นักโบราณคดีพบเมล็ดจันทน์เทศ ในเครื่องบดอายุ 2,000 ปี หลังฐานชี้ชัดคนยุคโบราณใช้เครื่องเทศปรุงอาหารกันแล้ว
เดอะการเดี้ยนรายงายว่า ทีมนักโบราณคดีจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียได้ค้นพบ แท่นหินบดยุคโบราณเก่าแก่ไม่ต่ำกว่า 2,000 ปี จากแหล่งขุดค้นทางโบราณคดีในเมือง Óc Eo จังหวัดอานซาง ทางตอนใต้ของเมืองโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม โดยพบว่าแท่นหินบนนี้แต่เดิมถูกใช้ในการบดเครื่องเทศไว้สำหรับเตรียมการปรุงอาหารของคนยุคโบราณ
สำหรับแท่นหินบดเครื่องเทศดังกล่าว ทีมนักโบราณคดีพบว่าภายในยังคงมีเศษซากของเครื่องเทศที่หลงเหลืออยู่หลายชนิด อาทิ ข้าว ขมิ้น ขิง กระชาย เปราะหอม ข่า กานพลู ลูกจันทน์เทศ และอบเชย ซึ่งวัตถุดิบเหล่านี้ดูเหมือนส่วนผสมของการทำผงกะหรี่ที่ใช้สำหรับปรุงอาหารในยุคปัจจุบัน
ทำให้ทีมนักวิทยาศาสตร์ตั้งข้อสันนิฐานว่า ผงกระหรี่อาจเข้ามามีอิทธิพลในวัฒนธรรมอาหารของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาตั้งแต่เมื่อราว 2,000 ปีก่อนแล้ว ทั้งยังพบสิ่งที่น่าประหลาดใจคือ เมล็ดจันทร์เทศที่พบในแท่นบด ยังคงมีกลิ่นหอมแม้จะผ่านมานานนับพันปี
“เราค้นพบเครื่องเทศหลากหลายชนิดที่เดินทางจากสถานที่ต่างๆ มายัง Óc Eo” ดร.เซียวชุน ฮุง จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย ซึ่งเป็นผู้นำการขุดค้นและวิจัยกล่าวว่า “เครื่องเทศเหล่านี้มาถึงเวียดนามเมื่อ 2,000 ปีที่แล้ว ซึ่งมีส่วนช่วยในการสร้างสรรค์อาหารรสเลิศที่ผู้คนในยุคนั้น”
ทีมนักวิจัยยังรู้สึกประหลาดใจที่พบว่า เมล็ดลูกจันทน์เทศที่พวกเขาขุดพบในบริเวณนั้นยังคงมีกลิ่นหอมในอีกสองพันปีให้หลัง
ดร.ฮุง เชื่อว่าบริเวณแหล่งขุดค้น Óc Eo ครั้งหนึ่งเคยเป็นเมืองท่าสำคัญในสมัยอาณาจักรฟูนันโบราณ มีอายุตั้งแต่ คริสต์ศตวรรษที่ 1 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 7 สะท้อนให้เห็นว่าคนในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการติดต่อค้าขายกับภูมิภาคอื่นเอเชียผ่านเส้นทางการค้าแถบมหาสมุทรอินเดีย
นอกจากนี้ ยังมีหลักฐานทางโบราณคดีที่บ่งชี้ว่า แกงกะหรี่อาจมีต้นกำเนิดมาจากอินเดียเมื่อกว่า 4,000 ปีก่อน โดยพบร่องรอยของเครื่องเทศ มะเขือ และมะม่วงติดอยู่ที่ฟันมนุษย์และในหม้อปรุงอาหาร ก่อนที่วัฒนธรรมการใช้ผงกระหรี่ในการปรุงอาหารจะแพร่หลายไปยังพื้นที่อื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผ่านเส้นทางการค้า