โครงการ "คลองไทย" ไปจนถึงโครงการแลนด์บริดจ์กลับมาเป็นที่สนใจอีกครั้ง แต่มันจะกระทบเพื่อนบ้านของไทยแค่ไหน?
เมื่อปี 2020 พันตรี Chieh Shiung Wayne Ho นักศึกษาวิทยาลัยเสนาธิการทหารบกสหรัฐฯ และวิทยาลัยเสนาธิการทหารบกของสหรัฐ มีวิทยานิพนธ์เรื่อง "ผลกระทบของคลองคอคอดกระต่อความมั่นคงของสิงคโปร์" เนื้อหาโดยสรุปมีดังนี้
1. ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ มีการตั้งสมมติฐานว่าการก่อสร้างคลองคอคอดกระอาจเปลี่ยนเส้นทางการขนส่ง 30% ไปจากช่องแคบมะละกา มายังคลองของไทย และด้วยเหตุนี้จึงมีผลกระทบสำคัญต่อความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์ แต่มีคนอื่นๆ สิงคโปร์มีโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่มีใครเทียบได้ใน ทั้งในด้านการกลั่นและจัดเก็บน้ำมัน การต่อเรือและการซ่อมแซมเรือ และการขนถ่ายสินค้า สิ่งเหล่านี้จะช่วยลดผลกระทบที่คลองไทยจะมีต่อสิงคโปร์ได้
2. การศึกษาแรกสุดครั้งหนึ่งเกี่ยวกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากคลองกระต่อสิงคโปร์จัดทำโดยวิลเลียม เจ. โรนัน ( William J. Ronan) ในปี พ.ศ. 2481 โดยมีสาเหตุมาจากการคาดเดาว่าญี่ปุ่นสนใจในการสร้างคลองในช่วงทศวรรษที่ 1930 สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ สิงคโปร์จะ “ถูกตัดขาดจากเส้นทางการค้าหลักของโลก และอาจจะถูกลดสถานะเหลือแค่ความเป็นท่าเรือชั้นสาม” เนื่องจากเรือที่ใช้คลองของไทย “การประหยัดได้ประมาณ สองวันสำหรับเรือกลไฟที่เร็วกว่าในการวิ่งยุโรป-ตะวันออกไกล และมากกว่านั้นสำหรับเรือบรรทุกสินค้าที่ช้ากว่า”
3. ในปี พ.ศ. 2516 รัฐบาลไทยได้ประกาศเจตนารมณ์ที่จะดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ของการสร้างคลองคอคอดกระ แพทริค เหล่า (Patrick Low) และเยว่มาน หยาง (Yue-Man Yeung) แห่งสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาแห่งสิงคโปร์ ได้ทำการศึกษาผลกระทบของคลองกระต่อสิงคโปร์ จากการวิเคราะห์สถิติปริมาณการขนส่งทางเรือที่ผ่านสิงคโปร์ พวกเขาสรุปว่าคลองกระจะเปลี่ยนเส้นทางไม่เกิน 10% ของการขนส่งทางเรือของสิงคโปร์ ดังนั้นผลกระทบทางเศรษฐกิจจึง "น้อยมากที่คาดการณ์ได้" เพราะสิงคโปร์ได้ขยับออกมาจากการเป็นประเทศที่พึ่งท่าเรือและคลังสินค้าทางเรือเป็นหลัก และหันมาเป็นศูนย์กลางการค้าโลก
4. หลังจากการศึกษานี้ มีการศึกษาอีกครั้งเดียวในเชิงคุณภาพและปริมาณในปี 2559 โดย จิงหมู่ เฉิน (Ching-mu Chen) และ ซาโตรุ คุมาไง (Satoru Kumagai) ประเมินว่าคลองดังกล่าวจะทำให้ GDP ของสิงคโปร์ลดลง 0.8% คิดเป็นมูลค่า 7,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สาเหตุก็เพราะการจราจรทางเรือจะเลือกเส้นทางที่สั้นที่สุดในการขนส่งระหว่างจุดหมายปลายทาง และคลองไทยมีเส้นทางที่สั้นกว่าช่องแคบมะละกาผ่านสิงคโปร์
5. ต่อมาในปี 2560 เรย์มอนด์ กฤษณัน (Raymon Krishnan) ภารคว ศรีคเณศ (Bhargav Srinagesh) ทำรายงานประเมินว่า แม้ว่าคลองไทยจะเสนอโครงสร้างพื้นฐานที่มีมาตรฐานสูงพอที่จะแข่งขันกับสิงคโปร์ได้ แต่ "โครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพเพียงอย่างเดียวจะไม่เพียงพอที่จะแทนที่สิงคโปร์จากตำแหน่งที่สำคัญ" เพราะโครงสร้างพื้นฐาน "ฮาร์ด" ของสิงคโปร์เสริมโครงสร้างพื้นฐาน "ซอฟต์" ที่ยอดเยี่ยม เช่น กลไกทางเทคโนโลยี การเงิน กฎหมาย การธนาคาร และกลไกอื่น ๆ ที่สนับสนุน ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการสนับสนุนการค้า
สรุป
มีการประเมิน 2 แนวคิดเรื่องผลกระทบต่อสิงคโปร์ถ้าหากไทยขุดคลองคอคอดกระขึ้นมา
• กลุ่มแรกเชื่อว่า เศรษฐกิจของสิงคโปร์จะได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน ด้วยความเสียหายรุนแรงต่างๆ กันไปตามการประเมินของแต่ละคน การประเมินกลุ่มนี้อิงกับความสำคัญในเชิงภูมิศาสตร์ ซึ่งไทยได้เปรียบกว่าถ้ามีการสร้างคลอง (หรืออาจรวมถึงแลนด์บริดจ์)
• อีกกลุ่มเชื่อว่า สิงคโปร์ไม่ต้องพึ่งพาท่าเรือเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป หรือมีแค่ "ฮาร์ดแวร์" แต่พัมนาขึ้นมาเป็นศูนย์กลางการค้าโลกที่มี "ซอฟแวร์" ที่ศูนย์กลางเครือข่ายการค้าโลกจำเป็นต้องมี แต่คลองไทยอาจจะไม่มีจุดนั้น เพราะต้องใช้เวลาพัฒนานาน
เหมือนกับรัฐมนตรี ลีเซียนลุง ของสิงคโปร์ให้สัมภาษณ์ทางวิทยุเรื่องคลองคอคอดกระเมื่อปี 2558 โดยลีเปรียบเทียบความสามารถของสิงคโปร์ในการรักษาสถานะเป็นศูนย์กลางการบินชั้นนำของภูมิภาค แม้ว่าประเทศไทยจะมีตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ที่เหนือกว่าก็ตาม