'เมฆระเบิด' ปรากฏการณ์หายนะที่ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันในอินเดีย 

'เมฆระเบิด' ปรากฏการณ์หายนะที่ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันในอินเดีย 
เขื่อนแตกอีกแล้ว คราวนี้เกิดจากปรากฎการณ์ธรรมชาติที่อยู่ใกล้ตัว แต่หลายคนอาจจะไม่รู้จัก

เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2566 ฝนตกหนักทำให้ทะเลสาบบนธารน้ำแข็งโลนักในสิกขิม ประเทศอินเดีย ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำท่วมถึงเขื่อน Teesta III ที่เมืองชุงทัง ในเวลาเที่ยงคืน ทำลายเขื่อนในเวลาไม่กี่นาทีก่อนที่ประตูจะเปิดได้ ระดับน้ำที่อยู่ท้ายน้ำในแม่น้ำทีสต้าก็สูงขึ้นอีก 20 ฟุต ทำให้เกิดความเสียหายเป็นวงกว้าง

เบื้องต้นมีผู้เสียชีวิต 10 รายและบาดเจ็บ 22 ราย ขณะที่มีรายงานสูญหาย 82 ราย ณ วันที่ 4 ตุลาคม ในบรรดาผู้สูญหายนั้นมีเจ้าหน้าที่กองทัพอินเดีย 23 นาย ซึ่งหนึ่งในนั้นได้รับการช่วยเหลือในเวลาต่อมา

สาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันครั้งนี้ เกิดจากปรากฏการณ์ที่เรียกว่า 'เมฆระเบิด' หรือ Cloudburst ซึ่งเกิดขึ้นไม่บ่อยครั้งนัก และแต่ละครั้งสร้างความเสียหายแบบคาดไม่ถึง แต่ว่ามันคืออะไรกันแน่? 

เมฆระเบิดคือฝนที่ตกในปริมาณมากในช่วงเวลาสั้นๆ บางครั้งอาจมีลูกเห็บและฟ้าร้องร่วมด้วย ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมได้ เมฆระเบิดสามารถทำให้น้ำฝนทะลักจากท้องฟ้าลงมาบนผืนดินได้ในปริมาณมากได้อย่างรวดเร็ว เช่น ปล่อยปริมาณน้ำฝน 25 มม. เท่ากับ 25,000 ตันต่อตารางกิโลเมตร 

เมฆระเบิดมักจะเกิดในพื้นที่ที่มีภูเขาสูง ทำให้มวลอากาศถูกบังคับจากระดับความสูงต่ำไปยังระดับความสูงที่สูงกว่าในขณะที่มวลอากาศเคลื่อนตัวไปในพื้นที่ที่สูงขึ้น เมื่อมวลอากาศเพิ่มระดับความสูง อากาศจะเย็นลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งสามารถเพิ่มความชื้นสัมพัทธ์ได้ถึง 100% และสร้างเมฆ และเกิดฝนตกภายใต้สภาวะที่เหมาะสม

แบบไหนถึงจะเป็นเมฆระเบิด? คือสถานการณ์ที่อัตราฝนตกเท่ากับหรือมากกว่า 100 มิลลิเมตร ต่อชั่วโม แต่มีการใช้คำจำกัดความที่แตกต่างกัน เช่น กรมอุตุนิยมวิทยาของสวีเดน SMHI ให้คำนิยามคำว่า "ฟ้าถล่ม" (skyfall) ในภาษาสวีเดนที่ตรงกันคือปริมาณฝนตก 1 มิลลิเมตร ต่อนาทีสำหรับการระเบิดระยะสั้น และ 50 มิลลิเมตร  ต่อชั่วโมงสำหรับปริมาณน้ำฝนที่ยาวนานขึ้น  

ในช่วงที่เกิดเมฆระเบิด อาจมีฝนตกมากกว่า 20 มิลลิเมตร ในเวลาไม่กี่นาที ผลลัพธ์ของการระเบิดของเมฆอาจเป็นหายนะได้ นั่นคือการเกิดน้ำท่วมฉับพลัน เช่นที่อนุทวีปอินเดีย มฆระเบิดมักเกิดขึ้นเมื่อเมฆมรสุมลอยไปทางเหนือ จากอ่าวเบงกอลหรือทะเลอาหรับ ข้ามที่ราบ จากนั้นเข้าสู่เทือกเขาหิมาลัยและระเบิด ทำให้เกิดปริมาณน้ำฝนสูงถึง 75 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง

หายนะเมฆระเบิดครั้งสำคัญ เช่น เมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2451 เมฆระเบิดทำให้เกิดน้ำท่วม ซึ่งระดับแม่น้ำมูซีเพิ่มขึ้นเป็น 3.4 เมตร มีผู้เสียชีวิตประมาณ 15,000 คน และบ้านเรือนราว 80,000 หลังถูกทำลายตามริมฝั่งแม่น้ำ 

Photo - Mammatocumulus with drooping pouches by Craig Lindsay / Wikipedia (CC BY-SA 3.0)

TAGS: #เมฆระเบิด #Cloudburst