สงครามเกิดขึ้นอีกครั้ง ระทึกศึกอาร์เมเนีย-อาเซอร์ฯ มหาอำนาจจ้องแทรกแซงอาจลุกลามใหญ่
เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2566 อาเซอร์ไบจานเปิดฉากการรุกทางทหารต่อรัฐอาร์ตซัค (Artsakh) ที่ประกาศตนเองว่าแยกตัวออกจากอาเซอร์ไบจาน ทั้งๆ เป็นที่ยอมรับในระดับสากลว่าเป็นส่วนหนึ่งของอาเซอร์ไบจาน การโจมตีดังกล่าวเกิดขึ้นท่ามกลางวิกฤตที่ทวีความรุนแรงขึ้นซึ่งเกิดจากการที่อาเซอร์ไบจานปิดล้อมสาธารณรัฐอาร์ตซัค ซึ่งส่งผลให้เกิดการขาดแคลนเสบียงจำเป็น เช่น อาหาร ยา และสินค้าอื่น ๆ ในภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบ
สงครามครั้งนี้ อาจทำให้มหาอำนาจเข้ามายุ่งเกี่ยวและอาจลุกลามใหญ่โตได้ แม้ว่อาจไม่ถึงขนาดสงครามโลก เบื้องต้น เอ็ดมอน มารุกยาน เอกอัครราชทูตใหญ่ของอาร์เมเนีย เรียกร้องให้สหรัฐฯ เข้ามาแทรกแซงการสู้รบครั้งใหม่ในนากอร์โน-คาราบาคห์ อันเป็นที่ตั้งของรัฐอาร์ตซัค โดยขอให้สหรัฐฯ ปกป้องประชากรพลเรือนของภูมิภาคนี้
คำถามก็คือ รัฐอาร์ตซัคคืออะไร นากอร์โน-คาราบาคห์สำคัญแค่ไหน? อาร์เมเนียมาเกี่ยวอะไรด้วย? และทำไมอาเซอร์ไบจานจึงต้องก่อสงคราม? เราจะมาอธิบายกัน
1. ความขัดแย้งนากอร์โน-คาราบาคห์เป็นความขัดแย้งทางชาติพันธุ์และดินแดนระหว่างอาร์เมเนียและอาเซอร์ไบจานเหนือภูมิภาคนากอร์โน-คาราบาคห์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นที่อยู่อาศัยของชนชาติอาร์เมเนีย ภูมิภาคนากอร์โน-คาราบาคห์ถูกอ้างสิทธิโดยพฤตินัยและควบคุมบางส่วนโดยสาธารณรัฐอาร์ตซัคที่แตกแยกออกไป แต่ได้รับการยอมรับในระดับสากลว่าเป็นส่วนหนึ่งของอาเซอร์ไบจาน อาเซอร์ไบจานโดยพฤตินัยควบคุมหนึ่งในสามของภูมิภาคนากอร์โน-คาราบาคห์และเจ็ดเขตโดยรอบ
2. ก่อนหน้านี้อาร์เมเนียและอาร์เซอร์ไบจานเป็น "สาธารณรัฐ" ที่เป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต แต่เพราะชนชาติอาร์เมเนียนและอาเซอรีตั้งถิ่นฐานทับซ้อนและกระจัดกระจายในเขตของแต่ละฝ่าย ทำให้การแบ่งเขตปกครองทำได้ยาก โดยเฉพาะในเขตนากอร์โน-คาราบาคห์ที่ทับซ้อนกันอย่างหนักจนเกิดความขัดแย้งขึ้น ความขัดแย้งรุนแรงขึ้นในปี พ.ศ. 2531 เมื่อชาวคาราบาคห์อาร์เมเนียเรียกร้องให้ย้ายภูมิภาคจากสาธารณรัฐอาเซอร์ไบจานโซเวียตไปยังสาธารณรัฐอาร์เมเนียโซเวียต ให้เกิดสงครามนากอร์โน-คาราบาคห์ครั้งแรก เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 ถึงพฤษภาคม พ.ศ. 2537
3. เป็นช่วงที่สหภาพโซเวียตล่มสลายพอดี และต่อมาอาร์เมเนียและอาเซอร์ไบจานเป็นประเทศเอกราช ความขัดแย้งที่รุนแรงระหว่างอาร์เมเนียและอาเซอร์ไบจาน ส่งผลให้เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ การปะทะกันระหว่างชาติพันธุ์ระหว่างทั้งสองเกิดขึ้นไม่นานหลังจากที่รัฐสภาของเขตปกครองตนเองนากอร์โน-คาราบาคห์ (NKAO) ในอาเซอร์ไบจานลงมติให้รวมภูมิภาคเข้ากับอาร์เมเนียเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 การประกาศแยกตัวออกจากอาเซอร์ไบจานถือเป็นจุดสูงสุดของความขัดแย้งในดินแดน นี่คือการก่อเกิดขึ้นของสาธารณรัฐอาร์ตซัค และหลังจากนั้นมีการแทรกแซงจากต่างชาติ เช่น ตุรกี และยุโรป แต่ต่อมารัสเซียเป็นผู้ประสานงานเจรจาหยุดยิงลงนามในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2537
4. การหยุดยิงครั้งนั้น กองกำลังอาร์เมเนียควบคุมดินแดนทั้งหมดของอดีตแคว้นปกครองตนเองนากอร์โน-คาราบาคห์ในอดีตและเขตส่วนใหญ่ 7 เขตที่อยู่ติดกันของอาเซอร์ไบจาน และสาธารณรัฐอาร์ตซัคกลายเป็นประเทศเอกราชโดยพฤตินัย แม้ว่าจะเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับอาร์เมเนีย ในขณะที่ดินแดนของตนยังคงได้รับการยอมรับในระดับสากลว่าเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน โดยสรุปก็คือ สถานะของสาธารณรัฐอาร์ตซัค (หรือแคว้นปกครองตนเองนากอร์โน-คาราบาคห์ในอดีต) ในทางปฏิบัตินั้นประเทศอาร์เมเนียควบคุมไว้และมีปะชากรเป็ชาอาร์เมเนียน แต่ในทางกฎหมายระหว่างประเทศ ทั่วโลกยอมรับว่าเป็นดินแดนของอาณ์เซอร์ไบจาน
5. ดังนั้น มันจึงยังเป็นแหล่งที่มาของความขัดแย้งไม่รู้จักจบสิ้นเสียที ที่สำคัญก็คือ ด้วยสภาพภูมิศาสตร์ของสาธารณรัฐอาร์ตซัคหรือนากอร์โน-คาราบาคห์ มีลักษณะเป็น "Enclave and exclave" หรือดินแดนของประเทศ A ที่ถูกล้อมในดินแดนของ B หรือในทางกลับกัน ทำให้มันมีเส้นทางเชื่อมต่อกับโลกภายนอกไม่กี่เส้นทาง สำหรับสาธารณรัฐอาร์ตซัคนั้นมีเส้นทางเชื่อมต่อกับอาร์เมเนียเพียงเส้นทางเดียว เป็น "ระเบียง" หรือช่องเขาหรือที่ราบแคบๆ ที่เรียกว่าระเบียงลาชิน (Lachin corridor) ซึ่งต่อมาถูกอาร์เซอร์ไบจานปิดกั้นเอาไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564
6. ก่อนจะเกิดการปิดล้อม ย้อนกลับไปในช่วงปลายปี พ.ศ. 2563 สงครามนากอร์โน-คาราบาคห์ครั้งที่สองครั้งใหญ่ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตหลายพันคน แต่อาเซอร์ไบจานได้รับชัยชนะครั้งสำคัญ การสงบศึกเกิดขึ้นตามข้อตกลงหยุดยิงไตรภาคีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายนพ.ศ. 2563 ส่งผลให้อาร์เมเนียและอาร์ซัคสูญเสียดินแดนโดยรอบนากอร์โน-คาราบาคห์ เช่นเดียวกับหนึ่งในสามของนากอร์โน-คาราบาคห์เอง สงครามครั้งนี้อาร์เซอร์ไบจานเป็นฝ่ายได้เปรียบอย่างเห็นได้ชัด และทำให้เกิดความวุ่นวายในอาร์เมเนีย แต่ก็มันก็ไม่ใช่จุดจบ ยังมีการละเมิดการหยุดยิงในนากอร์โน-คาราบาคห์และบริเวณชายแดนอาร์เมเนีย-อาเซอร์ไบจานยังคงดำเนินต่อไปหลังสงครามปี พ.ศ. 2563 โดยมีผู้เสียชีวิตเป็นระยะๆ แต่ยังคงดำเนินต่อไป
7. จนกระทั่ง เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2566 กระทรวงกลาโหมอาเซอร์ไบจานออกแถลงการณ์ โดยอ้างว่ากองทัพอาเซอร์ไบจานถูกโจมตีโดยกองทัพอาร์เมเนีย นำไปสู่ความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นในภูมิภาคนากอร์โน-คาราบาคห์ คำแถลงดังกล่าวตามมาด้วยข้อมูลว่าได้มีการเสริมกำลังที่มั่นในการรบ เพิ่มหน่วยระดมพล และขยายกิจกรรมการลาดตระเวน เจ้าหน้าที่สาธารณรัฐอาร์ตซัค กล่าวว่าเมืองหลวงโดยพฤตินัยของรัฐ และเมืองอื่นๆ “ถูกโจมตีอย่างหนัก” โดยกล่าวหาว่าอาเซอร์ไบจานพยายามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ซึ่งเป็นความกังวลในหมู่ชาวอาร์ตซัค (หรือทางเชื้อชาติแล้วคือชาวอาร์เมเนีย) และนักวิเคราะห์การเมืงหลายคนก็เชื่อเช่นนั้น
9. โธมัส เดอ วาล (Thomas de Waal) สมาชิกอาวุโสของมูลนิธิคาร์เนกีเพื่อสันติภาพระหว่างประเทศในยุโรป (Carnegie Endowment for International Peace) ตั้งข้อสังเกตว่าอาเซอร์ไบจานอาจกล้าที่จะเริ่มการรุกในช่วงที่ความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียและอาร์เมเนียตกต่ำ และการสูญเสีย "ผู้บัญชาการที่ดีที่สุด" ของกองกำลังรักษาสันติภาพรัสเซียไป การรุกรานยูเครน นอกจากนี้เขายังกล่าวด้วยว่ารัสเซียสามารถใช้วิกฤตดังกล่าวเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองในอาร์เมเนีย ซึ่งเผชิญกับวิกฤตเมืองในระยะยาว เทียบกับอาร์เซอร์ไบจานซึ่งมีเสถียรภาพทางการเมืองในระดับหนึ่ง
Map by Kalj