เงินกีบถูกจัดเป็น Junk currency คนลาวไม่เอา ซื้อของต้องใช้เงินบาท 

เงินกีบถูกจัดเป็น Junk currency คนลาวไม่เอา ซื้อของต้องใช้เงินบาท 
ในโซเชียลมีเดียมีการประโคมข่าวว่าเงินกีบของลาวกลายเป็นสกถุลเงินขยะไปแล้ว

ข้อเท็จจริงก็คือ สตีฟ แฮงค์ (Steve Hanke) นักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกันและเป็นศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ที่มีชื่อเสียงระดับโลก และเป็นที่รู้จักจากผลงานของเขาในฐานะนักปฏิรูปสกุลเงินในประเทศตลาดเกิดใหม่ เมื่อเดือนกรกฎาคม แฮงค์ โพสต์ในทวิตเตอร์ของเขาว่า "เงินกีบลาวมีที่ทางถาวรในบัญชีสกุลเงินขยะที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ (rogue’s gallery of junk currencies) ของผม เงินกีบอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ 40% นับตั้งแต่เดือนมกราคม 2022 นี่คือสาเหตุที่ลาวอยู่อันดับที่ 13 ใน Hanke Currency Watchlist ประจำสัปดาห์นี้"

สตีฟ แฮงค์ โพสต์เรื่องนี้ไว้ตั้งวันที่ 8 กรกฎาคม 2023 แต่เพิ่งจะมีคนลาวตีข่าวนี้ และอ้างเนื้อหาจากไทยที่มีผู้อ้างว่าธนาคารโลกระบุว่าเงินกับเป็นสกุลเงินขยะ ซึ่งไม่เป็นความจริง เพราะธนาคารโลกไม่มีอำนาจกำหนดสถานะของสกุลเงินใดๆ ก็ตาม แต่การกำหนดสถานะ "ขยะ" (junk) คือ นักเศรษฐศาสตร์ คือ สตีฟ แฮงค์

อย่างไรก็ตาม คนลาววิพากษ์วิจารณ์ข่าวนี้กันมาก ในเพจ "เล่าสู่กันฟัง" (ເລົ່າສູ່ກັນຟັງ) ระบุว่า "เงินกีบถูกประกาศให้เป็นเงินขี้เหยื้อ (เงินไร้ค่า)" คนลาวมาแสดงความเห็นกันเช่น "ในที่สุดพวกเราก็ทำได้" "สมควร" และ "ชมเชย" ซึ่งเป็นข้อความเสียดสีรัฐบาลลาว

ก่อนหน้านี้สถานการณ์ของเงินกีบไม่ดีเอามากๆ อยู่แล้ว Forbes ระบุไว้ในบทความเรื่อง "10 อันดับสกุลเงินที่อ่อนที่สุดในโลกในปี 2023" โดยชี้ให้เห็นถึง 10 สกุลเงินที่ถูกที่สุดในโลก ณ เดือนสิงหาคม 2023 หนึ่งในนั้นคือ เงินกีบลาว บทความระบุว่า "เงินกีบเป็นสกุลเงินที่มีอัตราต่ำนับตั้งแต่มีการเปิดตัวในปี 1952 ในช่วงหลายปีที่ผ่านมามูลค่าของสกุลเงินมีการปรับปรุงดีขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการวางแผนสร้างทางรถไฟที่จะเชื่อมต่อปักกิ่งกับลาว ซึ่งอาจดึงดูดนักลงทุนมายังประเทศเล็กๆ แห่งนี้ แม้ว่าจะเป็นสกุลเงินที่ถูกที่สุด แต่ก็มีแนวโน้มว่าจะช่วยเพิ่มมูลค่าได้"

อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าในเบื้องต้นเส้นทางรถไฟกับจีนจะไม่ได้ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้นนัก แม้แต่สำนักข่าวซินหัวของจีนก็ยังรายงานไว้เมื่อเดือนพฤษภาคม 2023 ว่า "การอ่อนค่าของเงินกีบอย่างต่อเนื่องส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของผู้คนในประเทศลาว โดยค่าครองชีพยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเนื่องจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์พื้นฐานที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะรายการอาหาร"

ล่าสุด เดือนสิงหาคมเงินกีบดิ่งฮวบลงไปอีก โดยอัตราแลกเปลี่ยน 1 บาทเท่ากับ 600 กีบ แต่ในตลาดมืด อัตราแลกเปลี่ยนพุ่งขึ้นไปถึง 1 บาทเท่ากับ 800 กีบ ทำให้ราคาสินค้าในลาวแพงอย่างมาก ในเดือนสิงหาคม 2566 

เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม เพจ "จดหมายข่าว" (ຈົດໝາຍຂ່າວ Message) รายงานอ้างข้อมูลจากแหล่งข่าวที่ชื่อ "แสงคำ" ระบุไว้ดังนี้ว่า 

"รู้สึกละอายใจ…ถือเงินกีบให้พ่อค้าที่ไม่รับเงินกีบ มีหญิงสาวคนหนึ่งไปเที่ยวที่เมืองต้นผึ้ง แขวงบ่อแก้ว หลังจากนั้นเธอก็ไปตลาดเพื่อซื้ออาหารไปทำที่บ้านญาติ พอจะให้กีบจ่ายคนขาย แต่กลับถูกปฏิเสธว่า ผักและอาหารที่นี่ขายเป็นบาทไม่รับกีบ สุดท้ายสาวคนนี้บ่นว่า "รู้สึกหน้าอาย เขาไม่เอากีบ และมาตลาดโดยไม่ได้เตรียมเงินบาทมา" ในที่สุดแม่ค้าก็ตกลงรับเงินกีบ" 

ทางเพจจดหมายข่าวเตือนชาวลาวว่า "อย่างไรก็ตาม ขอให้ทุกท่านทราบถึงกฎหมายและเพิ่มความรักชาติของเรา" นั่นคือรัฐบาลลาวได้กำชับให้ประชาชนอย่าใช้เงินต่างชาติ (โดยเงินบาท) และให้ใช้เงินกีบของลาวแทน 

แต่เพราะค่าเงินกีบที่ลดลงจนแทบใช้จ่ายอะไรไม่คุ้ม ประชาชนจึงหันมาใช่้เงินบาทอย่างกว้างขวางมากขึ้น จากเดิมที่ใช้กันเป็นปกติอยู่ทั่วไป แต่ตอนนี้ถึงขั้นปฏิเสธเงินกีบเลยด้วยซ้ำ 

TAGS: #เงินกีบ #เงินบาท #ลาว