ปืนแบลงค์กันดัดแปลง ปัญหาระดับโลกที่ประเทศต่างๆ หันมาเอาจริง

ปืนแบลงค์กันดัดแปลง ปัญหาระดับโลกที่ประเทศต่างๆ หันมาเอาจริง
ถึงเวลาไทยควบคุม? ปืนแบลงค์กันดัดแปลงปัญหาระดับโลก แต่ไทยเจอแจ็คพ็อต

ไทยไม่ใช่ที่เดียวที่มีปัญหาปืนแบลงค์กันดัดแปลง ปืนชนิดนี้ถูกนำมาดัดแปลงจนสามารถเอาชีวิตได้เหมือนปืนจริงๆ และเป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ แต่ประเทศไทยพบกับวิกฤตที่เลวร้ายที่สุดจากปืนแบลงค์กันดัดแปลง เพราะมันถูกใช้เป็นอาวุธในการก่อเหตุกราดยิงที่ห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน จนกรั่ทงทำให้เกิดคำถามขึ้นในสังคมไทยว่า ปืนแบลงค์กันคืออะไร และควรที่จะควบคุมหรือไม่

ในที่นี้เราจะมาสำรวจกันดูว่า ประเทศอื่นๆ มีปัญหาเหมือนประเทศไทยหรือไม่

1. ปี พ.ศ. 2565 แอฟริกาใต้ มีความกังวลเพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับการใช้ปืนแบลงค์กัน  ซึ่งหลายคนเชื่อว่ากำลังก่อให้เกิดอาชญากรรม ตามข้อมูลของหน่วยงานเมืองพริทอเรียในแฮตฟิลด์ ผู้คนใช้ปืนแบลงค์กันมากขึ้นในการก่ออาชญกรรม ไม่ใช่เพื่อการป้องกัน 

2. กันยายน พ.ศ.  2566 สื่อแอฟริกาใต้รายงานว่าพวกอาชญากรใช้ปืนแบลงค์ในการก่อเหตุมากขึ้น  สถานการณ์ร้ายแรงจนแหล่งข่าวในกรมตำรวจแอฟริกาใต้ (SAPS) บอกกับ Mail & Guardian ว่า มี “ความเร่งด่วน” ภายในหน่วยงานในการแก้ไขกฎหมายที่มีอยู่ เพื่อให้สามารถจับกุมและดำเนินคดีกับผู้ที่ใช้ปืนเลียนแบบและปืนแบลงค์กันได้

3. ปี พ.ศ. 2564 สหราชอาณาจักร ปืนแบลงค์กันที่ถูกดัดแปลงระบาดตามเมืองใหญ่ในหมู่อาชญากร เช่น แถบเมทืองเบอร์มิงแฮม เมืองกลาสโกว เมืองแมนเชสเตอร์ 

  • ตำรวจเกรทเทอร์แมนเชสเตอร์ (GMP) เตือนว่าปืนแบลงค์กันแบบพกพามีแหล่งที่มามากขึ้นเรื่อยๆ จากผู้ค้าที่ถูกกฎหมายและถูกกฎหมาย และถูกดัดแปลงเป็นปืนอันตรายก่อนที่จะถูกขายให้กับอาชญากร
  • Glosgow Times  รายงานว่าเจ้าหน้าที่จากตำรวจนครบาลกลาสโกว กล่าวว่ามีการจัดตั้งโรงงานที่ผิดกฎหมายในหลายพื้นที่เพื่อเปลี่ยปืนแบลงค์กันให้เป็นปืนจริงและผลิตกระสุนให้ใช้การได้ 
  • ปืนพกที่เป็นปืนแบลงค์กันเหล่านี้สามารถดัดแปลง เพียงแค่มีความรู้พื้นฐานและกลายเป็นอาวุธอันตรายถึงแก่ชีวิตได้โดยใช้กระสุนดัดแปลง
  • ตำรวจและหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายของสหราชอาณาจักรกำลังเจรจากับผู้ผลิตเพื่อทำให้ดัดแปลงปืนแบลงค์กันได้ยากขึ้น และต้องการให้ครอบครองอย่างผิดกฎหมายหรืออยู่ภายใต้การควบคุมที่เข้มงวดยิ่งขึ้น

วิธีแก้ปัญหาให้ดูญี่ปุ่น
แม้ว่ากรณีที่ญี่ปุ่นอาจจะไม่เกี่ยวกับปืนแบลงค์กันโดยตรง แต่สิ่งที่ควรทราบคือในญี่ปุ่นมีกฎหมายควบคุมปืนที่เข้มงวดมาก แม้แต่ปืนจำลองก็ยังมีข้อกำหนดในการจำกัดกลไกและวัสดุของปืนจำลอง (Modelguns) เพื่อให้ปืนจำลองที่ปรากฏในตลาดญี่ปุ่นมีความปลอดภัย และไม่สามารถแปลงเป็นสิ่งที่สามารถยิงกระสุนจริงหรือกระสุนปืนได้

วิธีแก้ไขของนิวซีแลนด์
สำนักงานตำรวจแห่งชาตินิวซีแลนด์ ให้ข้อมูลว่า "อาวุธปืนเลียนแบบที่ยิงกระสุนเปล่า (Blank-firing imitation firearms) ถือได้ว่าเป็น "อาวุธปืน" ตามกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีการดัดแปลง โดยจะพิจารณาเป็นกรณีไป โปรดติดต่อสำนักงานอาวุธตำรวจในพื้นที่ของคุณ" เรื่องนี้จคงขึ้นอยู่กับดุลพินิจเจ้าหน้าที่ไม่น้อยเลย  แต่เชื่อว่าเจ้าหน้าที่นิวซีแลนด์จะต้องเข้มงวดมาก เพราะเคยเกิดเรื่องกราดยิงในประเทศมาแล้ว แม้จะใช้อาวุธปืนจริงก็ตาม  

หลังเหตุกราดยิงมัสยิดในไครสต์เชิร์ช เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2562 มีผู้เสียชีวิตจากการกราดยิง 51 คน และบาดเจ็บ 49 คน  การเปลี่ยนแปลงพระราชบัญญัติอาวุธ พ.ศ. 2526 – มิถุนายน พ.ศ. 2563 ขณะนี้จำเป็นต้องมีใบอนุญาตในการนำเข้าปืนแบลงค์กันทั้งหมด 

Photo KenAmorosano / Wikipedia (CC BY-SA 3.0)

TAGS: #ปืนแบลงค์กัน #ปืนแบลงค์ #ปืน #พารากอน