช่วงเวลาแห่งการพัฒนาในระยะแรก ซึ่งเรียกว่าช่วง "กล่องดำ" เนื่องจากกฎหมายอนุญาตให้นักวิทยาศาสตร์เพาะตัวอ่อนในห้องทดลองได้ไม่เกิน 14 วัน ตามกฎหมายและด้านจริยธรรม จากนั้นจึงต้องอาศัยการสแกนการตั้งครรภ์หรือตัวอ่อนที่ได้รับบริจาคเพื่อทำการศึกษาต่อไป
ทั้งนี้ รายละเอียดทั้งหมดของงานวิจัยตัวอ่อนมนุษย์สังเคราะห์ดังกล่าว ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารด้านการแพทย์ใดๆ
ทีมวิจัยของศ.เชอร์นิกกา-เกิทซ์ และสถาบันไวซ์มันน์ในอิสราเอล เคยประสบความสำเร็จในการวิจัยสเต็มเซลล์จากหนูร่วมกัน โดยพว่า ตัวอ่อนสังเคราะห์ที่เติบโตจากเซลล์ของหนูมีลักษณะเกือบเหมือนกับตัวอ่อนตามธรรมชาติ แต่เมื่อพวกมันถูกฝังเข้าไปในมดลูกของหนูตัวเมีย พวกมันไม่ได้พัฒนาเป็นสัตว์ที่มีชีวิต
เช่นเดียวกับก่อนหน้านี้ในเดือนเมษายน ทีมนักวิจัยในจีนได้สร้างตัวอ่อนสังเคราะห์จากเซลล์ของลิงและฝังเข้าไปในมดลูกของลิงที่โตเต็มวัย ซึ่งมีไม่กี่ตัวที่แสดงสัญญาณเริ่มต้นของการตั้งครรภ์ แต่ไม่มีตัวใดที่พัฒนาต่อไปได้เกินสองสามวัน ผลงานดังกล่าวทำให้เกิดการแข่งขันระหว่างนักวิจัยเพื่อนำผลการวิจัยเหล่านี้ไปใช้กับการทดลองในมนุษย์
แฟัมภาพ (File Photo)