ความลับของเรือดำน้ำใต้ทะเลอ่าวไทย ปริศนาใต้ทะเลลึกสมัยสงครามโลก มันจมได้ยังไง?

ความลับของเรือดำน้ำใต้ทะเลอ่าวไทย ปริศนาใต้ทะเลลึกสมัยสงครามโลก มันจมได้ยังไง?
ความลับใต้ท้องทะเลไทย รู้หรือไม่ในอ่าวไทยมีเรือดำน้ำจมอยู่  

นี่คือเรื่องราวของเรือดำน้ำสัญชาติอเมริกันที่ชื่อ USS Lagarto มันเป็นเรือดำน้ำของกองทัพเรือสหรัฐฯ มันเป็นเรือความยาวถึง 95.02 เมตร ระวางขับน้ำ 1,526-2,424 ตัน บรรทุกนายทหาร 10 คน ลูกเรืออีก 70–71 คน 

เรือดำน้ำ USS Lagarto เดินทางออกจากอ่าวซูบิก ในประเทศฟิลิปิเมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2488 มุ่งหน้าสู่ทะเลจีนใต้ และได้รับคำสั่งเมื่อวันที่ 27 เมษายน ให้ลาดตระเวนน่านน้ำด้านนอกของอ่าวสยาม หรือปัจจุบันคืออ่าวไทย ในเวลานั้น บริเวณดังกล่าวถูกควบคุมโดยกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น ซึ่งใช้ไทยเป็นทางผ่านไปรบที่พม่า และยังควบคุมมาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และอินโดจีน (เวียดนาม กัมพูชา และลาว) ในขณะที่ฟิลิปปินส์ได้รับการปลดปล่อยจากกองทัพสหรัฐฯ แล้ว 

อ่าวสยามหรืออ่าวไทยจึงเป็นพื้นที่ที่ญี่ปุ่นต้องตรวจตราอย่างเข้มงงวด แต่สหรัฐฯ และพันธมิตรก็ต้องใช้จุดนี้ทลายปราการของญี่ปุ่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เช่นกัน จึงส่งเรือดำนำเข้ามาปฏิบัติการในอ่าวไทย นั่นคือเรือดำน้ำ USS Baya กับเรือดำน้ำ USS Lagarto

เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2488 เรือดำน้ำ USS Baya เข้าร่วมกับเรือดำน้ำ USS Lagarto ในอ่าวสยาม  

คืนถัดมาเรือดำน้ำ USS Baya เริ่มติดตามขบวนเรือของญี่ปุ่นที่ประกอบด้วยเรือบรรทุกน้ำมัน 2 ลำและเรือคุ้มกัน 2 คน เรือดำน้ำ USS Baya เคลื่อนตัวเข้าสู่ตำแหน่งและทำการโจมตี แต่การโจมตีไม่ประสบผลสำเร็จ เรือคุ้มกันของญี่ปุ่นจึงไล่ตาม แต่ USS Baya หนีไปได้อย่างรวดเร็ว 

วันรุ่งขึ้น USS Baya นัดพบกับ  USS Lagarto เพื่อวางแผนการโจมตีร่วมขบวนเรือของญี่ปุ่นในอ่าวสยาม แต่ขบวนคุ้มกันระวังตัวแจ จึงไม่สามารถโจมตีได้ 

เช้าวันรุ่งขึ้น เรือดำน้ำ  USS Lagarto พยายามโจมตีขบวนเรือจากตำแหน่ง 22 ไมล์ทะเล (22 กม.) ห่างจาก USS Baya หลังจากนั้น USS Baya พยายามติดต่อ USS Lagarto แต่ไม่มีการตอบรับ และหลังจากนั้นก็ติดต่อไม่ได้อีกเลย เรือดำน้ำของสหรัฐฯ ลำนี้ได้หายสาบสูญไปนับแต่นั้น 

การตรวจสอบบันทึกของญี่ปุ่นหลังสงครามเผยข้อมูลที่บ่งชี้ถึงสาเหตุที่เป็นไปได้มากที่สุดที่ USS Lagarto หายไป สาเหตุที่ว่านั้นก็คือ หนึ่งในสองเรือคุ้มคุ้มกันของญี่ปุ่น คือเรือฮัตสึตากะ (Hatsutaka) ทำการโจมตีเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคมทำให้เรือดำน้ำอเมริกันจมอยู่ใต้น้ำลึก 30 ฟาทอม (180 ฟุต หรือ 55 ม.) ที่ 7°55′N 102°00′E หรือบริเวณน่านน้ำของจังหวัดสงขลา

ส่วนเรือวางทุ่นระเบิดญี่ปุ่นฮัตสึตากะ ต่อมาถูเรือดำน้ำ USS Hawkbill ของสหรัฐฯ ยิงจมลงเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2488 ที่อ่าวสยาม ในบริเวณนอกชายฝั่งมาเลเซีย ในรัฐตรังกานู ซึ่งในเวลานั้นตรังกานูเป็นหนึ่งใน "สี่รัฐมาลัย" คือ รัฐกลันตัน, ตรังกานู, ไทรบุรี และปะลิส ของมาเลเซีย ที่ญี่ปุ่นยกให้ไทยในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 (ไทยจะมอบสี่รัฐมาลัยคืนให้กับฝ่ายทหารอังกฤษ เมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2488 หรือหลังจากญี่ปุ่นลงนามยอมแพ้สงครามได้ไม่ถึงหนึ่งเดือน) 

ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2548 กลุ่มนักดำน้ำส่วนตัวใต้ทะเลลึก นำโดยนักดำน้ำซากเรือชาวอังกฤษ เจมี แม็คคลาวด์ (Jamie MacLeod) ค้นพบซากเรือจมน้ำลึก 70 เมตร ในอ่าวไทย ซากเรือส่วนใหญ่ไม่บุบสลายและตั้งตรงอยู่บนพื้นมหาสมุทร พบรอยแตกขนาดใหญ่ในบริเวณหัวเรือ ซึ่งบ่งบอกว่าเรือดำน้ำลำนี้จมลงเพราะระเบิดน้ำลึก (Depth charge) ซึ่งน่าจะมาจากเรือฮัตสึตากะของญี่ปุ่นเป็นเรือวางทุ่นระเบิดพอดี 

"ระเบิดน้ำลึก" เป็นอาวุธสงครามต่อต้านเรือดำน้ำ (ASW) มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำลายเรือดำน้ำโดยการทิ้งลงไปในน้ำใกล้เคียงและทำให้เกิดการระเบิด ส่งผลให้เป้าหมายได้รับแรงกระแทกแบบไฮดรอลิกที่ทรงพลังและทำลายล้างได้ ประจุความลึกส่วนใหญ่ใช้ประจุระเบิดสูงและสายชนวนที่ตั้งไว้เพื่อทำให้เกิดการระเบิด ซึ่งโดยทั่วไปจะอยู่ที่ความลึกเฉพาะ ประจุความลึกสามารถทิ้งได้จากเรือ จากเครื่องบินลาดตระเวน และเฮลิคอปเตอร์

การจมลงของเรือดำน้ำ USS Lagarto แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของระเบิดน้ำลึกที่ทิ้งจากเรือรบผิวน้ำ และแสดงว่าเรือผิวน้ำก็มีศักยภาพในการทำลายเรือดำน้ำที่ปฏิบัติการในอ่าวไทยได้ 

แต่ในเวลาเดียวกัน เรือผิวน้ำที่จมเรือ USS Lagarto ในอีกไม่กี่วันต่อมาก็ถูกเรือดำน้ำจมลงในอ่าวไทยเช่นกัน!

Photo - USS Lagarto (SS-371) ระหว่างการทดลองปฏิบัติหน้าที่ เมื่อปลายปี พ.ศ. 2487 ภาพจาก Naval Historical Center (Public Domain)

TAGS: #เรือดำน้ำ #อ่าวไมบ