ทีมนักวิทย์ใช้แสงอาทิตย์จากโซลาร์เซลล์ในอวกาศ ผลิตพลังงานไฟฟ้าส่งกลับมายังพื้นโลกเป็นครั้งแรก
เว็บไซต์ Space.com รายงานว่า ทีมนักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีรัฐแคลิฟอร์เนีย หรือ คาลเทค (Caltech) ประสบความสำเร็จในการทดลองใช้แผงโซลาร์เซลล์ของดาวเทียมนอกโลก ส่งพลังงานไฟฟ้าจากอวกาศ กลับมายังพื้นโลกสำเร็จเป็นครั้งแรก หรือที่เรียกการทดลองนี้ว่า MAPLE ย่อมาจาก
(Microwave Array for Power-transfer Low-orbit Experiment)
รายงานระบุว่า การทดลองดังกล่าวเป็นการใช้ดาวเทียมที่ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศเมื่อ มกราคม 2023 ผ่านมา ดาวเทียมดังกล่าวถูกออกแบบมาให้มีแผงโซลาร์เซลล์ขนาดใหญ่ ที่สามารถรับพลังงานแสงอาทิตย์ได้มากกว่าปกติ โดยภายในดาวเทียมดังกล่าวจะมีระบการเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้า ให้อยู่ในรูปแบบคลื่นไมโครเวฟก่อนส่งสัญญาณกลับมายังตัวรับพื้นโลก
ในการทดลองดังก่าว ทีมนักวิจัยของคาลเทคได้ติดตั้งตัวรับคลื่นไมโครเวฟ รับคลื่นจากดาวเทียมนอกโลก โดยตัวรับสัญญาณจะมีการแปลงคลื่นไมโครเวฟให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรง ทำให้หลอดไฟ LED คู่นึงติดสว่างขึ้นมาได้สำเร็จ
ในการทดลองดังกล่าว ทีมนักวิจัยยังได้ออกแบบระบบการส่งคลื่นไมโครเวฟที่สามารถทำงานสอดรับได้จากทั่วทุกมุมโลก นั่นหมายความว่า ตัวรับคลื่นไมโครเวฟที่เปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า สามารถติดตั้งในพื้นที่ใดบนโลกก็ได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการผลิตกระแสไฟฟ้าในพื้นที่เข้าถึงยากลำบาก
ต้นแบบการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ในอวกาสดังกล่าว ถือว่าเป็นความก้าวหน้าที่สามารถขจัดอุปสรรคของการผลิตกระแสไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์บนพื้นโลกได้ เนื่องจากการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ อยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น กลางวันและกลางคืน การบดบังด้วยเมฆ หรือสภาพอากาศบนโลก จึงสามารถใช้ได้เสมอ ตรงข้ามกับเทคโนโลยี MAPLE ที่ไร้ปัจจัยดังกล่าว
การทดลองนี้พิสูจน์ให้เห็นถึงความเป็นไปได้ของการใช้ประโยชน์จากแหล่งพลังงานเกือบไร้ขีดจำกัดในรูปของพลังงานจากดวงอาทิตย์จากอวกาศ