พ่อแม่ต้องรับผิดไหม? ลูกกลายเป็นมือกราดยิง กรณีศึกษาจากสหรัฐฯที่เกิดเหตุแบบนี้บ่อยครั้ง

พ่อแม่ต้องรับผิดไหม? ลูกกลายเป็นมือกราดยิง กรณีศึกษาจากสหรัฐฯที่เกิดเหตุแบบนี้บ่อยครั้ง
โทษพ่อแม่ได้ไหมถ้าลูกกลายเป็นมือสังหารหมู่?

คำถามนี้ถูกถามหลายครั้งในประเทศสหรัฐฯ ซึ่งเกิดเหตุกราดยิงบ่อยครั้งทั้งในโรงเรียนและในห้างสรรพสินค้า

เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2558 เหตุกราดยิงที่วิทยาลัยชุมชนอัมควาเกิดขึ้น ที่วิทยาเขต UCC ใกล้กับโรสเบิร์ก รัฐออริกอน สหรัฐอเมริกา คริส ฮาร์เปอร์-เมอร์เซอร์ นักเรียนวัย 26 ปีที่ลงทะเบียนเรียนในโรงเรียนแห่งนี้ ยิงผู้ช่วยศาสตราจารย์ 1 คนและนักเรียน 8 คนในห้องเรียนจนเสียชีวิต และทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บอีก 8 คน  เหตุกราดยิงครั้งนี้ถือเป็นเหตุการณ์ที่อันตรายที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของรัฐโอเรกอน

ตุลาคม 2558 สำนักข่าว CNN มีบทความตั้งคำถามว่า "หลังเหตุกราดยิง ควรโทษพ่อแม่บ้างไหม?" โดยรายงานว่า แม่ของ ลอเรล ฮาร์เปอร์ "แบกรับความผิดบางส่วน มีการโพสต์ในฟอรัมออนไลน์เผยให้เห็นว่าผู้เป็นแม่ที่กังวลเกี่ยวกับปัญหาพัฒนาการของลูกชาย แต่ยังเป็นผู้ปกป้องสิทธิเรื่องอาวุธปืนด้วย" ซึ่งบ่งบอกว่าแม่ก็รู้ดีว่าลูกน่าจะมีปัญหาทางจิตใจและการเข้าสังคม แต่เธอเองก็สนับสนุนสิทธิในการครอบครองอาวุธปืน 

CNN ยังสอบถามไปยังผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาและครอบครัวจำนวนหนึ่ง ซึ่งเสนอแนะว่าควรที่พ่อแม่จะต้องติดตามสังเกตพฤติกรรมของลูกให้ดีว่ามีสัญญาณที่ควรระวังหรือไม่ 

ต่อมาในปี 2562 สำนักข่าว USA TODAY ตั้งคำถามอีกครั้งว่า "หลังเหตุกราดยิงในโรงเรียน ควรจะโทษพ่อแม่ไหม?" 

รายงานนี้อ้างไปถึงหลังจากเหตุกราดยิงที่โรงเรียนประถมศึกษาแซนดี้ ฮุก ในเมืองนิวทาวน์ รัฐคอนเนตทิคัต เมื่อปี 2555 เมื่ออดัม แลนซา วัย 20 ปี ยิงเด็ก 20 คนและผู้ใหญ่ 6 คนเสียชีวิต มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation) ขอให้นักวิจัยศึกษาเรื่องความรุนแรงของเยาวชน รายงานที่ตีพิมพ์ในปี 2559 พบว่าครอบครัวมีบทบาทที่จะเพิ่มหรือลดความรุนแรงได้ อย่างไรก็ตาม งานวิจัยไม่พบว่าการเลี้ยงลูกแบบ "รุนแรง" ซึ่งถูกมองว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ลูกมีพฤติกรรมรุนแรง จะเป็นปัจจัยทำให้ลูกกลายมือสังหารได้ 

อย่างไรก็ตาม รายงานนี้ยังเอ่ยถึงโพสต์ของครูคนหนึ่งในรัฐฟลอริดาที่ชื่อ เคลลี กัทธรี เรลีย์ ที่ชี้ว่าควรจะโทษพ่อแม่ และโพสต์ของเธอในเฟซบุ๊คมีคนแชร์ไปถึง 600,000 แชร์ ณ เวลานั้น เธอเขียนไว้ว่า 

“ฉันโตมากับปืน ใครๆ ก็รู้เรื่องนี้ แต่รู้อะไรมั้ย พ่อแม่ไม่เคยสนับสนุนพฤติกรรมแย่ๆ ของฉันเลย ฉันกลัวที่จะทำเรื่องแย่ๆ ที่โรงเรียน เพราะคงไม่มีชีวิตจนกว่าฉันจะแก้ไขปัญหาและ แก้ไขตัวเอง พ่อแม่รุกเข้ามาในชีวิตฉัน รู้ว่าฉันอยู่ที่ไหน ตลอดเวลา ให้เคอร์ฟิว ถึงบ้านแล้วปลุกฉันให้ตื่น ให้ฉันเคารพกฎเกณฑ์ มีอำนาจควบคุมทุกอย่างในบ้านของพวกเขาและเมื่อใดก็ได้สามารถและจะเดินผ่านทุกตารางนิ้วของห้องนอน ตรวจกระเป๋าเป้ กระเป๋ากางเกง หรืออะไรก็ได้ของฉัน พ่อแม่ทุกควร ถึงที่จะเข้มงวดแล้ว!"

โพสต์นี้มีคนแชร์มากมายและมีความเห็นสอดคล้องจำนวนหนึ่ง เช่น บอกว่า "พ่อแม่ต้องทำให้ดีขึ้น" และ "การกระทำรุนแรงที่น่าสยดสยองเหล่านี้จะยังคงเกิดขึ้นต่อไปหากสาเหตุที่แท้จริงของพวกเขาไม่ได้รับการแก้ไข" 

PBS รายงานว่า  "ผลการประเมินในปี 2562 โดยกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิของสหรัฐอเมริกา พบว่าปืน 76% ที่ใช้ในการโจมตีในโรงเรียนมาจากบ้านของพ่อแม่หรือญาติสนิท ประมาณครึ่งหนึ่ง อาวุธปืนเข้าถึงได้ง่าย" แน่นอนว่ามีการเอาผิดพ่อแม่ด้วย ฐานที่ไม่ยอมดูแลรักษาปืนให้ดี 

ในปี 2563 แม่ของวัยรุ่นในรัฐอินเดียนาถูกคุมประพฤติเนื่องจากไม่สามารถกำจัดปืนออกจากบ้านของเธอ หลังจากที่ลูกชายที่ป่วยทางจิตของเธอขู่ว่าจะฆ่านักเรียน เขายิงปืนในโรงเรียนเมื่อปี 2561 ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บ แต่เด็กชายคนนั้นฆ่าตัวตาย 

ในรัฐวอชิงตัน พ่อของเด็กชายคนหนึ่งที่สังหารนักเรียน 4 คนในโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งในปี 2557 ถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานครอบครองอาวุธปืนอย่างผิดกฎหมาย เขาไม่ถูกตั้งข้อหาใช้อาวุธปืนยิง แม้ว่าจะมีการใช้ปืนกระบอกหนึ่งของเขาก็ตาม

มีกรณีหนึ่งที่สหรัฐฯ ที่พ่อแม่ต้องรับผิดชอบเต็มๆ จากการที่ลูกกลายเป็นมือกราดยิง คือ กรณีที่ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 เกิดเหตุกราดยิงที่โรงเรียนมัธยมออกซ์ฟอร์ด ชานเมืองดีทรอยต์ของเขตเมืองออกซ์ฟอร์ด รัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา โดยอีธาน ครัมบลีย์ อายุ 15 ปี ติดอาวุธด้วยปืนพกกึ่งอัตโนมัติขนาด 9 มม. สังหารนักเรียน 4 คนและบาดเจ็บ 7 คน รวมทั้งครูหนึ่งคน เจ้าหน้าที่จับกุมและตั้งข้อหาครัมบลีย์เมื่อเป็นผู้ใหญ่ในข้อหาก่ออาชญากรรม 24 กระทง รวมถึงการฆาตกรรมและการก่อการร้าย ครัมบลีย์ รับสารภาพทุกข้อกล่าวหาในเดือนตุลาคม 2565

ปรากฏว่า เจนนิเฟอร์และเจมส์ ครัมบลีย์ พ่อแม่ของครัมบีย์ถูกตั้งข้อหาเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม ฐานฆ่าคนตายโดยไม่สมัครใจเนื่องจากไม่สามารถเก็บปืนพกที่ใช้ในการก่อเหตุเอาไว้ให้พ้นมือลูกได้ หลังจากที่ไม่ยอมมาปรากฏตัวรับทราบข้อกล่าวหา พ่อแม่ทั้งสองถูกตามล่าโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจสหรัฐ พวกเขาถูกจับและจับกุมในดีทรอยต์เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม นอกจากนี้ยังมีการฟ้องร้องเขตการศึกษา โรงเรียนชุมชนอ็อกซ์ฟอร์ด เริ่มตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม พวกเขากล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่โรงเรียนประมาทเลินเล่อต่อสัญญาณเตือนที่ครัมบลีย์แสดงซึ่งนำไปสู่การกราดยิง

อีกกรณีหนึ่ง คือการที่ผู้เสียหายดำเนินคดีกับพ่อแม่ของผู้ก่อเหตุเอง นิตยสาร Time รายงานเมื่อปี 2564 ถึงกรณี รอนดา ฮาร์ท แม่ของลูกสาวที่เสียชีวิตเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2561 ที่โรงเรียนมัธยมซานตาเฟ่ในรัฐเท็กซัส เมื่อนักเรียนวัย 17 ปีเปิดฉากกราดยิง ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 10 รายด้วยปืนที่เป็นของพ่อของผู้ก่อเหตุ

Time รายงานว่า "ผู้มือปืนที่เป็นผู้ต้องหาถูกตั้งข้อหาฆ่าคนตาย แต่ฮาร์ตก็โทษพ่อแม่ของเขาด้วย อัยการไม่ได้ดำเนินคดีกับแม่และพ่อของมือปืน ดังนั้นฮาร์ตจึงฟ้องพวกเขาแทน คดีนี้ซึ่งยังคงดำเนินอยู่ กล่าวหาว่าพวกเขารู้ว่าลูกชายของตนมีความเสี่ยงที่จะทำร้ายตัวเองและผู้อื่น แต่ล้มเหลวในการทำ "แม้แต่น้อยนิด" เพื่อให้แน่ใจว่าเขาไม่สามารถจับอาวุธปืนของพ่อได้" 

TAGS: #พารากอน #กราดยิง