เมื่อสัปดาห์ที่ GAC Aion สร้างความฮือฮาด้วยการเป็นรถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV รายล่าสุดที่บุกตลาดไทย
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว GAC Aion หน่วยผลิตยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ของบริษัท GAC แถลงว่าจะส่งรถยนต์ Aion Y Plus พวงมาลัยขวาจำนวน 100 คันไปยังประเทศไทย โดยบริษัทกล่าวในแถลงการณ์ว่า “นับเป็นก้าวใหม่ของ GAC Aion ในขณะที่เราส่งออกรถยนต์ของเราไปยังตลาดต่างประเทศเป็นครั้งแรก เรากำลังก้าวแรกในการทำให้ธุรกิจของ Aion กลายเป็นสากล”
ทั้งนี้ GAC Aion ยังเผยว่าจะตั้งสำนักงานใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในประเทศไทยในปีนี้ พร้อมเตรียมสร้างโรงงานในประเทศไทยเพื่อรองรับตลาด EV ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว
ก่อนที่ ไทยจะกลายเป็นศูนย์กลางของ GAC Aion ในตลาดอาเซียน เรามาทำความรู้จักกันก่อนว่าพวกเขามีที่มาที่ไปอย่างไร?
1. GAC Aion หรือ Aion เป็นแบรนด์รถยนต์ไฟฟ้าของจีนของบริษัท GAC Group เปิดตัวในปี 2018 ในฐานะแบรนด์ย่อย และในปี 2020 ในฐานะแบรนด์ของตัวเอง พวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของ Guangzhou Automobile Corporation หรือ GAC Group เป็นผู้ผลิตรถยนต์ของรัฐจีนซึ่งมีสำนักงานใหญ่ในเมืองกว่างโจว มณฑลกวางตุ้ง ก่อตั้งขึ้นในปี 1954 ปัจจุบันเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่อันดับ 5 ของจีน โดยมียอดขาย 2.144 ล้านคันในปี 2564
2. GAC Group มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลจีน (SOE) ที่ดำเนินกิจกรรมเชิงพาณิชย์ในนามของรัฐบาลที่เป็นเจ้าของ สถานะทางกฎหมายของ SOE แตกต่างกันไป ตั้งแต่การเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาลไปจนถึงหุ้นบริษัทที่มีรัฐเป็นผู้ถือหุ้นประจำหรือรัฐมีอำนาจเหนือรัฐวิสาหกิจ ในยุคของประธานาธิบดี สีจิ้นผิง พรรคคอมมิวนิสต์จีนเข้ามามีบทบาทในการบังคับบัญชาอย่างเป็นทางการในรัฐวิสาหกิจทั้งหมด ณ ปี 2020
3. เส้นทางของ GAC Group เริ่มต้นในปี 1954 โรงงานซ่อมรถยนต์สาธารณะกวางโจว (ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของโรงงานรถบัสกวางโจว) ได้ผลิตรถบัสยี่ห้อ Huanan แห่งแรก ในทศวรรษ 1960 รถบรรทุกยี่ห้อ Hongwei คันแรกเปิดตัวที่กวางโจว ในช่วงต้นทศวรรษ 1970 โรงงานซ่อมรถยนต์กวางโจวได้ทดลองผลิตรถยนต์ยี่ห้อกวางโจว วิวัฒนาการเหล่านี้เกิดขึ้นในช่วงที่จีนปิดประเทศ และยังเผชิญกับความวุ่นวายทางการเมือง แต่พวกเขาก็ยังผลิตรถยนต์ใช้งานได้เองภายในประเทศได้
4. พวกเขาเริ่มพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ จนการะทั่งเมื่อจีนเปิดประเทศและปฏิรูปเศรษฐกิจ รัฐวิสาหกิจกิจการยานยนต์กว่างโจวและบริษัท Peugeot ค่ายรถยนต์ของได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัท Guangzhou Peugeot ขึ้นมา และในปี 1989 รถซีดาน Guangbiao 505SX ได้ถูกผลิตอย่างเป็นทางการ กลายเป็นรถครอบครัวรุ่นแรกสุดในจีน มันรุ่งจนกระทั่งนำเข้าตลาดหุ้นฮ่องกง แต่เพราะการบริหารไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้ต้องยุติความร่วมมือกัน
5. เพื่อฟื้นฟูอุตสาหกรรมยานยนต์ในกวางโจว ในปี 1997 จึงมีการควบรวมบริษัทรถยนต์ต่างๆ ขึ้นมาเป็นบริษัทเดียวในชื่อ Guangzhou Automobile Group Co., Ltd หรือ GAC โดยมี Honda Motor ของญี่ปุ่น ได้รับเลือกเป็นพันธมิตรรายใหม่ และยังได้ก่อตั้งบริษัทร่วมทุนกับ Toyota, Hino, Fiat Chrysler และ Mitsubishi
6. GAC เติบโตอย่างต่อเนื่อง และมองหาโอกาสที่จะขยายกิจการในต่างประเทศมาโดยตลอด และต้องการจะไปเปิดโรงงานในสหรัฐ แต่แผนการนี้ต้องพับไปอย่างไม่มีกำหนด เพราะเกิดสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐ แต่ในเวลาเดียวกัน หน่วยผลิตรถไฟฟ้าก็เริ่ทมีอนาคตมากขึ้น เพราะยุคบูมของ EV ในประเทศจีน การเติบโตของรายได้ของบริษัทมีความมั่นคง ตั้งแต่ปี 2020 ถึง 2022 อัตราการเติบโตของรายได้จะอยู่ที่ 31.98% ในครึ่งแรกของปี 2023 รายได้จะอยู่ที่ 61,911 ล้านหยวน
7. ปริมาณการขายของแบรนด์หลัก GAC Aion ในช่วงครึ่งแรกของปีอยู่ที่ 209,000 ยูนิต เพิ่มขึ้น 108.8% เมื่อเทียบเป็นรายปี 52.7% ในเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งยังคงแนวโน้มเพิ่มขึ้นสองเท่า นอกจากนี้ GAC Aion ยังขายรถยนต์ได้มากกว่า 40,000 คันเป็นเวลาสี่เดือนติดต่อกัน (ตัวเลขเดือนกรกฎาคม) และบรรลุเป้าหมายยอดขายประจำปีถึง 42% ในครึ่งปี พวกเขามีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับสองรองจาก BYD และ Tesla ถือเป็นพลังขับเคลื่อนใหม่ของกลุ่ม GAC และยังมีแผนการเปิดขายหุ้นครั้งแรก (IPO)
8. อย่างไรก็ตาม การที่ยอดขายของ GAC Aion เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเนื่อง เป็นเพราะปัจจัยในประเทศจีน ไม่ว่าจะเป็นบริการหลังการขายประเภทการต่ออายุผลิตภัณฑ์และการเปิดตัวนโยบายสิทธิพิเศษต่างๆ ไปจนถึงการลดราคารถบางรุ่นในปลายเดือนมีนาคม (ในจีน) หรือการมอบส่วนลดทางการเงินและสิทธิ์เงินอุดหนุนทดแทนตั้งแต่ 4,000 ถึง 6,000 หยวน นอกจากนี้ ในเมืองกวางโจวซึ่งเป็นที่ตั้งของบริษัท GAC Aion ยังเพิ่งใช้โยบายอุดหนุนพลังงานรอบใหม่ด้วย
นี่คือสิ่งที่คนไทยควรรู้เกี่ยวกับทุนใหม่ของวงการยนยานต์ในบ้านเรา ว่าพวกเขามีที่มาอย่างไร ปัจจุบันมีผลงานเป็นอย่างไหน และอนาคตกำลังจะออกมาในรูปไหน?