รถไฟชินคันเซ็นจะเปลี่ยนเป็นระบบขับอัตโนมัติในปี 2028 คุมความเร็วจอดรับส่งเองได้โดยไร้พนักงานขับ
สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า บริษัท Central Japan Railway Co. (JR Central) และ East Japan Railway Co. (JR East) ประกาศแผนนำระบบขับเคลื่อนรถไฟความเร็วสูงชินคันเซ็นแบบอัตโนมัติ มาให้บริการอย่างเป็นทางการภายในปี 2028 นี้ สำหรับการเดินรถไฟชินคันเซ็นสายโทไคโดะ (Tokaido) และในปี 2030 สำหรับการเดินรถไฟสายโจเอ็ตสึ (Joetsu)
รายงานระบุว่า นับตั้งแต่บริษัทรถไฟญี่ปุ่นเริ่มทดสอบระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติในรถไฟชินคันเซ็นสายโทไคโดะ เมื่อ 11 พฤษภาคมที่ผ่านมา โดยในการทดสอบ เจ้าหน้าที่รถไฟเพียงกดปุ่มเดินรถสีเขียว จากนั้นรถไฟได้เริ่มเริ่งความเร็ววิ่งจากสถานีฮามามัตสึในจังหวัดชิซุโอกะทางตอนกลางของญี่ปุ่น มาถึงยังสถานีกลางในเมืองชิซุโอกะ ซึ่งรถไฟสามารถทดสอบการเร่งความเร็วออกวิ่ง และชะลอตัวหยุดรับส่งผู้โดยสารได้แบบไร้การควบคุมของคนขับ โดยมีความคาดเคลื่อนเพียง 9 มิลิเมตรในตำแหน่งหยุดรถในแต่ละสถานี และมาถึงจุดจอดแต่ละสถานีใช้เวลาคลาดเคลื่อนเพียง 2 วินาที
เจ้าหน้าที่ JR Central ผลการทดสอบนี้นับว่าเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญ โดยความท้าทายหลักของระบบ ATO ที่พัฒนาโดย JR Central คือการกำหนดเวลาออกเดินทาง การเปลี่ยนเครื่อง และการมาถึงตามมาตรฐานที่กำหนดโดยเพิ่มทีละ 15 วินาทีในแต่ละสถานี การปรับปรุงความสะดวกสบายของผู้โดยสารและการดำเนินการประหยัดพลังงานโดยการปรับจำนวนรอบการเร่งความเร็ว/การลดความเร็ว และความผันผวนของความเร็ว
ระบบกึ่งอัตโนมัติมีคุณสมบัติขั้นสูงที่ช่วยให้รถไฟสามารถวิ่งด้วยความเร็วสูงกว่าปกติจนกว่าจะถึงส่วนที่ชะลอตัว ทั้งในกรณีที่สภาพอากาศเลวร้ายตลอดเส้นทางหรือด้วยเหตุผลอื่นๆ เพื่อชดเชยความล่าช้าที่เกิดขึ้น โดยการชะลอตัวที่คาดการณ์ไว้
ด้าน JR Central ระบุว่าในตอนนี้ บริษัทยังไม่มีเป้าหมายในการอัปเกรดระบบให้ก้าวหน้ามากขึ้นเนื่องจากมองว่า เราต้องการคนขับเพื่อสื่อสารกับศูนย์บัญชาการและเพื่อตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉิน
ปัจจุบันญี่ปุ่นมีรถไฟที่ให้บริการแบบอัตโนมัติเต็มรูปแบบแห่งแรกคือรถไฟสาย Yurikamome ที่วิ่งเชื่อมต่อ สถานี Shimbashi กับ Toyosu ผ่านเกาะเทียม Odaiba โดยไม่มีพนักงานควบคุมรถ
ขณะเดียวกันบริษัทเดินรถไฟ JR East มีเป้าหมายจะนำระบบขับเคลื่อนอัตโนมัตินี้ไปใช้ให้บริการในรถไฟชินคันเซ็นสายโจเอ็ตสึ เพื่อช่วยให้พนักงานควบคุมรถไฟไม่จำเป็นต้องมีคุณสมบัติสามารถขับรถไฟได้ โดยมีหน้าที่เพียงดูแลความเรียบร้อยและคอยสังเกตการณ์การขับเคลื่อนรถเท่านั้น
เจ้าหน้าที่ JR East กล่าวว่า บริษัทได้ดำเนินการทดสอบระบบในขั้นต้นตั้งแต่เดือนตุลาคม 2021 แล้ว ซึ่งช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรบพนักงานขับรถไฟระดับที่ 2 ที่กําหนดให้ผู้ปฏิบัติงานต้องอยู่ในที่นั่งคนขับตลอดเวลาแม้ในระหว่างการขับขี่อัตโนมัติ ซึ่งทําให้สภาพการทํางานยากขึ้น
ด้านศาสตราจารย์ Ryo Takagi ด้านวิศวกรรมรถไฟแห่งมหาวิทยาลัย Kogakuin ให้ความเห็นว่า พนักงานระดับขับรถไฟระดับ 2 และ 3 มีประสิทธิภาพการทำงานไม่ต่างกันกับระบบของ ATO โดยเชื่อว่าการรถไฟกลางญี่ปุ่น JR Central ยังคงไม่ลดจำนวนพนักงานขับรถๆฟ เนื่องจากรถไฟสายโทไคโดะ มีจำนวนผู้โดยสารในแต่ละวันจำนวนมาก ซึ่งบางครั้งยังคงพึ่งการควบคุมของมนุษย์ในการตอบสนองหากเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน แต่คาดว่าอนาคตเทคโนโลยีนี้ ถูกนํามาใช้เพื่อลดภาระการทำงานของพนักงานรถไฟ